รวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรม บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่น่าใจและน่าเรียนรู้
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
“Golden Week” วันหยุดที่ชาวญี่ปุ่นโหยหา สำคัญอย่างไร?
ถ้าพูดถึง “Golden Week” ชาวญี่ปุ่นก็มักจะตาโต พลันยิ้มแก้มปริ เพราะพวกเขาจะนึกถึงช่วงเวลาที่เฝ้ารอ เป็นสัปดาห์แห่งวันหยุดยาว 7 วันรวด ตั้งแต่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคมของทุกปี แบบไม่ต้องรอลุ้นให้รัฐบาลประกาศแบบสงกรานต์บ้านเราเลยหล่ะครับ แม้ช่วงวันหยุดยาวนี้จะเป็นชื่อที่เราคุ้นหู แต่เพื่อน... อ่านต่อ
4 วิธีทรมานคนหยาบช้าในวันวานของญี่ปุ่น
“อาชญากรรม” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกของเราไม่ว่าวันและเวลาจะแปรเปลี่ยนไปมากแค่ไหนก็ตาม สังคมทุกแห่งหนล้วนแล้วแต่ต้องมีทั้งคนดีและคนไม่ดีอยู่ร่วมกันเสมอเป็นอนิจจังของโลก แม้ว่าปัจจุบันวิธีการทรมานจะเป็นเรื่องต้องห้ามในทางกฎหมายแล้วก็ตาม แต่ในอดีตการใช้ “ทัณฑ์ทรมาน” ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้ผลชะงัดนัก เมื่อผู้กระทำความผิดไม่ยอมรับสารภาพ และหลักฐานแห่งความผิดนั้นก็ไม่ปรากฏแน่ชัด ไม่แน่นหนาพอจะเอาผิดให้ชัดแจ้ง คำรับสารภาพจึงเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ต้องคาดคั้นออกมาจากปากคนหยาบช้าให้จงได้!! และต่อไปนี้คือ 4 วิธีทรมานคนร้าย ที่ต่อให้ร้ายก็ไม่อยากโดน!! 1. โบยเสียให้หายปากหนัก!... อ่านต่อ
อิคคิวซังกับการจับเสือด้วยปัญญา
“อิคคิวซัง” คงจะเป็นชื่อการ์ตูนญี่ปุ่นที่ไม่มีใครไม่รู้จัก ด้วยภาพของเณรน้อยเจ้าปัญญาติดตาในวัยเด็กของใครหลาย ๆ คน และประโยคคำพูดที่คุ้นหูอย่าง “คร๊าบผม~ จะรีบไปไหน ๆ พักเดี๋ยวนึงนะครับ!!” หรือการ “ใช้’หมอง นั่ง’มาธิ” ก็คงจะเป็นความทรงจำในวัยเด็กที่ยากจะลืมเลือน “อิคคิว” : 一休 แปลว่าอะไร?? อิคคิวซัง... อ่านต่อ
ความแตกต่างของขนมมงคลที่รับประทานในวันเด็กญี่ปุ่นระหว่างพื้นที่คันไซและคันโต
วันเด็กญี่ปุ่นนั้นเป็นวันฉลองความสุขของเด็กทั้งประเทศและเป็นวันที่ภาวนาให้ลูกชายมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งนอกจากจะมีทั้งการประดับธงรูปปลาคาร์ฟไว้หน้าบ้าน จัดบูชาตุ๊กตา โกะงัสสึ นิงเงียว (五月人形) เพื่อคุ้มครองปกป้องเด็กจากสิ่งชั่วร้ายและภัยอันตรายต่าง ๆ และการให้เด็กอาบน้ำที่แช่ด้วยใบโชบุซึ่งเป็น Iris ชนิดหนึ่งแล้ว ก็มีการรับประทานขนมด้วย มารู้จักขนมมงคลที่ใช้รับประทานในช่วงวันเด็กในพื้นที่คันไซและคันโตกันนะคะ คะชิวะโมจิ (Kashiwa Mochi) ขนมที่ใช้รับประทานในวันเด็กในเขตคันโต ขนมที่ใช้รับประทานในช่วงวันเด็กในเขตคันโตหรือพื้นที่ของโตเกียวและจังหวัดใกล้เคียงจะเป็นขนมโมจิชนิดหนึ่งที่ห่อด้วยใบโอ๊ก... อ่านต่อ
เกราะซามุไร : ความเหนือชั้นของมัน และการสวมใส่แบบโบราณ
“ซามุไร” กลุ่มชนนักรบที่ไม่มีใครไม่รู้จัก ด้วยเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่น สะท้อนออกมาผ่านเครื่องแต่งกายที่ดูมีความพิเศษแตกต่างไปจากนักรบชาติอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด…แล้วอะไรกันนะ!? ที่ทำให้ชุดเกราะของพวกเขาดูมีความพิเศษ แตกต่างไปจนเป็นที่จดจำของผู้คน อะไรที่ทำให้พวกเขามั่นใจในความโดดเด่นเหนือชั้นกว่าผู้ใดในโลก ความซับซ้อนเหล่านั้นนำไปสู่วิธีการสวมใส่ที่มีรายละเอียดยุบยิบไม่ธรรมดาอย่างไรบ้าง? จงจินตนาการไปตามคำบรรยายต่อไปนี้กันเลยครับ!! เหตุแห่งความเหนือชั้นกว่าชุดเกราะที่มีดาษดื่นทั่วไป เกราะซามุไรญี่ปุ่น ถูกออกแบบมาอย่างประณีต ผ่านกระบวนการคิดที่ลึกลับซับซ้อน…ว่ากันว่ามีซามุไรบางคนเหลือบตามองชุดเกราะของยุโรป “ข้าอยากได้ชุดเกราะแบบนี้” ช่างเป็นคำกล่าวที่หลงผิดอะไรเช่นนั้น! การถูกห่อหุ้มจากศีรษะจรดปลายเท้าในเหล็กกล้า... อ่านต่อ
เสื่อทาทามิ : ความเรียบง่ายที่สุดแสนจะวิเศษของบ้านแบบญี่ปุ่น
เมื่อเรานึกถึงบ้านแบบญี่ปุ่น สิ่งแรก ๆ ที่ลอยเข้ามาในความคิดคงหนีไม่พ้น “เสื่อทาทามิ” เสื่อที่ทำจากฟางอันเรียบง่าย แต่แสนจะโดดเด่น สะท้อนภาพความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมของชนชาติญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ทาทามิ – หนึ่งในสิ่งที่ขาดไม่ได้ของบ้านแบบญี่ปุ่น เสื่อทาทามิ ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะที่มีแต่ญี่ปุ่นเท่านั้นที่เราจะนึกถึง คำว่า “ทาทามิ” มีที่มาจากคำว่า “ทาทามุ”「畳む」แปลว่า... อ่านต่อ
ตำนานทรายรูปดาวแห่งโอกินาวา
ที่โอกินาว่ามีชายหาดรูปดาวอันมีเอกลักษณ์ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ไปเยี่ยมชมความสวยงามที่ธรรมชาติสรรสร้างขึ้นมานักต่อนัก วันนี้ ANNGLE จะมาบอกเล่าเรื่องราวในตำนานของทรายนี้ให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกันมากขึ้น ว่าแล้วเรามานั่งล้อมวงฟังตำนานที่มาของทรายรูปดาวกันค่ะ เรื่องของเรื่องมาจากครอบครัวดวงดาว กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพ่อดาวเหนือและแม่ดาวใต้อาศัยอยู่ด้วยกันบนท้องฟ้า เมื่อแม่ดาวใกล้กำหนดคลอดดวงดาวทั้งสองจึงไปปรึกษาเทพแห่งท้องฟ้า (天の神) ว่าจะเลี้ยงลูกที่ไหนดี เทพแห่งท้องฟ้ามองลงไปยังโลกเบื้องล่างครู่หนึ่งแล้วจึงมองเห็นเกาะทาเคโทมิ (竹富島) ที่รายล้อมไปด้วยปะการังและทะเลสวยงาม เห็นเช่นนั้นเทพท้องฟ้าจึงกล่าวว่า... อ่านต่อ
โคะอิ และ อะอิ : ความเหมือนที่ต่าง ของคำว่า “รัก” ในภาษาญี่ปุ่น
สำหรับภาษาไทย ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รัก” เราก็คงจะนึกถึงแต่คำว่า “รัก” ใช่ไหมครับ? เอ๊ะ พูดเองก็งงเอง! แต่เอาเป็นว่าถ้าเราพูดถึงภาษาญี่ปุ่น จะมีคำที่มีความหมายว่า “รัก” อยู่ 2 คำด้วยกัน แต่กลับเป็น “รัก” ที่มีนัยยะแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ นั่นก็คือคำว่า... อ่านต่อ
ซามุไร และ พ่อค้า : ว่าด้วยวิธีการกินปลาไหลที่ต่างกัน
ประเทศญี่ปุ่น นับว่าเป็นประเทศที่มีตลาดผู้บริโภค “อุนะงิ”「鰻」หรือปลาไหลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศเกาะที่ล้อมรอบด้วยทะเล มีความหลากหลายในด้านอาหารทะเลอย่างที่เรารู้กันดี แต่ปลาไหล ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด กลับกลายเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้น ๆ ติดอกติดใจชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย ย้อนกลับไปในอดีต หากจะมีการกินปลาไหลกันแล้วหล่ะก็ ต้องเป็นโอกาสพิเศษ หรือมีการเฉลิมฉลองอะไรบางอย่าง เพิ่มฟื้นฟู เพิ่มพูนพลังบวกให้กับร่างกายและจิตวิญญาณโดยเฉพาะเท่านั้น!! “Kabayaki”「蒲焼」: วิธีการปรุงปลาไหลแสนธรรมดาที่วิเศษสุด... อ่านต่อ
ญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ “ออนเซน” แต่ยังมี “เซนโต” ไว้ให้แช่น้ำด้วยนะ!!
เพื่อน ๆ คงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วกับสถานที่อาบน้ำแช่น้ำที่เรียกว่า “ออนเซน”…แต่ญี่ปุ่นยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่เรียกว่า “เซนโต” เป็นอีกแห่งที่ใช้ในการอาบน้ำแช่น้ำได้เช่นกันครับ…แล้วเจ้า “ออนเซน” และ “เซนโต” ที่ว่านี้มันแตกต่างกันยังไงนะ? ทำไมออนเซนถึงเป็นที่เลื่องลือนักสำหรับชาวต่างชาติ แต่เรากลับไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงเซนโตมากนัก…วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ!! ออนเซน : 温泉 สถานที่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับเราคนไทยทุกครั้งที่คิดจะก้าวเข้าไป เพราะด้วยจริตแบบไทยแล้ว การจะเปลื้องผ้าแช่น้ำในที่รโหฐานก็ดูจะไม่ถูกจริตพ่อนายแม่นายมากนัก แต่ก็ชวนให้ตื่นเต้นน่าค้นหา... อ่านต่อ
ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ ธรรมเนียมที่คนญี่ปุ่นคงไว้แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปแสนไกล
แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำจนผู้คนสามารถติดต่อกับญาติมิตรและคนที่รักได้ง่ายผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่คนญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ให้ญาติมิตรเพื่อนสนิทในวันปีใหม่อยู่ มาดูประวัติการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่และเหตุผลที่คนญี่ปุ่นยังคงธรรมเนียมการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่แม้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวล้ำไปมากแล้วก็ตามกันนะคะ ประวัติการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ มีหลักฐานว่าการส่งไปรษณียบัตรนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยเฮอันในช่วงปี ค.ศ. 794-1185 จนกระทั่งในสมัยเอโดะที่เจ้าของธุรกิจร้านค้าส่งไปรษณียบัตรไปให้ลูกค้าในวันขึ้นปีใหม่ และไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ที่ส่งให้ญาติได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในสมัยเมจิ ซึ่งในสมัยนั้นไปรษณีย์ได้ปรับปรุงจัดระบบเพื่อจัดส่งไปรษณียบัตรให้ถึงมือผู้รับในวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่นั้นมาก็มีการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่กันเรื่อยมา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ฉับไวสามารถส่งการ์ดอวยพรผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่ก็ยังพบว่าคนญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยในการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ต่อคนที่ 27 ใบ โดยบุคคลที่ส่งไปรณียบัตรนั้นมีตั้งแต่เด็กวัยอนุบาลจนถึงผู้สูงอายุเลยทีเดียว... อ่านต่อ
ตามรอยเท้าหมาป่าในความทรงจำของญี่ปุ่น
ช่วงที่ผ่านมานี้ ข่าวการประกาศสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ย้ำเตือนถึงผลกระทบที่พวกรเามีต่อธรรมชาติรอบตัว และหากพูดถึงสิ่งมีชีวิตที่หายไปจากญี่ปุ่นแล้ว “หมาป่า (狼)” คงเป็นคำแรกๆ ที่เรานึกถึง เนื่องในโอกาสนี้ เราย้อนกลับไปทำความรู้จักหมาป่าที่เคยอยู่ในญี่ปุ่นกันค่ะ ญี่ปุ่นเคยมีหมาป่า “ญี่ปุ่นเคยมีหมาป่า” เป็นวลีที่คนต่างชาติอย่างเราอาจจะลืมไปหลายครั้ง ANNGLE ก็เช่นกันค่ะ จนกระทั่งนึกขึ้นได้ว่าประโยคนี้มีอยู่และเป็นจริง สิ่งที่ตามมาคือคำถามว่า “หมาป่าในญี่ปุ่นคือหมาป่าแบบไหน?”... อ่านต่อ
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของ “สัตว์ 5 ชนิด” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ตำนานและความลี้ลับเป็นเรื่องปกติพื้นฐานในสังคมญี่ปุ่น นับตั้งแต่โบร่ำโบราณ เรามักรู้กันดีว่า ญี่ปุ่น ช่างเป็นชาติที่ร่ำรวยด้วยเรื่องราว มีที่มาที่ไปชวนให้พิศวงสงสัย ยิ่งค้น ยิ่งพบเจอแต่เรื่องชวนประหลาดใจอยู่เสมอ แม้กระทั่งสัตว์ต่าง ๆ ก็ไม่เว้น ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเคารพยกย่องอย่างมากในสังคมญี่ปุ่น เรามักเห็นได้จากการเชื่อมโยงกับศาลเจ้า มีพิธีกรรมต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ทุกชนิดจะมีความสำคัญไปเสียหมด วันนี้ผมจะพาเพื่อน... อ่านต่อ
เจ้านายญี่ปุ่นของคุณเป็นคนแบบไหน เมื่อเทียบกับ 3 วีรบุรุษ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องทำงานกับเจ้านายที่เป็นคนญี่ปุ่น คงจะรู้ดีอยู่แล้วใช่ไหมครับ ว่าความเข้มข้นในการทำงานแบบฉบับญี่ปุ่นจ๋าให้ความรู้สึกอย่างไร เจ้านายแต่ละคน จะมีวิธีการ บุคลิกลักษณะ และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป สังคมญี่ปุ่นมักจะเปรียบเทียบเจ้านายแต่ละคนกับ 3 นักรบ หรือ วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็รู้จัก… มาดูกันดีกว่าครับ... อ่านต่อ
หญิงร้อนรุ่มแห่งปี “ฮิโนะเอะอุมะ” : หญิงต้องห้ามตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ
วัฒนธรรมญี่ปุ่นถือเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่นิยมชมชอบรู้จักกันไปทั่วโลก แต่พวกเขาก็มิได้สร้างมันขึ้นมาเองเสียทั้งหมด แต่รับเอามาจากคนแผ่นดินใหญ่ นำวัฒนธรรมจีนเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับตนเอง แต่เมื่อเป็นญี่ปุ่นแล้ว ชาติซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ เลือกรับ ปรับเปลี่ยน และพัฒนาได้เก่ง เขานำมันมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับตนเอง จนสามารถสร้างความแตกต่างอย่างลงตัวได้อย่างน่ามหัศจรรย์ไม่ว่ากับเรื่องใดก็ตาม แต่ก็มีเรื่องหนึ่งที่ดูจะไม่สู้ดีนัก เป็นคติความเชื่อที่ยึดถือสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือการสำรวจทำนายดวงชะตา และความเป็นไปของปีเกิดตามคติจีนโบราณ ซึ่งได้สร้างความหวาดผวาในทุก ๆ... อ่านต่อ