รวมบทความเกี่ยวกับข่าวสารยานยนต์ของญี่ปุ่น ข้อมูลนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับรถยนต์ การเทสต์ไดรฟ์ บทความสัมภาษน์ผู้มีชื่อเสียงในแวดวงยานยนต์ของญี่ปุ่น
ยานยนต์
แนะนำรถไฟ 8 ขบวนสุดน่ารักที่สายแชะไม่ควรพลาด
รถไฟเป็นพาหนะสำคัญที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ไม่เพียงแต่การเดินทางในชีวิตประจำวัน แต่การเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถไฟก็เป็นที่นิยมเช่นกัน บริษัทรถไฟญี่ปุ่นมากมายจึงจัดทำขบวนรถไฟที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อสร้างประสบการณ์น่าประทับใจให้กับผู้โดยสารในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวและเพื่อโปรโมทเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วย ขอแนะนำรถไฟ 8 ขบวนที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบและถ่ายรูปมาลงในโซเชียลมีเดียกันมากมาย รถไฟ “Slow Life Train” จังหวัดชิสึโอกะ ดูโพสต์นี้บน Instagram โพสต์ที่แชร์โดย 久ミ (@018_km) ...
“รถแท็กซี่ประตูอัตโนมัติ” เอกลักษณ์หนึ่งเดียวที่มีมากกว่าแค่การบริการ
หนึ่งในเรื่องสุดว้าวสำหรับชาวต่างชาติอย่างเราเมื่อรู้ว่ารถแท็กซี่ญี่ปุ่นมีประตูอัตโนมัติที่เปิดปิดเองได้นั้น เป็นเรื่องสุดแสนจะธรรมดาเหมือนการทานข้าวด้วยตะเกียบสำหรับคนญี่ปุ่นเลยล่ะค่ะ แต่เพราะว่าบ้านเราไม่มีแท็กซี่แบบนี้นี่นาจะรู้สึกตื่นเต้นก็ไม่แปลกอะไรใช่ไหมล่ะคะ? ความพิเศษที่ไม่เหมือนใครของรถแท็กซี่ญี่ปุ่น อย่างที่เรารู้กันดีว่าจะอยู่ประเทศไหนในโลกก็ยังต้องเปิดประตูแท็กซี่เองกันเป็นเรื่องปกติ แต่พอไปที่ญี่ปุ่นกลับมีแท็กซี่ที่มีประตูอัตโนมัติ!? จึงทำให้ชาวต่างชาติที่เคยไปญี่ปุ่นต่างแปลกใจกับสิ่งนี้เป็นอย่างมาก แถมยังประทับใจกับการบริการนี้อีกต่างหาก และเมื่อไม่นานมานี้ตอนการแข่งขันกีฬาโอลิมปีก 2020 ที่กรุงโตเกียว ก็ได้มีการเปิดตัวรถแท็กซี่ที่มีประตูเลื่อนอัตโนมัติแล้วด้วย ถือว่าเป็นความสำเร็จในด้านการวิวัฒนาการแท็กซี่ครั้งยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ จุดเปลี่ยนของรถแท็กซี่ญี่ปุ่น รถแท็กซี่ของญี่ปุ่นนั้นเดิมทีก็ไม่ได้เป็นประตูอัตโนมัติมาตั้งแต่ต้นเหมือนกันค่ะ แต่เมื่ออุปสงค์ของเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นจึงมีความเห็นจากเหล่าคนขับรถแท็กซี่ว่า “จะสะดวกกว่าไหมถ้าเปิดประตูหลังได้จากตรงคนขับเลย” หรือ “ตอนรับผู้โดยสารกลัวจะเกิดปัญหากับรถที่ตามมาข้างหลัง” (เพราะแท็กซี่สมัยก่อนคนขับต้องลงมาเปิดประตูให้ลูกค้า)...
เดินทางสะดวกด้วยมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจิ๋วสุดคิ้วท์ เริ่มทดลองใช้ในโตเกียวแล้ว!!
ช่วงนี้เทรนด์ของยานยนต์ไฟฟ้าหรือ Electric Vehicle (EV) กำลังมาแรง รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีการตั้งเป้าและกำหนดนโยบายให้คนหันมาใช้รถยนต์หรือพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามากขึ้น ด้วยเหตุผลในการลดการใช้พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม แต่รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในปัจจุบันยังมีราคาค่อนข้างสูง บริษัทหนึ่งที่ชื่อ Shared Mobility Networks (シェアード・モビリティ・ネットワークス) จึงนำเสนอไอเดียให้บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบพับ เพิ่มตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคของยานยนต์ไฟฟ้านี้ บริการมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบเช่า Shaero บริการที่ว่านี้ใช้ชื่อว่า Shaero (シェアロ) เป็น Sharing service ที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสียเงินก้อนใหญ่ซื้อมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง แต่ก็สามารถใช้บริการยานพาหนะนี้ได้ จุดเด่นของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Shaero คือมีขนาดเล็ก สามารถใช้เดินทางไปตามตรอกซอกซอยที่รถยนต์อาจผ่านไม่ได้ เดินทางได้สะดวกเร็วกว่าการใช้จักรยานธรรมดา และไม่ต้องเสียแรงขาปั่นให้เมื่อย เพราะ Shaero ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจุดนี้ก็ถือว่าตอบโจทย์เรื่องความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ปัจจุบันเริ่มมีการทดลองติดตั้งสถานีเก็บมอเตอร์ไซค์ Shaero ตามจุดต่างๆ...
เมื่อ LEGO Japan ต่อเลโก้ 477,303 ชิ้นเป็นรถ Toyota GR Supra แถมวิ่งได้จริงๆ ด้วย!
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา LEGO Japan ได้เปิดตัวรถยนต์ Toyota GR Supra ที่ต่อขึ้นจากบล็อกเลโก้ 477,303 ชิ้น แบบที่เรียกว่าแกะรายละเอียดเป๊ะๆ ทั้งภายนอกภายใน แถมใส่เครื่องยนต์วิ่งได้จริงๆ ด้วย (แต่วิ่งด้วยความเร็ว 28 กม./ชม. นะครับ)...
ทำไมแท่นชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นถึงลดลง?
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยนำเสนอเรื่องราวของการขยายตัวขยายโรงงานของรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ Tesla แล้วก็พูดถึงเรื่องของความนิยมในรถยนต์ไฮบริด Toyota Prius ซึ่งเท่าที่เราได้ยินได้ฟังกันนั้นว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามจะผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้ได้จนถึง 100% พูดอีกอย่างก็คือจะเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันกันให้หมด (ในอนาคต) ญี่ปุ่นเองในฐานะที่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็พยายามผลักดันการให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยการติดตั้งแท่นชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าตามที่ต่างๆ แต่ทำไมแท่นอย่างว่าถึงจำนวนลดลงนั้น ลองมาติดตามอ่านกันดูครับ เหตุผลที่แท่นชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นลดลง ในการสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทจัดทำแผนที่ของญี่ปุ่นนั้น จากที่เริ่มการสำรวจในปี 2010 จำนวนแท่นชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่พอมาถึงปี 2020...
เริ่มแล้ว! บริการ Kickboard Sharing ทางเลือกใหม่ของการเดินทางในญี่ปุ่น
ใคร ๆ ก็รู้กันดีว่าตัวเลือกในการเดินทางหลัก ๆ ของประเทศญี่ปุ่นคงหนีไม่พ้นรถไฟและรสบัส แต่ถึงรถไฟและรถบัสในประเทศญี่ปุ่นจะสะดวกสบาย ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขนส่งมวลชนดังกล่าวไม่สามารถพาเราไปถึงจุดหมายได้ทุกที่ และค่าแท็กซี่ที่นั่งกดเครื่องคิดเลขแล้วก็ราคาแพงกว่าไทยค่อนข้างมาก ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในญี่ปุ่นจะต้องออกแรงเดินกันอยู่ไม่ใช่น้อย แต่ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นมีตัวเลือกใหม่สำหรับการเดินทางมาเอาใจนักท่องเที่ยวกันแล้ว นั่นก็คือ บริการ Kickboard Sharing ที่แสนจะคล่องตัว พร้อมอำนวยความสะดวกกับคนรักการเดินทาง! Kickboard เป็นยานพาหนะขนาดเล็กที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยขนาดที่กะทัดรัดกว่าจักรยาน แถมยังไม่ต้องออกแรงปั่นให้เหนื่อยอีกต่างหาก ก่อนหน้านี้บริการแชร์ยานพาหนะอย่างรถยนต์และจักรยานเริ่มได้รับความนิยม และมีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายบริษัทเริ่มมองหายานพาหนะแบบใหม่ ๆ ที่เหมาะสำหรับนำมาทำบริการ sharing ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกนั้นก็คือ Kickboard ไฟฟ้านั่นเอง บริษัท Luup คือ 1 ในบริษัทที่เริ่มทดลองเปิดให้บริการ Kickboard Sharing ในประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มนำร่องกันที่โตเกียวในเขตสำคัญต่าง...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 6 : กว่าจะได้ใบขับขี่ญี่ปุ่น ต้องรู้มากกว่ากฎจราจร
ความเดิมตอนที่แล้ว หลังจากที่ผู้เขียนสอบใบขับขี่ชั่วคราวผ่านเรียบร้อยใน step 1 ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องเรียน Step 2 แล้วค่ะ ซึ่ง Step2 นั้นโหดยิ่งกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเรียนทฤษฎีที่เพิ่มขึ้นจาก 10 ชั่วโมงเป็น 16 ชั่วโมง และการฝึกขับรถจาก 20 ชั่วโมง เป็น...
”ยอดคนแห่งวงการรถ” ชีวประวัติของ “ฮอนดะ โซอิจิโร่” ผู้ก่อตั้ง Honda ฉบับย่อสุด
เขาเป็นช่างเทคนิค เขาคือผู้ประกอบการ ผู้เริ่มจากกิจการซ่อมรถยนต์ จนมาถึงผู้ผลิตรถสองล้อถึงรถสี่ล้อ เขาสร้างชื่อของ Honda ในโลกกีฬามอเตอร์สปอร์ต เขานำกิจการของเขาสู่ความเป็น “Honda of the World” ได้ในหนึ่งชั่วอายุคน เขามีคำคมและ “ฉากชีวิต” มากมาย เขาคือ “ฮอนดะ โซอิจิโร่” ไทม์ไลน์ชีวิต...
“รถไฮบริด” vs. “รถยนต์ไฟฟ้า” Toyota vs. Tesla ระยะยาวไป ใครที่จะยืนหนึ่ง!?
ในขณะที่หลายคนอาจจะมองว่า “รถยนต์ไฟฟ้า” ของ Tesla กำลังมาแรง แต่ที่ว่า “มาแรง” นั้น จะยืนระยะได้แค่ไหน หรือแค่การ “สร้างกระแส” และเมื่อเปรียบกับยักษ์ใหญ่อย่าง Toyota งานนี้บอกได้คำเดียวว่าสงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร รถ Prius โผล่กลางกรุงของประเทศ “มหาอำนาจรถยนต์” View this post on Instagram A post shared by やぎぬま たつや (@tatsuya_0004) ในยุโรป การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือมลพิษทางอากาศและภาวะโลกร้อน แม้แต่ในเยอรมนีซึ่งเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตรถยนต์ ก็ยังค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า อย่างไรก็ดี รถแท็กซี่ในเยอรมนีประมาณ...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 5: สอบขับขี่ชั่วคราว
หลังจากผ่านการเรียนทฤษฎีอย่างเข้มข้น 10 ชั่วโมงและเรียนขับรถมากกว่า 20 ชั่วโมงแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องลงสนามแล้วค่ะ สำหรับคุณผู้อ่านที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรก สามารถเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังของซีรีส์ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การสมัคร คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 1-3 คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 4-6 คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 7-14 คลิกที่นี่ การสอบใบขับขี่ชั่วคราวนั้นไม่ใช่ว่าจะสอบครั้งเดียวแล้วผ่าน...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 4 : เนื้อหาพื้นฐาน บทที่ 7-14
ในที่สุดเราก็เข้าคลาสเรียนทฤษฎีกฎหมายจราจรของญี่ปุ่น Step 1 ครบหมดทั้ง10 ชั่วโมงแล้วค่ะ บทความในวันนี้จะสรุปเนื้อหาที่เหลือในบทที่ 7-14 คุณผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านบทความย้อนหลังของซีรี่ย์ได้ตามลิ้งค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การสมัคร คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 1-3 คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 4-6 คลิกที่นี่ บทที่ 7: ความเร็ว ความเร็วมาตรฐานที่อนุญาตให้ขับบนถนนทั่วไปได้แบ่งเป็น...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 3 : เนื้อหาพื้นฐาน บทที่ 4-6
วันนี้เราจะมีรีวิวกันต่อค่ะ ว่าเรียนขับรถในญี่ปุ่นต้องเรียนอะไรกันบ้าง คุณผู้อ่านสามารถอ่านบทความก่อนหน้าได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ การสมัคร คลิกที่นี่ เนื้อหาบทที่ 1-3 คลิกที่นี่ บทที่ 4: การพิจารณาว่ารถของเราสามารถผ่านได้หรือไม่ได้ในพื้นที่นั้น ถึงแม้ว่าเรียนมาถึงบทนี้ควบคู่กับกับการขับรถจริงๆ แล้ว แน่นอนว่าในบางสถานการณ์เราก็ไม่แน่ใจว่าเราควรหยุด หรือเราควรไปต่อ เช่น เวลาขับผ่านหน้าสถานีดับเพลิง ในช่วงที่รถติด ห้ามจอดทับเส้นขาวหน้าสถานีดับเพลิงเด็ดขาด เพราะในสถานการณ์ฉุกเฉินนักดับเพลิงจะไม่สามารถเอารถออกได้ รวมทั้งสถานการณ์ยิบย่อยอื่นๆ ที่มักจะออกสอบ ผู้เขียนได้สรุปมาด้านล่างนี้แล้วค่ะ บทที่ 5: การให้ทางแก่รถฉุกเฉินและรถอื่นๆ ตามที่กำหนด นอกจากนี้ ยังห้ามแซงรถโดยสารสาธารณะที่เปิดไฟเลี้ยวในจุดจอดรับ-ส่งผู้โดยสารเด็ดขาด เช่น ที่ป้ายรถเมล์ รถเมล์เปิดไฟเลี้ยวขอเลี้ยวขวา กลับเข้ามาที่ถนน เราต้องชะลอเพื่อให้รถเมล์ไปก่อน อีกกรณีหนึ่งก็คือ ป้าย/เลน バス専用 (basu senyou) และ...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 2 : เนื้อหาพื้นฐาน บทที่ 1-3
หลังจากที่รีวิวการสมัครเรียนในโรงเรียนสอนขับรถ ตอนที่ 1 ไปเมื่อคราวก่อน ในที่สุดก็ได้เวลาเริ่มเรียนค่ะ และสิ่งแรกที่นักเรียนโรงเรียนสอนขับรถในญี่ปุ่นจำเป็นต้องศึกษาก็คือตารางเรียนนั่นเอง ซึ่งโรงเรียนที่ผู้เขียนเรียนอยู่นั้น มีทั้งหมด 10 คาบเรียนค่ะ ในส่วนของวิชาทฤษฎีเราจะเรียนวันละกี่ชั่วโมงก็ได้ ตราบเท่าที่มีตารางสอน แต่ในส่วนของภาคปฏิบัตินั้นจำเป็นที่จะต้องจองคอร์สเรียนล่วงหน้า เพราะครูผู้สอนจำเป็นจะต้องนั่งประกบเราคนต่อคน แนะนำให้จองล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์ค่ะ โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมนั้น เด็กๆ ที่จบม.ปลายแล้วจะเรียนกันเยอะ ทำให้จองคอร์สลำบาก นอกจากจะสามารถเลือกเวลาเรียนได้เองแล้ว...
รีวิวการเรียนขับรถในญี่ปุ่น ตอนที่ 1 : การสมัครเรียน
หากใครเคยมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นมักจะรู้สึกเหมือนกันว่า ที่นี่มีระเบียบวินัยการจราจรที่ดีมาก และที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะการเรียนและการสอบที่เข้มข้นกว่าจะได้ใบขับขี่ กอปรกับกฎหมายที่มีการบทลงโทษอย่างจริงจังด้วยค่ะ ตลอดชีวิตของผู้เขียนไม่เคยขับรถเลย พึ่งพาคมนาคมสาธารณะมาโดยตลอด ไม่ว่าจะฝนตกแดดจะออก แต่เผอิญว่าตั้งแต่ปีที่แล้วได้มีโอกาสย้ายมาอยู่ที่จังหวัดฮอกไกโด ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟนั้นไม่สะดวกเหมือนอยู่ในเมือง ประกอบกับช่วงนี้ติดโควิด ทำให้งานการของผู้เขียนที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เลยใช้เวลาอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ จึงคิดว่าถึงเวลาแล้วหละที่จะต้องไปเรียนขับรถ ทุกครั้งที่ผู้เขียนบ่นถึงความยากของการเรียนที่นี่ เพื่อนๆ ก็มักจะถามว่าทำไมต้องไปเรียน แพงก็แพง ทำไมไม่เอาใบขับขี่ไทยมาสอบเทียบ? คำตอบก็คือ ผู้เขียนขับรถไม่เป็นค่ะ...
ทำไมรถแท็กซี่ของญี่ปุ่นถึงเป็น “ประตูอัตโนมัติ” ?
ญี่ปุ่นถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปี 2020 แต่แล้วอย่างที่ทุกคนทราบกันว่าการแข่งขันได้ถูกเลื่อนไปในฤดูร้อนปี 2021 แทน เนื่องจากปัญหาการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่หลายๆ ประเทศต่างก็ไม่คาดคิดมาก่อน จึงต้องจำใจต้องเลื่อนไปโดยปริยาย แต่ทว่าในการจัดงานระดับโลกเช่นนี้ แน่นอนว่าโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นสนามบิน ทางหลวง ทางรถไฟ และระบบการขนส่งสาธารณะต่างได้รับการยกเครื่องบูรณะซ่อมแซมให้เหมือนใหม่เพื่อรองรับนักกีฬาและนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามาในช่วงการจัดแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกครั้งนี้ สิ่งที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยมีโตเกียวโอลิมปิกเป็นจุดเริ่มต้น กรุงโตเกียวได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1940 แต่ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่น และกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี ค.ศ. 1964 ซึ่งทำให้กรุงโตเกียวเป็นเมืองที่ 5 (และเมืองที่ 1 ในทวีปเอเชีย) ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนมากกว่า 1 ครั้ง และเส้นทางชินกันเซ็นและทางด่วนชุโตเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีชื่อเสียง หลังจากปรากฏในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปีค.ศ. 1964 โดยเส้นทางชินกันเซ็นถูกเปิดใช้งานในวันที่ 1 ตุลาคม 1940...