ในที่สุดเราก็เข้าคลาสเรียนทฤษฎีกฎหมายจราจรของญี่ปุ่น Step 1 ครบหมดทั้ง10 ชั่วโมงแล้วค่ะ บทความในวันนี้จะสรุปเนื้อหาที่เหลือในบทที่ 7-14 คุณผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังของซีรี่ย์ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
- การสมัคร คลิกที่นี่
- เนื้อหาบทที่ 1-3 คลิกที่นี่
- เนื้อหาบทที่ 4-6 คลิกที่นี่
บทที่ 7: ความเร็ว
ความเร็วมาตรฐานที่อนุญาตให้ขับบนถนนทั่วไปได้แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปรเะเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ สำหรับรถยนต์จะใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนรถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ทั่วไปใช้ความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยให้ยึดป้ายจราจรในพื้นที่นั้นๆ เป็นสำคัญ เช่น บนทางด่วน ถ้าเป็นป้ายจราจรให้ใช้ให้ความเร็วได้ถึง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เราก็สามารถขับเร็วเกินกว่ามาตรฐานได้โดยวิ่งไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

บทที่ 8: โปรดระมัดระวังเมื่อเจอป้ายเหล่านี้
本日Amazonから届いた商品です。#仮免許練習中 #しおひガールズ pic.twitter.com/QHazdnlqe4
— でらたまも (@deratamamo) May 18, 2018
仮免許 練習中 (ป้ายฝึกขับรถ) ป้ายชนิดนี้เป็นป้ายที่ใช้ได้เฉพาะรถของโรงเรียนสอนขับรถเท่านั้น ซึ่งผู้ขับขี่ที่จะสามารถขับรถที่ติดป้ายนี้ได้ ต้องสอบผ่านใบขับขี่ชั่วคราวก่อน ซึ่งใบขับขี่นี้สำนักงานตำรวจแต่ละท้องที่จะเป็นผู้ออกให้ และเมื่อเราขับรถออกไปข้างนอกต้องพกใบขับขี่ชั่วคราวทุกครั้ง
初心運転者標識 (Novice Driver Sign) หรือเครื่องหมายมือใหม่หัดขับ ใช้สีเหลืองและสีเขียว คนญี่ปุ่นจะเรียกกันว่า “วากาบะ-ไซน์” ซึ่งมีความหมายว่า “ต้นอ่อน” นั่นเอง เครื่องหมายนี้จำเป็นต้องติดไว้ที่ตัวรถในจุดที่มองเห็นได้ชัด สำหรับผู้ที่เพิ่งได้ใบขับขี่มาเป็นปีแรก ไม่ว่าจะเป็นการขับรถของตัวเอง หรือขับรถของคนอื่นก็ตาม
高齢運転者標識 (Senior Driver Sign) เป็นการแสดงให้รู้ว่า ผู้ขับขี่รถคันนี้มีอายุมากกว่า 70 ปี มีข้อแม้ว่าห้ามแซงเด็ดขาด เพราะว่าหากผู้ขับขี่เป็นผู้สูงอายุ การเคลื่อนไหวของร่างกายจะช้าลง กรณีที่ต้องเบรกกะทันหันอาจจะไม่สามารถทำได้ ดังนั้นรถรอบข้างก็ต้องคอยระวัง เครื่องหมายแบบใหม่จะมีลักษณะคล้ายๆ กลีบดอกไม้ 4 สี ในขณะที่แบบเก่าจะเป็นรูปหยดน้ำสีส้มและเหลือง เครื่องหมายชนิดนี้นอกเหนือจากที่ติดที่ตัวรถแล้ว ในบางครั้งที่จอดรถตามร้านค้าต่างๆ ก็จะเพ้นท์รูปเหล่านี้ไว้ตรงลานจอดรถที่ใกล้ประตูทางเข้ามากที่สุด เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ไม่ต้องเดินไกล
聴覚障がい者標識 (Hearing-Impaired Driver Sign) ป้ายสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ที่ไม่สามารถได้ยินเสียงระดับ 90 เดซิเบลในระยะ 10 เมตรแม้ว่าจะใส่เครื่องช่วยฟัง โดยสัญลักษณ์เป็นรูปผีเสื้อสีเหลือง ซึ่งปีกผีเสื้อจะมีลักษณะคล้ายกับใบหูทั้ง 2 ข้างนั่นเอง
身体障がい者標識 (Physically-challenged Driver Sign) ป้ายสำหรับคนพิการ (แขน-ขา)
คนขับทั่วขี่ไปควรระวังคนที่ติดป้ายสัญลักษณ์นี้ให้มาก เพราะผู้ขับขี่มีข้อจำกัดในการใช้ร่างกายหรือข้อจำกัดในการตัดสินใจในระยะสั้น ดังนั้นผู้ขับขี่รถคนอื่นๆ ห้ามแซงรถที่มีเครื่องหมายเหล่านี้เด็ดขาด แม้ว่าเราอยู่อยู่ในจุดที่ถนนอนุญาตให้แซงได้ก็ตาม
บทที่ 9: การให้สัญญาณ
การให้สัญญาณบนถนนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไฟ ใช้มือ หรือใช้เสียง การเลี้ยวจะต้องเปิดไฟเลี้ยวอย่างน้อย 30 เมตรก่อนถึงจุดที่เลี้ยว หากกะระยะไม่ถูกให้ดูเส้นบนผิวถนน เส้นประ แต่ละระยะเส้นจะมีความยาว 10 เมตร ดังนั้นระยะ 3 เมตร ก็คือเส้นประก่อนถึงไฟแดง 3 เส้น
ส่วนการเปลี่ยนเลนนั้น ให้เปิดไฟเลี้ยวก่อนเปลี่ยนเลนอย่างน้อย 3 วินาที ข้อสำคัญที่ควรระวังคือ ระยะที่เปลี่ยนเลนจะเป็นอันตรายกับรถคันหลังหรือไม่ ถ้าอยู่ในระยะที่กระชั้นชิดมากก็ไม่ควรเปลี่ยน
บทที่ 10: การเปลี่ยนเลน
ในการเปลี่ยนเลน สิ่งที่ควรจำคือ สีของเส้นบนถนน ถ้าเลนด้านขวามือของเราเป็นเส้นสีเหลืองคือไม่สามารถแซงได้ ต้องเป็นเส้นประสีขาวเท่านั้น
บทที่ 11: การแซง
การแซงมีหลายกรณีที่ต้องระวัง เช่น ถ้ารถคันหน้าเราเปิดไฟเลี้ยวเพื่อทำการแซง เราห้ามแซงซ้ำ ต้องปล่อยให้รถคันหน้าแซงไปก่อน และห้ามแซงในกรณีที่มีรถวิ่งสวนมาในฝั่งตรงข้าม
บทที่ 12: การขับสวน
ในการขับสวน รถในฝั่งที่อันตรายที่สุดต้องหยุดรอและปล่อยให้เราฝั่งที่ปลอดภัยไปก่อน หรือถ้ารถขับพบสิ่งกีดขวาง เช่นป้ายซ่อมทาง ก็ต้องรอให้รถในเลนปกติวิ่งผ่านไปก่อน จึงจะสามารถเปิดไฟเลี้ยวเพื่อเปลี่ยนเลนได้

บทที่ 13: ระบบใบขับขี่ของญี่ปุ่น
ระบบใบขับขี่ของญี่ปุ่นจะเป็นระบบการตัดแต้มค่ะ เมื่อทำผิดกฎจราจรจะมีทั้งการปรับเป็นเงินและการตัดแต้มใบขับขี่ ซึ่งเมื่อถูกตัดจนแต้มต่ำกว่าที่กำหนดแล้ว อาจจะถูกยึดใบขับขี่ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตามความผิดค่ะ เช่น ถ้าขับรถยนต์ชนผู้อื่นจนทำให้ถึงแก่ชีวิต อาจโดนยึดใบขับขี่สูงสุดถึง 5 ปีเลยทีเดียว
นอกจากนี้ใบขับขี่ในญี่ปุ่นยังแยกออกเป็นประเภทต่างๆ อีก เช่น ใบขับขี่ประเภทที่ 1 สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ทั่วไป, ใบขับขี่ประเภทที่ 2 สำหรับผู้ขับขี่รถสาธารณะ เช่น คนขับรถแท็กซี่หรือคนขับรถเมล์ ซึ่งการจะสอบใบขับขี่ประเภทนี้ได้จำเป็นต้องมีใบขับขี่แบบประเภทที่ 1 ขั้นต่ำอย่างน้อย 3 ปีค่ะ ซึ่งรถสาธารณะที่ว่าครอบคลุมรถทุกประเภทที่ขับแล้วได้เงินจากผู้โดยสารค่ะ ส่วนใบขับขี่ประเภทสุดท้ายก็คือใบขับขี่ชั่วคราว สำหรับผู้ที่ยังเรียนอยู่ในโรงเรียนสอนขับรถยนต์แบบผู้เขียน ซึ่งถ้าเรียนจบ 14 บทแล้ว เราก็จะไปสอบใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวกันค่ะ
บทที่ 14: การขับรถระบบออโต้
การขับขี่รถยนต์ระบบออโต้เป็นบทเรียนพิเศษค่ะ ต่อให้ลงคอร์สเรียนเป็นแบบเกียร์กระปุกก็จำเป็นต้องเรียนบทนี้ เพราะตอนสอบใช้ข้อสอบเดียวกันค่ะ ส่วนใหญ่ถ้าจำตัวอักษรบนเกียร์ได้ก็ไม่มีปัญหา
P = Parking สำหรับจอดรถ
R = Reverse สำหรับการถอยรถ
N = Neutual เป็นเกียร์ว่าง ใช้สำหรับจอดเหมือนกับ P
D = Drive ใช้เมื่อรถจะออกวิ่ง
2 = Second คล้ายๆ กับ Drive แต่มีพลังแรงกว่า ใช้ตอนที่รถต้องเข้าโค้งหรือวิ่งขึ้นเนิน
L = Low คล้ายๆ กับ Drive แต่มีพลังแรงกว่า ใช้ตอนที่รถต้องเข้าโค้งหรือวิ่งขึ้นเนิน
เมื่อเรียนครบทั้ง 10 ชั่วโมงแล้วเราก็จะได้ตราประทับทั้ง 10 ช่องมาแบบนี้มาค่ะ ถือว่าจบ Step 1 ก่อนที่เราจะไปสอบขับจริงและสอบภาคทฤษฎี เพื่อจะให้ได้มาซึ่งใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว และทำให้เราสามารถเอารถออกไปขับบนถนนจริงได้ค่ะ
ในบทความหน้าเราจะพูดถึงข้อสอบในการสอบทฤษฎีบ้าง มาดูกันว่าข้อสอบจะโหดหินแค่ไหน ฝากติดตามด้วยนะคะ