ประธานบริษัท Demae-can ท้าชนเป้าหมาย “ยอดขายเพิ่มขึ้น 1.7 เท่า” มุ่งเป้าฟู้ดเดลิเวอรี่เติบโตต่อไปอีกสามปี

“ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ยังขยายตัวต่อไปได้อีก” นายฮิเดโอะ ฟูจิอิ ประธานบริษัท Demae-can กล่าว

นายฮิเดะโอะ ฟุจิอิ ประธานบริษัท Demae-can คนปัจจุบัน

จากผลพวงของยุคโควิด อุปสงค์ต่อบริการฟู้ดเดลเวอรี่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บริษัท Demae-can ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ได้ลงนามข้อตกลงด้านเงินทุนและพันธมิตรทางธุรกิจกับ LINE ในเดือนมีนาคม 2563 และหลังจากที่นางริเอะ นากามูระ ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ของ Demae-can มาตั้งแต่ปี 2555 ได้เกษียณอายุในเดือนมิถุนายน 2563 ประธานคนใหม่คือนายฮิเดโอะ ฟูจิอิ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งซีอีโอของ บริษัท O2O ในเครือของ LINE ที่เคยพัฒนา “LINE Delima” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่เช่นเดียวกับ Demae-can (ปัจจุบัน LINE Delima ได้เกิดใหม่กลายเป็น Demae-can แล้ว จุดเด่นคือลูกค้าสามารถใช้บริการสั่งอาหารได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน LINE

ใช้แอคเคาท์ของ LINE ล็อกอินเข้า Demae-can ได้แล้ววันนี้

ผลประกอบการที่คาดการณ์ ณ ปีงบประมาณปัจจุบัน (สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2564) นั้นยอดขายคาดการณ์อยู่ที่ 28,000 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 170% เทียบก่อนปีงบประมาณก่อนหน้าแต่กำไรธุรกิจคาดการณ์อยู่ที่ 13,000 ล้านเยน (เทียบก่อนปีงบประมาณก่อนหน้า (สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2563) ติดลบไป 2,600 ล้านเยน) อย่างไรก็ดี ในแผนการดำเนินธุรกิจระยะกลางที่ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 นั้น Demae-can กล้าที่จะลงทุนอย่างห้าวหาญเพื่อการเติบโตของธุรกิจ

ทำไมถึงมั่นใจว่าจะบรรลุเป้าหมาย? ทำไมถึงกล้าลงทุน?

นายฟูจิอิกล่าวว่า “ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา เราได้ผู้ประกอบการมาเข้าร่วมกับเรามากกว่าที่เราเคยได้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเสียอีก หากเรารักษาจังหวะนี้ไว้ได้เราจะสามารถบรรลุยอดขายตามเป้า (สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2564)”

“เราเชื่อว่าเราไม่ควรหยุดการลงทุนเพื่อการเติบโตในขณะที่ตลาดกำลังขยายตัว อุปสงค์ที่มีต่ออาหารปรุงสุก (เช่นข้าวกล่องหรือกับข้าวปรุงสำเร็จ) ก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่เช่นกัน ตลาดในภาพรวมจะยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง คู่แข่งเองกำลังโต แต่ Demae-can ก็กำลังโตเช่นกัน การมีคู่แข่งนั้นถ้าจะมีก็ควรมีในขณะที่ตลาดกำลังโตมากกว่า”

นี่คือทิศทางของตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ของธุรกิจเจ้าใหญ่ของญี่ปุ่น ทีนี้เราหันมาดูตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ของไทยบ้าง

ตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ของไทยอาจแบ่งผู้เล่นได้เป็นสองจำพวก หนึ่ง คือผู้เล่นเจ้าใหญ่ที่ทุนหนา มีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอยู่ในมือมาก แพลตฟอร์มมีผู้นิยมใช้บริการมาก ซึ่งดีแน่นอนต่อผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ๆ ยี่ห้อดังๆ ที่สามารถอัดโปรโมชั่นเยอะๆ หั่นราคา ส่งฟรี ฯลฯ แต่อาจไม่ดีต่อผู้ประกอบการรายย่อยเนื่องจากเจ้าของธุรกิจแพลตฟอร์มเจ้าใหญ่พวกนี้มักเก็บค่า GP (ส่วนแบ่งยอดขาย) เป็นเปอร์เซ็นต์มาก อาจถึง 30-35% เลยทีเดียว และสอง คือผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งรวมถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทยคือ KBank และ SCB และเจ้าของแพลตฟอร์มรายย่อยอื่นๆ ที่เล่นกลยุทธ์ “เจาะช่องโหว่” ด้วยการจูงใจให้ผู้ประกอบการมาเข้าร่วมด้วยการ “ไม่เก็บค่า GP” “ไม่มีค่าธรรมเนียม” “เจาะตลาดเฉพาะท้องถิ่น” ฯลฯ ซึ่งพอมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงจะมองเห็น “สูตรแห่งความสำเร็จ” ของธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่แล้ว ดังนี้

การจะทำแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ให้ประสบความสำเร็จนั้น: ก่อนอื่นต้องมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเข้ามากันมากๆ ก่อน (ผู้เล่นหน้าใหม่จึงต้องงัดกลยุทธ์จูงใจให้ผู้ประกอบการมาสมัคร)

  • เมื่อมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาก คือมีร้านอาหารมาก ก็จะมีคนสนใจมาใช้บริการจากแพลตฟอร์มกันมากๆ
  • เมื่อมีฐานลูกค้าที่ใช้บริการสั่งอาหารจากแพลตฟอร์มกันมากๆ “แบรนด์” ของแพลตฟอร์มก็จะแข็งแกร่ง คือเมื่อดังมาก ฐานลูกค้ามาก ผู้ประกอบการก็อยากเข้าร่วมมาก (เพราะคิดว่าถ้าเข้าร่วมแพลตฟอร์มนี้แล้วจะทำให้ร้านตัวเองขายได้มากขึ้น)
  • เมื่อมีผู้ประกอบการอยากจะเข้าร่วมมาก เจ้าองแพลตฟอร์มก็สามารถหาประโยชน์จากตรงนี้ได้มาก เช่นอาจตั้งอัตราค่า GP ได้มาก หรือถึงจะไม่ได้เพิ่มค่า GP จำนวนผู้ประกอบการที่มากก็จะทำให้ได้รายได้จากค่า GP มากอยู่ดี

พูดง่ายคือ มีจำนวนร้านค้าเยอะๆ ก็จะมีลูกค้าเยอะๆ มีลูกค้าเยอะๆ ก็จะมียอดสั่งอาหารเยอะๆ ยอดสั่งอาหารเยอะๆ ร้านค้าเยอะๆ ก็จะได้เงินส่วนแบ่งเยอะๆ แต่ทั้งนี้ ต้องมีจำนวนร้านค้า (ผู้ประกอบการ) เยอะๆ ให้ได้ก่อน จะจูงใจร้านค้ารายย่อย หรือสร้างคอนเนคชั่นกับร้านค้าแบรนด์ใหญ่ๆ ยังไงก็ได้

นี่คือสูตรการสร้างรายได้จากธุรกิจแพลตฟอร์มฟู้ดดิลิเวอรี่

คราวนี้เข้าใจแล้วหรือยังครับว่า ทำไมนายฟูจิอิถึงมั่นใจนักว่า จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 จะทำยอดขายให้ได้ 28,000 ล้านเยน!

สรุปเนื้อหาจาก toyokeizai
ผู้เขียน TU KeiZai-man

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save