รวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรม บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่น่าใจและน่าเรียนรู้
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
ทำความรู้จักกับเหล่าเทพแห่งความรักชื่อดังของญี่ปุ่น
หากใครชอบเรื่องราวประวัติศาสตร์น่าจะพอรู้ว่าในญี่ปุ่นมีเทพหลายองค์มากมาย ซึ่งเทพแต่ละองค์ก็มีเรื่องราวน่าสนใจชวนติดตามไม่แพ้กัน เนื่องในโอกาสวันแห่งความรัก บทความนี้จึงอยากมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักที่มาและเรื่องราวของเหล่าเทพแห่งความรักชื่อดังของญี่ปุ่นว่ามีความเป็นมายังไงบ้าง เทพคู่รักคู่แรก เทพอิซานางิ และ เทพอิซานามิ ตำนานของญี่ปุ่นกล่าวว่าตอนที่ผืนฟ้าและแผ่นดินแยกออกจากกันกลายเป็นโลก เป็นเวลาที่เหล่าองค์เทพได้ปรากฎกายขึ้น ซึ่งคู่รักคู่แรกที่ปรากฎขึ้นมาได้แก่เทพชายอิซานางิ (ย่อมาจาก อิซานางิ โนะ มิโคโตะ) และเทพหญิงอิซานามิ (ย่อมาจาก อิซานามิ... อ่านต่อ
แนะนำวิธีขอพรเรื่องความรักอย่างไรให้ปัง! เมื่อไปเยือนศาลเจ้าญี่ปุ่น
ที่ญี่ปุ่นมีศาลเจ้าหลายแห่งที่มีชื่อเสียงเรื่องการไปขอพรเรื่องความรักและความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครอบครัว ซึ่งไม่ใช่แค่คนญี่ปุ่นเท่านั้น บรรดานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็มักแวะเวียนไปศาลเจ้าเหล่านี้เพื่อขอพรเกี่ยวกับความรักอยู่ไม่ขาด รู้หรือไม่ว่า การไปเยือนเพื่อศาลเจ้าหรือการไปขอพรนั้น จริงๆ แล้วมีวิธีการและธรรมเนียมปฏิบัติที่เราควรรู้ไว้ เพื่อพอไปถึงแล้วจะได้ไม่ยืนงงจนทำอะไรไม่ถูก ยิ่งพอเป็นเรื่องการขอพรเกี่ยวกับความรักแล้ว ก็มีแนวปฏิบัติเพิ่มเติมมานอกเหนือจากการขอพรแบบทั่วๆ ไปอีกด้วย แนวปฏิบัติทั่วไปเมื่อไปเยือนศาลเจ้า ตามความเชื่อของญี่ปุ่น ศาลเจ้าเป็นที่สถิตของเทพเจ้า เรามักพบเห็นศาลเจ้าน้อยใหญ่ปะปนอยู่ในย่านบ้านเรือน หรือแม้แต่ท่ามกลางตึกใหญ่ๆ ในเมือง เนื่องจากคนญี่ปุ่นเชื่อว่าเทพเจ้าจะคอยปกปักรักษาและดูแลผู้คนที่อยู่ในท้องที่นั้นๆ... อ่านต่อ
วันเซ็ตสึบุนคืออะไร ทำไมต้องปาถั่วไล่ยักษ์ ?
“ความสุขจงเข้ามา! ยักษ์ร้ายจงออกไป!” มีใครเคยเห็นภาพที่เหล่าเด็ก ๆ ญี่ปุ่นช่วยกันปาเมล็ดถั่วใส่ยักษ์กันไหมคะ สิ่งนี้ถือเป็นพิธีอย่างหนึ่งของวันเซ็ตสึบุน แล้ววันนี้เกี่ยวกับอะไร สำคัญยังไง มีที่มาจากไหน วันนี้เราจะมาเล่าให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ เซ็ตสึบุน (Setsubun, 節分) คืออะไร ? เมื่อดูตามคันจิ Setsubun (節分)... อ่านต่อ
ความแตกต่างระหว่างปราสาทสีขาวกับปราสาทสีดำในญี่ปุ่น
นอกจากการไปกิน ไปช็อปปิ้ง อีกสถานที่ท่องเที่ยวที่ควรไปเยี่ยมชมเมื่อไปเที่ยวญี่ปุ่นก็คือปราสาท เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้เรื่องราวในประวัติศาสตร์แล้วยังสัมผัสได้ถึงความสง่างามและความยิ่งใหญ่เมื่อครั้งในอดีต รวมไปถึงสถาปัตยกรรมอันงดงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ แต่เคยสังเกตกันไหมคะว่าปราสาทในญี่ปุ่นจะพบเห็นได้ 2 แบบคือ สีดำและสีขาว ทั้ง 2 สีมีความแตกต่างกันอย่างไร และบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับปราสาทนั้นได้บ้าง ไปดูกัน! ความแตกต่างของปราสาทสีขาวและปราสาทสีดำ หากเรามองที่ตัวปราสาท ก็จะเห็นความแตกต่างได้ว่ามีทั้งแบบสีขาวและแบบสีดำ ซึ่งจริง... อ่านต่อ
ประวัติและที่มาของคำว่า 冷たい (tsumetai) เชื่อไหมว่ามาจากเล็บ!?
冷たい (tsumetai) เป็นคำศัพท์ง่าย ๆ ที่พบเจอได้บ่อย มีความหมายว่า เย็น ใช้กับอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ ที่เราสัมผัสได้ แต่รู้ไหมคะว่าประวัติของคำนี้สามารถย้อนไปได้ไกลถึงสมัยเฮอัน แถมยังมีที่มาที่คาดไม่ถึงอีกด้วย รับรองว่าต้องว้าวแน่นอน ลองไปดูกันค่ะ! ที่มาของคำว่า 冷たい (tsumetai) มาจากเล็บ!?... อ่านต่อ
ทำไมคนญี่ปุ่นถึงตำโมจิในช่วงเทศกาลปีใหม่
หากพูดถึง “ปีใหม่” ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “โมจิ” คนญี่ปุ่นจึงนิยมตำโมจิช่วงเทศกาลปีใหม่ ก่อนจะนำไปประดับบ้านหรือนำมารับประทานกันในครอบครัวเพื่อความเป็นสิริมงคล แต่เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมคนญี่ปุ่นต้องตำโมจิกันในช่วงปีใหม่ เขาทำไปเพื่ออะไร เป็นขนมอื่นไม่ได้เหรอ แล้วกิจกรรมนี้มีความสำคัญและความเป็นมายังไงบ้าง หาคำตอบได้ในบทความนี้เลยค่ะ “โมจิ” อาหารมงคลในวันปีใหม่ ก่อนจะไปพูดถึงการตำโมจิ ขอเท้าความก่อนว่าทำไม “โมจิ” ถึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่น... อ่านต่อ
รู้หรือไม่? คริสต์มาสในต่างประเทศกับญี่ปุ่นต่างกันอย่างไร
ช่วงสิ้นปีญี่ปุ่นก็จะเริ่มหนาว บางที่ก็มีหิมะตก ตามท้องถนนก็เริ่มประดับไฟพร้อมเปิดเพลงในธีมคริสต์มาส สร้างบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองอย่างแท้จริง ตามที่ทราบกันว่าวันที่ 25 ธันวาคม หรือวันคริสต์มาสเป็นวันเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู แต่การเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสในญี่ปุ่นไม่มีความหมายทางศาสนา เป็นเพียงวันพิเศษที่ได้ฉลองร่วมกับคนรักหรือสนุกไปกับกิจกรรมวันคริสต์มาสเท่ากัน ซึ่งต่างจากประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลัก ในบทความนี้จะนำเสนอความแตกต่างของวัฒนธรรมคริสต์มาสในญี่ปุ่นและในต่างประเทศ เพื่อเปรียบเทียบว่าเหมือนหรือต่างกันยังไง! คริสต์มาสในต่างประเทศ ตลาดคริสต์มาสจะหยุดในวันคริสต์มาส ทำให้ถนนเงียบสงัดในวันแห่งการเฉลิมฉลอง ชาวคริสเตียนที่เคร่งศาสนาไปโบสถ์เพื่ออธิษฐาน คริสต์มาสเป็นช่วงเวลาที่ใช้ร่วมกับครอบครัวที่บ้านอย่างผ่อนคลาย... อ่านต่อ
ทำไมสีขาวแดงถึงเป็นสีมงคลของคนญี่ปุ่น?
ช่วงใกล้สิ้นปีแบบนี้ ใครที่ชอบฟังเพลงญี่ปุ่นจะต้องนึกถึงการแข่งขันร้องเพลงของบรรดาศิลปินชื่อดังในงานขาวแดงแน่นอน แต่จะว่าไปสีขาวแดงเราก็สามารถพบได้ทั่วไปในวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ทั้งธงชาติ ชุดเข้าสาว ฯลฯ มันมีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงใช้ในงานมงคล ทำไมถึงใช้แบ่งกลุ่มเป็น 2 ฝ่าย ลองมาดูทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับที่มาและความหมายของสีขาวแดงกันค่ะ Kouhaku (紅白) คืออะไร? Kouhaku... อ่านต่อ
ไขความลับ “คิทสึเนะเม็ง” หน้ากากจิ้งจอกสัญลักษณ์ผู้ส่งสารเทพอินาริ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ปีศาจและเรื่องเหนือธรรมชาติมาตั้งแต่อดีต เทพเจ้าที่หลายคนรู้จักกันดีคงไม่พ้น “เทพอินาริ” เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ที่มีบริวารเป็นเหล่าสุนัขจิ้งจอก มีการพูดถึงเทพอินาริและสุนัขจิ้งจอกจากสื่อต่างๆ มากมาย เช่น ภาพยนตร์หรืออนิเมะ ซึ่งถ้าเป็นเรื่องที่จิ้งจอกเป็นตัวเอก เราก็อาจจะเห็นตัวละครบางคนพกหน้ากากที่วาดลวดลายจิ้งจอกติดตัวเอาไว้ด้วย แต่รู้ไหมคะว่าหน้ากากนี้มีความสำคัญยังไง ครั้งนี้เราจะพาเพื่อนๆ มาดูความสำคัญและความหมายของหน้ากากจิ้งจอกกันค่ะ หน้ากากจิ้งจอกมีความสำคัญอย่างไร? หน้ากากจิ้งจอกญี่ปุ่นหรือ คิทสึเนะเม็ง (狐面)... อ่านต่อ
ทำไมคนญี่ปุ่นถึงกินไก่ KFC แทนไก่งวงในวันคริสต์มาส?
เข้าสู่เดือนธันวาคมใกล้ “เทศกาลคริสต์มาส” ที่หลายคนรอคอย ในเทศกาลคริสต์มาสทุกคนทำอะไรกันบ้างคะ หลาย ๆ คนอาจจะไปถ่ายรูปไฟประดับ แลกของขวัญกัน แต่ทราบไหมคะว่าที่ญี่ปุ่นเขามีวัฒนธรรมกินไก่ KFC กันด้วย ! ทำไมต้องเป็นไก่ KFC ไปดูที่มากันค่ะ ผู้พันแซนเดอร์สแปลงร่างเป็นซานตาคลอส สำหรับประเทศทางแถบตะวันตก เมื่อถึงช่วงคริสต์มาสทุกบ้านจะมีวัฒนธรรมกินไก่งวงกัน แต่สำหรับที่ญี่ปุ่นจะไม่ใช่ไก่งวง... อ่านต่อ
หมากรุกและหมากล้อม อิทธิพลแห่งอารยธรรมอินเดียและจีนที่หลงเหลือในญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่นนั้นมีเกมกระดานที่นิยมเล่นกันเป็นวงกว้างอยู่ 2 ประเภทในญี่ปุ่นคือ หมากรุก หรือ โชงิ (将棋) และ หมากล้อม หรือ โกะ (碁) แต่ว่าเกมกระดานทั้ง 2 ประเภทนั้นไม่ได้เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น แต่เกิดจากอารยธรรมที่เก่าแก่กว่านั้นอีก คือ อินเดีย... อ่านต่อ
“Shinnenkai (新年会)” จุดเริ่มต้นและความสำคัญของงานเลี้ยงปีใหม่ในญี่ปุ่น
อีกไม่นานก็จะสิ้นปีแล้ว ทำไมเวลาช่างผ่านไปไวขนาดนี้น้าาา พูดถึงวันสิ้นปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ไม่ว่าที่ไหน ๆ ก็ต้องจัดงานเลี้ยงปีใหม่ ทั้งบริษัท องค์กร หรือในชุมชนต่าง ๆ แล้วบริษัทที่ญี่ปุ่นเขาจัดงานเลี้ยงปีใหม่กันช่วงไหนบ้าง จะเหมือนคนไทยหรือเปล่า เราไปดูกันค่ะ แถมงานเลี้ยงปีใหม่ในญี่ปุ่นเขายังมีกันมาตั้งแต่สมัยโบราณนานโขอีกด้วยนะ! “Shinnenkai (新年会)” งานเลี้ยงฉลองปีใหม่ “Shinnenkai... อ่านต่อ
มารู้จัก “โอมิยะไมริ” พิธีแรกของเด็กญี่ปุ่น
ในประเทศญี่ปุ่นมีงานพิธีที่จัดขึ้นสำหรับเด็กมากมาย แล้วทุกคนรู้ไหมคะว่าพิธีแรกที่เด็กญี่ปุ่นจะต้องเข้าร่วมคือพิธีอะไร? บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับพิธีสำคัญนั้นกัน ข้อมูลที่นำมาเสนอเป็นข้อมูลทั่วไป รายละเอียดงานอาจต่างไปตามแต่ละศาลเจ้า พิธีโอมิยะไมริคืออะไร ทำไมถึงสำคัญ พิธีโอมิยะไมริ (お宮参り) หรือพิธีเยี่ยมศาลเจ้าครั้งแรกของเด็กทารก เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อรายงานการเกิดของทารกให้เทพอุบุซุนะกามิ (産土神) เทพผู้ดูแลปกป้องท้องถิ่นที่คนๆ หนึ่งเกิดได้รับทราบ พร้อมทั้งขอพรให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง ในอดีตโอมิยะไมริเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อขอบคุณเทพเจ้าประจำถิ่นที่ช่วยให้เด็กทารกอยู่รอดปลอดภัยในเดือนแรก เนื่องจากในอดีตอัตราการรอดชีวิตของเด็กทารกต่ำมาก หากเด็กอยู่รอดปลอดภัยครบหนึ่งเดือนก็จะพาไปศาลเจ้าเพื่อรับคำอวยพรจากเทพในฐานะอุจิโกะ... อ่านต่อ
คนญี่ปุ่นมีทริคเตรียมอาหารเทศกาลปีใหม่อย่างไรให้ประหยัดงบ
อีกเพียง 1 เดือนก็จะเข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีกันแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อถึงเดือนธันวาทุกคนก็มักจะนึกถึงช่วงวันปีใหม่กันอย่างแน่นอน และธรรมเนียมช่วงวันปีใหม่ของคนญี่ปุ่นที่ขาดไม่ได้เลยคือการทานอาหารในเทศกาลปีใหม่ หรือที่เรียกว่า “おせち料理 (โอเซจิเรียวริ)” ถึงแม้ว่าในสมัยนี้จะสามารถหาซื้อมาทานได้ แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ยังเตรียมทำโอเซจิเรียวริเองอยู่ด้วย การทำอาหารในเทศกาลเช่นนี้ถือเป็นการเตรียมการใหญ่แห่งปีอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และแน่นอนว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายและต้นทุนที่สูงพอสมควรทีเดียว แล้วคนญี่ปุ่นเขามีแบบแผนในการประหยัดงบช่วงปีใหม่สำหรับการเตรียมอาหารมือสำคัญแห่งปีกันอย่างไรบ้าง โอเซจิเรียวริคืออะไร “โอเซจิเรียวริ” คืออาหารที่นิยมทานกันช่วงวันที่ 1-3 มกราคมของทุกปี... อ่านต่อ
ซูโม่ไม่ใช่กีฬาประจำชาติญี่ปุ่น? แล้วกีฬาประจำชาติมีที่มาอย่างไรกันแน่
เมื่อพูดถึงซูโม่แล้วทุกคนก็คงจะนึกถึงประเทศญี่ปุ่นเป็นแน่ ซูโม่นับว่าเป็นกีฬามวยปล้ำที่แฝงไปด้วยวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ไม่ได้ลอกเลียนแบบกันได้ง่ายๆ และการเป็นนักกีฬาซูโม่ก็ใช่ว่าแค่ตัวใหญ่และน้ำหนักเยอะแล้วจะเป็นกันได้เลย แต่ยังต้องอาศัยการฝึกฝนทั้งกำลังของร่างกาย ต้องเรียนรู้เทคนิค และยังต้องฝึกระเบียบวินัยต่างๆ รวมถึงต้องเคร่งครัดเรื่องอาหารการกินอย่างมากอีกด้วย ยิ่งนักซูโม่คนไหนปั้นหุ่นได้ใหญ่ขึ้นมากเท่าใดค่าตัวก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นด้วยเท่านั้น ส่วนค่าบัตรชมกีฬาซูโม่นั้นเริ่มต้นก็ราคาหมื่นเยนแล้วล่ะค่ะ จากความมีเอกลักษณ์เฉพาะและยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายเพราะมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานนี้เองจึงถูกเรียกว่า “กีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น” คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เองก็เชื่อว่ากีฬาซูโม่นั้นเป็นกีฬาประจำชาติ แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกมุมมองหนึ่งที่แย้งขึ้นมาได้ว่า “ซูโม่ไม่ใช่กีฬาประจำชาติ” ด้วย ถ้าอย่างนั้นสรุปแล้วความจริงมันเป็นอย่างไรกันล่ะ? ด้วยความสงสัยใคร่รู้จึงขอตั้งหัวข้อนี้ขึ้นมาแชร์ประเด็นดังกล่าวเพื่อไขความกระจ่างให้กับผู้อ่านทุกคนค่ะ กีฬาประจำชาติเลือกมาจากอะไร?... อ่านต่อ