หากใครที่เคยไปญี่ปุ่น น่าจะเคยเห็นร้านตัดผมราคาประหยัดที่ชื่อว่า QB House (QBハウス) กันมาบ้าง ที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ค่าบริการในการทำผมหรือตัดผมถือว่าค่อนข้างราคาสูงถ้าเทียบกับบ้านเรา หากเป็นร้านดังๆ ในย่านใจกลางเมือง เราอาจจะเจอค่าบริการตัดผมประมาณ 3,000 – 5,000 เยน (ประมาณ 900 – 1,500 บาท) เลยทีเดียว
แต่ที่ QB House เราสามารถใช้บริการตัดผมได้ในราคาเริ่มต้นที่ 1,000 เยน (ประมาณ 300 บาท) แถมใช้เวลาไม่นานแค่ 10-15 นาทีเท่านั้น
ที่มาของ QB House
คุณโคนิชิ คุนิโยชิ (小西國義) ผู้ก่อตั้ง QB House เริ่มต้นกิจการร้านตัดผมแห่งนี้ในปี ค.ศ. 1996 ตอนนั้นเขามีอายุได้ 55 ปี ปัจจุบัน QB House เรียกได้ว่าเป็นเชนร้านตัดผมที่มีสาขามากที่สุดในญี่ปุ่น และยังมีร้านในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย และไต้หวัน รวมกว่า 580 ร้าน
I’m at QBハウス in 千代田区, 東京/日本 https://t.co/7up6AuBUsk pic.twitter.com/qvNwxx4RAG
— PIKOさん (@K2Back) July 31, 2021
20ドルでヘアカットしてくれる @qb_house 。昨夜初めてお店の前を通りました。今度ぜひ一度行ってみたいです!#ニューヨーク #QBハウス
QB House
151 E 43rd St, New York, NY pic.twitter.com/XxpHqht7qG— ニューヨークお散歩通信 (@OsanpoTsushin) August 29, 2017
แนวคิดการเริ่มกิจการนี้มาจากการที่คุณโคนิชิอยากทำร้านตัดผมราคาสบายกระเป๋า โดยเป็นร้านเฉพาะทางที่จะมีเพียงแค่บริการตัดผมเท่านั้น โดยทางร้านมีแนวคิดในการตัดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้สามารถลดต้นทุนจนสามารถเสนอราคาที่สมเหตุสมผลให้ลูกค้าได้ อีกทั้งลูกค้าที่ตั้งใจมาตัดผมอย่างเดียวก็ไม่ต้องใช้เวลานานและแทบไม่ต้องจองคิวเลย
ร้านที่เป็นที่รู้จักได้แม้ไม่ทำการโฆษณา
เนื่องจาก QB House คิดค่าบริการที่ค่อนข้างถูกมากเมื่อเทียบกับร้านอื่น ทางร้านจึงต้องพยายามเพิ่มจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการต่อวันให้ได้มากๆ หรือสร้างฐานลูกค้าประจำเพื่อให้คุ้มกับต้นทุน
แม้จะต้องการให้มีลูกค้ามาเยอะๆ แต่ QB House กลับมีนโยบายใช้จ่ายกับค่าโฆษณาให้น้อยที่สุด หากเจาะลึกเข้าไปดูค่าใช้จ่ายของบริษัทที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์แล้ว จะพบว่า QB House ทุ่มทุนกว่า 250 ล้านเยน (ประมาณ 80 ล้านบาท) ต่อปี ไม่ใช่ค่าโฆษณาหาลูกค้า แต่เป็นค่าประชาสัมพันธ์ให้คนมาสมัครงาน เพราะบริษัทเชื่อว่าพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายฐานลูกค้าได้
採用率はわずか18%! 1000円カットの「QBハウス」に優秀な人材が集まる理由|新R25 -… (55 users) https://t.co/TNfaExFcFi 18件のコメント https://t.co/NR1NWh9G1T pic.twitter.com/D3jo3P68o0
— はてなブックマーク::Hotentry (@hatebu) December 16, 2017
นอกจากนี้การเลือกทำเลร้านก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ QB House เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ส่วนใหญ่เราจะเห็นสาขาของร้านตัดผมนี้ได้ในบริเวณอาคารหรือด้านหน้าสถานีรถไฟ เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นมีคนโดยสารไปมาด้วยรถไฟเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันจันทร์ถึงศุกร์ ทำให้ผู้โดยสารที่ผ่านไปมาแถวนั้นเห็นป้ายชื่อร้าน พร้อมทั้งคำโปรยหน้าร้านที่บอกว่า “ตัดผมด่วนในเวลาแค่ 10 นาที ด้วยราคาเพียง 1,000 เยน” ได้บ่อยครั้ง เรียกได้ว่าป้ายชื่อร้านนั่นแหละคือโปสเตอร์โฆษณาชั้นดีที่คนเห็นได้เป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
【東急武蔵小杉駅南口・こすぎコアパーク隣接の「QBハウス」が9月6日(金)閉店、亀屋万年堂隣に9月1日(日)先行移転オープン】 https://t.co/a5BUOLrKQ3 フーディアムの店舗と合わせ、6日間3店舗併存となります。 pic.twitter.com/voD9ez9P8m
— 武蔵小杉ライフ公式 (@musashikosugi) August 31, 2019
บ่อยครั้งที่เราจะเห็นสาขาของ QB House อยู่ใกล้กับห้องน้ำในสถานีรถไฟ เพราะบางครั้งลูกค้าที่ส่องกระจกในห้องน้ำอาจจะรู้สึกว่าผมยาว หรือผมเริ่มไม่เป็นทรงแล้ว และเกิดอยากหาร้านตัดผมขึ้นมา พอเดินออกจากห้องน้ำก็สามารถเดินเข้า QB House ได้ทันที (แถมราคาไม่แพงด้วย เลยไม่ต้องใช้เวลาคิดมาก)
駅ナカでよく見かけるQBハウス。駅ナカの中でも、特にトイレ付近の立地を狙うのが同社の特徴です。
トイレで鏡を見て「(髪が伸びてきたため)そろそろ切ろうか」と思った直後に、QBハウスが目に入るようにするためです。
ペルソナの心理状態を考慮した立地戦略ですね👏 pic.twitter.com/KVclcFzjUl
— 奥村美里 (@OkumuraMisato) December 31, 2020
การพัฒนาพนักงานคือหัวใจสำคัญของธุรกิจ
สำหรับธุรกิจร้านทำผม พนักงานและช่างทำผมถือเป็นทรัพยากรสำคัญของบริษัทเพราะเป็นคนที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์และส่งผลต่อความพอใจของลูกค้าโดยตรง
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า QB House ใช้งบประมาณจำนวนมากในการเฟ้นหาพนักงานและบริษัทก็มีความพยายามที่จะรักษาพนักงานที่ดีไว้ให้ได้นานที่สุด
QB House มีโปรแกรมฝึกสอนสไตลิสต์หรือช่างทำผม ให้สามารถเป็นช่างมือโปรให้ได้ในเวลา 6 เดือน สิ่งที่แตกต่างจากร้านส่วนใหญ่คือพนักงานที่อยู่ระหว่างการฝึกงานก็ยังได้ค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง อีกทั้งพวกเขามีโอกาสที่จะเป็นช่างตัดผมที่รับลูกค้าได้เองภายในเวลาแค่ครึ่งปี (ร้านทำผมส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นต้องใช้เวลากว่า 2 ปีในการเลื่อนขั้นจากผู้ช่วยเป็นช่างทำผม)
今夜のBACKSTAGEは「QBハウス」。スタイリストを育成する講師の男性に密着し、あらゆる髪型をたった10分で仕上げる驚きの時短テクニックに迫ります。<TBS系 今夜11:30〜>。#BACKSTAGE #バクステTV #花澤香菜 #QBハウス #IKKO #cbc #tbs pic.twitter.com/9SgZM3McDI
— 【番組公式】BACKSTAGE(バックステージ)@TBS系列 (@BACKSTAGE_cbc) June 2, 2019
นอกจากนี้ QB House ยังพยายามสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีให้พนักงานมีความสุขกับการทำงาน อีกทั้งพนักงานสามารถเลือกวันหยุดที่ตนเองต้องการได้ โดยจะมีโควต้าให้จำนวน 8 วันต่อเดือน และยังสามารถเลือกหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ได้ด้วย ซึ่งแตกต่างจากร้านเสริมสวยหรือร้านทำผมทั่วไปที่มักไม่ให้พนักงานหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ เพราะเป็นวันที่ลูกค้ามักจะแน่นร้าน
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019 QB House เพิ่งประกาศขึ้นราคาจาก 1,000 เยนเป็น 1,200 เยน (ประมาณ 360 บาท) ถือเป็นการขึ้นราคาครั้งแรกใน 20 กว่าปี
นอกจากนี้เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ก็มีการแตกไลน์ใหม่เป็น QB Premium ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาคารสถานีรถไฟโอเตะมาจิ (大手町) กรุงโตเกียว ที่ยกระดับความหรูหราของร้านพร้อมบริการเสริม เช่น ระบบการจองคิวผ่านสมาร์ทโฟน มี Wi-Fi และสามารถชาร์จโทรศัพท์ได้ฟรี อีกทั้งมีพื้นที่สำหรับนั่งพักผ่อนจิบกาแฟอีกด้วย
แม้ว่าค่าบริการจะอยู่ที่ 1,650 เยน (ประมาณ 500 บาท) ซึ่งสูงกว่าร้าน QB House ปกติ แต่ก็ยังถือว่าถูกกว่าร้านทำผมหลายๆ ร้านในย่านใจกลางเมืองแบบนี้


แม้ว่าในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกจะเผชิญกับวิกฤติจากโควิด-19 แต่ QB House ก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยและยังคงมีลูกค้าหน้าใหม่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจของร้านตัดผมที่เริ่มจากร้านเล็กๆ ในโตเกียวจนขยายกิจการออกไปหลายร้านสาขาทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศเลยค่ะ