รวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรม บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่น่าใจและน่าเรียนรู้
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
โคะอิ และ อะอิ : ความเหมือนที่ต่าง ของคำว่า “รัก” ในภาษาญี่ปุ่น
สำหรับภาษาไทย ถ้าจะพูดถึงคำว่า “รัก” เราก็คงจะนึกถึงแต่คำว่า “รัก” ใช่ไหมครับ? เอ๊ะ พูดเองก็งงเอง! แต่เอาเป็นว่าถ้าเราพูดถึงภาษาญี่ปุ่น จะมีคำที่มีความหมายว่า “รัก” อยู่ 2 คำด้วยกัน แต่กลับเป็น “รัก” ที่มีนัยยะแตกต่างกันอย่างน่าสนใจ นั่นก็คือคำว่า... อ่านต่อ
ซามุไร และ พ่อค้า : ว่าด้วยวิธีการกินปลาไหลที่ต่างกัน
ประเทศญี่ปุ่น นับว่าเป็นประเทศที่มีตลาดผู้บริโภค “อุนะงิ”「鰻」หรือปลาไหลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้ แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศเกาะที่ล้อมรอบด้วยทะเล มีความหลากหลายในด้านอาหารทะเลอย่างที่เรารู้กันดี แต่ปลาไหล ซึ่งเป็นปลาน้ำจืด กลับกลายเป็นอาหารยอดนิยมอันดับต้น ๆ ติดอกติดใจชาวญี่ปุ่นทุกเพศทุกวัย ย้อนกลับไปในอดีต หากจะมีการกินปลาไหลกันแล้วหล่ะก็ ต้องเป็นโอกาสพิเศษ หรือมีการเฉลิมฉลองอะไรบางอย่าง เพิ่มฟื้นฟู เพิ่มพูนพลังบวกให้กับร่างกายและจิตวิญญาณโดยเฉพาะเท่านั้น!! “Kabayaki”「蒲焼」: วิธีการปรุงปลาไหลแสนธรรมดาที่วิเศษสุด... อ่านต่อ
ญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ “ออนเซน” แต่ยังมี “เซนโต” ไว้ให้แช่น้ำด้วยนะ!!
เพื่อน ๆ คงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วกับสถานที่อาบน้ำแช่น้ำที่เรียกว่า “ออนเซน”…แต่ญี่ปุ่นยังมีอีกสถานที่หนึ่งที่เรียกว่า “เซนโต” เป็นอีกแห่งที่ใช้ในการอาบน้ำแช่น้ำได้เช่นกันครับ…แล้วเจ้า “ออนเซน” และ “เซนโต” ที่ว่านี้มันแตกต่างกันยังไงนะ? ทำไมออนเซนถึงเป็นที่เลื่องลือนักสำหรับชาวต่างชาติ แต่เรากลับไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงเซนโตมากนัก…วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ!! ออนเซน : 温泉 สถานที่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับเราคนไทยทุกครั้งที่คิดจะก้าวเข้าไป เพราะด้วยจริตแบบไทยแล้ว การจะเปลื้องผ้าแช่น้ำในที่รโหฐานก็ดูจะไม่ถูกจริตพ่อนายแม่นายมากนัก แต่ก็ชวนให้ตื่นเต้นน่าค้นหา... อ่านต่อ
ไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ ธรรมเนียมที่คนญี่ปุ่นคงไว้แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปแสนไกล
แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำจนผู้คนสามารถติดต่อกับญาติมิตรและคนที่รักได้ง่ายผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่คนญี่ปุ่นจำนวนมากยังคงส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ให้ญาติมิตรเพื่อนสนิทในวันปีใหม่อยู่ มาดูประวัติการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่และเหตุผลที่คนญี่ปุ่นยังคงธรรมเนียมการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่แม้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารก้าวล้ำไปมากแล้วก็ตามกันนะคะ ประวัติการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ มีหลักฐานว่าการส่งไปรษณียบัตรนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยเฮอันในช่วงปี ค.ศ. 794-1185 จนกระทั่งในสมัยเอโดะที่เจ้าของธุรกิจร้านค้าส่งไปรษณียบัตรไปให้ลูกค้าในวันขึ้นปีใหม่ และไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ที่ส่งให้ญาติได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในสมัยเมจิ ซึ่งในสมัยนั้นไปรษณีย์ได้ปรับปรุงจัดระบบเพื่อจัดส่งไปรษณียบัตรให้ถึงมือผู้รับในวันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่นั้นมาก็มีการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่กันเรื่อยมา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ฉับไวสามารถส่งการ์ดอวยพรผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่ก็ยังพบว่าคนญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยในการส่งไปรษณียบัตรอวยพรปีใหม่ต่อคนที่ 27 ใบ โดยบุคคลที่ส่งไปรณียบัตรนั้นมีตั้งแต่เด็กวัยอนุบาลจนถึงผู้สูงอายุเลยทีเดียว... อ่านต่อ
ตามรอยเท้าหมาป่าในความทรงจำของญี่ปุ่น
ช่วงที่ผ่านมานี้ ข่าวการประกาศสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ย้ำเตือนถึงผลกระทบที่พวกรเามีต่อธรรมชาติรอบตัว และหากพูดถึงสิ่งมีชีวิตที่หายไปจากญี่ปุ่นแล้ว “หมาป่า (狼)” คงเป็นคำแรกๆ ที่เรานึกถึง เนื่องในโอกาสนี้ เราย้อนกลับไปทำความรู้จักหมาป่าที่เคยอยู่ในญี่ปุ่นกันค่ะ ญี่ปุ่นเคยมีหมาป่า “ญี่ปุ่นเคยมีหมาป่า” เป็นวลีที่คนต่างชาติอย่างเราอาจจะลืมไปหลายครั้ง ANNGLE ก็เช่นกันค่ะ จนกระทั่งนึกขึ้นได้ว่าประโยคนี้มีอยู่และเป็นจริง สิ่งที่ตามมาคือคำถามว่า “หมาป่าในญี่ปุ่นคือหมาป่าแบบไหน?”... อ่านต่อ
ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของ “สัตว์ 5 ชนิด” ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ตำนานและความลี้ลับเป็นเรื่องปกติพื้นฐานในสังคมญี่ปุ่น นับตั้งแต่โบร่ำโบราณ เรามักรู้กันดีว่า ญี่ปุ่น ช่างเป็นชาติที่ร่ำรวยด้วยเรื่องราว มีที่มาที่ไปชวนให้พิศวงสงสัย ยิ่งค้น ยิ่งพบเจอแต่เรื่องชวนประหลาดใจอยู่เสมอ แม้กระทั่งสัตว์ต่าง ๆ ก็ไม่เว้น ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการเคารพยกย่องอย่างมากในสังคมญี่ปุ่น เรามักเห็นได้จากการเชื่อมโยงกับศาลเจ้า มีพิธีกรรมต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ใช่สัตว์ทุกชนิดจะมีความสำคัญไปเสียหมด วันนี้ผมจะพาเพื่อน... อ่านต่อ
เจ้านายญี่ปุ่นของคุณเป็นคนแบบไหน เมื่อเทียบกับ 3 วีรบุรุษ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องทำงานกับเจ้านายที่เป็นคนญี่ปุ่น คงจะรู้ดีอยู่แล้วใช่ไหมครับ ว่าความเข้มข้นในการทำงานแบบฉบับญี่ปุ่นจ๋าให้ความรู้สึกอย่างไร เจ้านายแต่ละคน จะมีวิธีการ บุคลิกลักษณะ และนิสัยที่แตกต่างกันออกไป สังคมญี่ปุ่นมักจะเปรียบเทียบเจ้านายแต่ละคนกับ 3 นักรบ หรือ วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็รู้จัก… มาดูกันดีกว่าครับ... อ่านต่อ
หญิงร้อนรุ่มแห่งปี “ฮิโนะเอะอุมะ” : หญิงต้องห้ามตามความเชื่อญี่ปุ่นโบราณ
วัฒนธรรมญี่ปุ่นถือเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นที่นิยมชมชอบรู้จักกันไปทั่วโลก แต่พวกเขาก็มิได้สร้างมันขึ้นมาเองเสียทั้งหมด แต่รับเอามาจากคนแผ่นดินใหญ่ นำวัฒนธรรมจีนเข้ามาปรับใช้ให้เข้ากับตนเอง แต่เมื่อเป็นญี่ปุ่นแล้ว ชาติซึ่งมีความสามารถในการเรียนรู้ เลือกรับ ปรับเปลี่ยน และพัฒนาได้เก่ง เขานำมันมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับตนเอง จนสามารถสร้างความแตกต่างอย่างลงตัวได้อย่างน่ามหัศจรรย์ไม่ว่ากับเรื่องใดก็ตาม แต่ก็มีเรื่องหนึ่งที่ดูจะไม่สู้ดีนัก เป็นคติความเชื่อที่ยึดถือสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือการสำรวจทำนายดวงชะตา และความเป็นไปของปีเกิดตามคติจีนโบราณ ซึ่งได้สร้างความหวาดผวาในทุก ๆ... อ่านต่อ
3 สิ่งไม่ควรทำ เมื่อได้นามบัตรจากคนญี่ปุ่น!
หัวข้อวันนี้เหมาะสำหรับซารารีมัง หรือ มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเป็นอย่างมาก เพราะคุณจะต้องอยู่ในช่วงเวลาเริ่มต้นของการพบปะพูดคุยทางธุรกิจ ที่ต้องเริ่มจากการแลกนามบัตร กระดาษสี่เหลี่ยมใบเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญ สามารถบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง การแลกนามบัตรระหว่างกันดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่กลับกลายเป็นมารยาทที่จำเป็นต้องเรียนรู้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องทำกับคนญี่ปุ่น อาจจะตัดสินกันจากจุดนี้ได้เลยนะครับ!! ไปดูกันดีกว่า ว่า 3 สิ่งไม่ควรทำเมื่อเพื่อน ๆ... อ่านต่อ
ตำนานเลือด 47 โรนิน กับภาพสะท้อนวิถีแห่งบูชิโด
“ซามุไร” เป็นชื่อของกลุ่มคนที่ชาวไทยคุ้นหู ถือเป็นกลุ่มคนที่มีสถานะทางสังคมที่สูง ได้รับการเคารพนับถือ จัดได้ว่าเป็นชนชั้นที่มีเกียรติ พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญทางประวัติศาสตร์ของสังคมญี่ปุ่นอย่างมิอาจปฏิเสธ มีตัวตนอยู่ในหลายบริบทเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก แต่เรื่องราวต่าง ๆ มักมีสองด้าน ทั้งดี ทั้งร้ายปะปนกันไป เช่นเดียวกับตำนานของ 47 โรนินเหล่านี้ ที่ทั้งได้รับการยกย่อง และในทางกลับกันก็ถูกมองว่าเป็นรอยด่างทางประวัติศาสตร์ของชาติที่ยากจะลืมเลือน “ชูชินกุระ”... อ่านต่อ
6 ข้อห้ามของการใช้ตะเกียบบนโต๊ะอาหารญี่ปุ่น
ตะเกียบที่เป็นอุปกรณ์คู่กายสำหรับมื้ออาหารบนโต๊ะญี่ปุ่น โดยปกติแล้วสมาชิกในบ้านทุกคนจะมีตะเกียบ จาน ชาม ต่าง ๆ เป็นของตัวเองชัดเจน ไม่นิยมใช้อันไหนก็ได้ แม้จะล้างแล้วก็ตามนะครับ แถมยังมีมารยาทในการใช้ตะเกียบอีกมากมายที่ควรต้องเรียนรู้เอาไว้ เผื่อวันไหนเพื่อน ๆ จะต้องไปร่วมโต๊ะอาหารกับคนญี่ปุ่น จะได้มีความพร้อมเป็นเพื่อนร่วมโต๊ะที่น่ารักนะครับ!! 1. Yose-bashi : เลื่อนมาใกล้... อ่านต่อ
เข้าใจคนญี่ปุ่นผ่านสำนึกสังคมแบบ “กลุ่ม” ภาคต่อ : ฮนเนะ และ ทะเทะมะเอะ
เพื่อน ๆ คงจะทราบกันไปแล้วว่าสังคมญี่ปุ่น เป็นสังคมแบบ “กลุ่ม” ที่มีความซับซ้อนทั้งที่ดูจากภายนอก หรือแม้กระทั่งระบบความคิด ก็เป็นการยากเสียเหลือเกินสำหรับคนนอกอย่างเราที่จะเข้าใจพวกเขาได้อย่างลึกซึ้ง นอกจากคำว่า “กิริ” พันธกิจต่อส่วนรวม และ “นินโจ” พันธกิจของความเป็นมนุษย์ ตามที่ได้แนะนำให้เพื่อน ๆ รู้จักไปแล้ว ยังมีคำอีก... อ่านต่อ
“ตราประจำตระกูล” สิ่งเล็กน้อยแต่ยิ่งใหญ่ในสังคมญี่ปุ่น
เมื่อเรานึกถึงงานดีไซน์สัญลักษณ์ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เรามักจะมองเห็นความเรียบง่าย สะอาดสะอ้าน ไม่ซับซ้อน แต่แอบแฝงไว้ด้วยความหมายที่ลึกซึ้ง จนอดชื่นชมในความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นเจ้าแห่งรายละเอียดของชนชาตินี้ไม่ได้ โลโก้หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อยู่คู่กับสังคมญี่ปุ่นมาตั้งแต่โบร่ำโบราณ ในรูปแบบของตราประจำตระกูล หรือ “คะมน” (家紋) นับย้อนไปได้ตั้งแต่ก่อนสมัยเฮอัน... อ่านต่อ
12 มารยาทการลงแช่บ่อน้ำร้อนที่แม้แต่คนญี่ปุ่นก็ยังไม่ค่อยรู้
อากาศหนาวๆที่ประเทศญี่ปุ่นในตอนนี้ทำให้แม้แต่คนไทยที่ขี้อายก็อยากจะปลดผ้าลงแช่บ่อน้ำร้อนออนเซ็นอุ่นๆให้ร่างกายได้หายหนาว แน่นอนเนื่องจากที่ประเทศเราไม่มีวัฒนธรรมการอาบน้ำในที่อาบน้ำสาธารณะ ดังนั้นบางครั้งเราจึงอาจทำอะไรผิด หรือทำอะไรที่เสียมารยาทไปบ้างเนื่องจากความไม่รู้ แต่รู้หรือเปล่าว่าไม่ใช่แค่ชาวต่างชาติเท่านั้นหรอกค่ะที่ไม่รู้ธรรมเนียมมารยาทในการลงแช่บ่อน้ำร้อนที่ถูกต้อง 100% เพราะมารยาทบางอย่างแม้แต่คนญี่ปุ่นเขาก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกัน วันนี้เราเลยจะมาแนะนำเกี่ยวกับ 12 มารยาทการแช่ออนเซ็นที่แม้แต่คนญี่ปุ่นบางคนก็ยังต้องตกใจว่ามันมีแบบนี้ด้วยหรอ 1. ล้างตัวก่อนลงแช่บ่อน้ำร้อน ทุกครั้งก่อนที่จะลงแช่ในบ่อน้ำร้อนจะต้องล้างตัวด้วยน้ำอุ่นเสียก่อน หลายคนคิดว่าธรรมเนียมนี้มีขึ้นเพื่อการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากล่างกายก่อนที่จะลงแช่ในบ่อร่วมกับผู้อื่น แต่การล้างตัวด้วยน้ำร้อนก่อนลงแช่บ่อน้ำร้อนจริงๆ ยังเป็นการช่วยปรับอุณหภูมิร่างกาย ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกายอย่างเฉียบพลันด้วยนะคะ 2.... อ่านต่อ
เข้าใจคนญี่ปุ่นผ่านสำนึกสังคมแบบ “กลุ่ม” : กิริ และ นินโจ
สังคมญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นสังคมที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะสังคมเมืองที่มีความเร่งรีบ นำไปสู่การสะสมความเครียดของผู้คนในสังคมอย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่ความเครียดเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากจะมี และมันก็คงไม่ได้ผุดขึ้นมาในหัวอย่างไม่มีที่มาที่ไปแน่ ๆ ใช่ไหมครับ? แล้วเป็นเพราะอะไร หรือมีอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนญี่ปุ่นถึงเครียดได้ขนาดนั้น? ผมมีคำสำคัญ 2 คำในสังคมญี่ปุ่น มาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังครับ สังคมแบบกลุ่มของญี่ปุ่น สังคมญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นสังคมแบบ... อ่านต่อ