รวมบทความเกี่ยวกับวัฒนธรรม บุคคลสำคัญ ประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่น่าใจและน่าเรียนรู้
วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์
寿司・鮨・鮓 ต่างกันอย่างไรในซูชิทั้ง 3 คำ
ซูชิ อาหารที่ใคร ๆ ก็ต้องกินเมื่อได้ไปประเทศญี่ปุ่น แต่ร้านซูชิหลาย ๆ ร้านก็ใช้ตัวคันจิคำว่าซูชิต่างกัน บางร้านก็ใช้ 寿司 บางร้านก็ใช้ 鮨 ทั้งที่อ่านว่าซูชิเหมือนกัน แล้วมันต่างกันยังไงนะ ?? 寿司・鮨・鮓 คันจิซูชิที่เก่าแก่ที่สุดในทั้ง 3 คำก็คือ... อ่านต่อ
สังคม 5.0 ของญี่ปุ่น เตรียมรับวิกฤตประชากรเกิดน้อยและขาดแคลนแรงงาน
สำหรับประเทศไทยนั้นเราจะได้ยินคำว่า Thailand 4.0 กันบ่อย ๆ มาสักระยะหนึ่งแล้ว ในขณะที่ทางญี่ปุ่นก็กำลังวางแผนพัฒนาสังคมของตัวเองให้เข้าสู่ยุค 5.0 อยู่ ซึ่งล้ำหน้าไทยไปก้าวหนึ่ง วันนี้เลยจะมาชวนคุยเรื่องญี่ปุ่น 5.0 กัน Japan 5.0 เมื่อเทียบกับ Thailand 4.0... อ่านต่อ
จริงหรือไม่? ห้ามเดินเท้าเปล่าเข้าห้องเสื่อทาทามิ
เมื่อพูดถึงความเป็นญี่ปุ่นแล้วก็อาจนึกถึงเอกลักษณ์เฉพาะของคนญี่ปุ่นออกมาได้หลายอย่าง ซึ่งเราว่าเอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นอย่างหนึ่งที่น่ายกย่องมากๆ ก็คือเรื่องของมารยาทค่ะ และพอดีบังเอิญไปเห็นบทความหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับ “มารยาทในการใช้ห้องแบบญี่ปุ่น” มาด้วยจึงถือโอกาสหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาแชร์ให้ผู้อ่านทุกคนได้ทราบกันด้วยค่ะ คิดว่าบางคนคงจะเคยเห็นหรือรู้จักห้องแบบญี่ปุ่นที่ปูพื้นด้วยเสื่อทาทามิ (畳) กันมาบ้างใช่ไหมคะ โดยห้องสไตล์ญี่ปุ่นแบบนี้ เรียกกันว่า 和室 (washitsu) หรือ 日本間 (nihonma) ห้องแบบญี่ปุ่นนี้จะมีประตูหรือหน้าต่างไม้บานเลื่อนที่เรียกว่า 障子... อ่านต่อ
เสน่ห์ 5 ข้อที่พิสูจน์ว่าทำไม “เก็นจิโมโนกาตาริ” ถึงโด่งดังไปทั่วโลก
สำหรับผู้ที่ร่ำเรียนสายญี่ปุ่น หรือผู้ที่ชื่นชอบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อาจจะเคยได้ยินนวนิยายเรื่อง “เก็นจิโมโนกาตาริ” อยู่บ้าง แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก หรือเคยได้ยินแต่จำรายละเอียดไม่ค่อยได้แล้วก็ไม่เป็นไรค่ะ เพราะเดี๋ยวเราจะมาสรุปโครงเรื่องของเก็นจิโมโนกาตาริให้ได้ทราบกัน พร้อมกับบอกด้วยว่าทำไมนวนิยายรักแห่งประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเรื่องนี้จึงโด่งดังและเป็นที่รู้จักในระดับสากลมานานกว่า 800 ปี ทำความรู้จักกับ “เก็นจิโมโนกาตาริ” 源氏物語 หรือ Genji Monogatari ได้ชื่อว่านวนิยายเรื่องยาวที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นและของโลกอีกด้วย ถูกเขียนในช่วงต้นศตวรรษที่... อ่านต่อ
10 สัญลักษณ์ประจำชาติ ที่แฟนพันธุ์แท้ญี่ปุ่นควรรู้! (ตอนที่ 2)
มาต่อกันเลยค่ะจากบทความที่แล้ว “10 สัญลักษณ์ประจำชาติ ที่แฟนพันธุ์แท้ญี่ปุ่นควรรู้! (ตอนที่ 1)” อีก 5 อย่างก็น่าสนใจไม่แพ้กันเลยทีเดียว เชื้อราประจำชาติ เชื้อราประจำชาติเป็นเชื้อราที่เป็นตัวแทนของประเทศ เชื้อราประจำชาติของญี่ปุ่นคือโคจิ แต่ไม่ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ ได้รับเลือกโดยสมาคม Brewing Society of Japan... อ่านต่อ
10 สัญลักษณ์ประจำชาติ ที่แฟนพันธุ์แท้ญี่ปุ่นควรรู้! (ตอนที่ 1)
พูดถึงสัญลักษณ์ประจำชาติ หลาย ๆ คนคงจะทราบดีใช่ไหมคะว่าสัตว์ประจำชาติไทยคือช้าง ดอกไม้ประจำชาติไทยคือดอกราชพฤกษ์ สัญลักษณ์ประจำชาติเหล่านี้แสดงได้ถึงอัตลักษณ์ ตัวตน และถือเป็นตัวแทนของประเทศ โดยจะคัดเลือกจากสิ่งที่ผู้คนชื่นชอบและคุ้นเคย บางอย่างอาจถูกกำหนดอย่างเป็นทางการโดยกฎหมายหรือถูกกำหนดขึ้นเองโดยเอกชน แทรกซึมเข้าสู่สังคมและเป็นอันรับรู้โดยทั่วกันว่าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ นอกจากนี้ เนื่องจากไม่มีจำนวนที่กำหนดตายตัว สัญลักษณ์ประจำชาติหนึ่งประเภทจึงอาจมีมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น ฝรั่งเศสมีดอกไม้ประจำชาติ 3 ชนิดคือ... อ่านต่อ
ย้อนรอยประวัติศาสตร์โซเม็ง มีต้นกำเนิดจากขนมของจีน!?
โซเม็งเป็นหนึ่งในอาหารประเภทเส้นยอดฮิตของคนญี่ปุ่น นิยมทานแบบเย็นในฤดูร้อน วันนี้เราก็จะพาย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติคร่าว ๆ ของโซเม็งว่ามีความเป็นมาอย่างไร รวมทั้งความสนุกในฤดูร้อนอย่างนากาชิโซเม็งหรือโซเม็งสายน้ำ เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ไปดูกัน! ต้นกำเนิดของโซเม็ง ดูโพสต์นี้บน Instagram โพสต์ที่แชร์โดย 静[shizuka]おうちごはん◡̈︎ (@c_chan0118) โซเม็งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานย้อนหลังไปถึงสมัยนารา ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดมาจากขนม... อ่านต่อ
ที่มาของคำว่า 八百屋 (yaoya) ทำไมร้านขายผักถึงเรียกว่าร้านแปดร้อย ?
ร้านค้าขายผักและผลไม้จะมีคำเรียกที่ใช้กันทั่วไปว่า 八百屋 (yaoya) ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ร้านแปดร้อย แล้วทำไมร้านขายผักผลไม้ถึงได้ชื่อว่าร้านแปดร้อย ไปดูที่มาที่ไปของชื่อนี้และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำว่า 八百屋 กันดีกว่า ในสมัยก่อน ร้านขายผักผลไม้เรียกว่า 青物屋 (aomonoya) แปลว่า ร้านขายของสีฟ้า หลายคนน่าจะเคยทราบมาว่าในอดีตคนญี่ปุ่นจะมีวัฒนธรรมในการเรียกผักผลไม้ที่มีสีเขียวเป็นสีฟ้า อย่างเช่นผักฟ้า แอปเปิ้ลฟ้า... อ่านต่อ
รู้จักกับ “เทมาริ” ของเล่นสวยๆ งามๆ ของคนญี่ปุ่นสมัยก่อนกัน
ผู้อ่าน ANNGLE เคยเห็นลูกบอลกลม ๆ สีสวย ๆ แบบนี้ไหมคะ มองดูเหมือนเป็นแค่ของตกแต่งน่ารัก ๆ ใช่ไหมคะ แต่ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้ว สิ่งนี้เคยเป็นของเล่นของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อนด้วย มันมีที่มาอย่างไรไปทำความรู้จักกับเทมาริพร้อม ๆ กันค่ะ เทมาริ คืออะไร ?... อ่านต่อ
“โอบ้งเดือนกรกฎาคม” และ “โอบ้งเดือนสิงหาคม” ต่างกันยังไง?
“โอบ้ง” โดยทั่วไปหมายถึง ช่วงเวลาของการต้อนรับวิญญาณบรรพบุรุษและเป็นเทศกาลที่เราแสดงความกตัญญู หรือจัดงานรำลึกเพื่อส่งพวกเขาไปยังสวรรค์อีกครั้ง คงคล้ายๆ กับ เทศกาลสารทจีนหรือวันไหว้บรรพบุรุษที่คนไทยรู้จักกันดี เทศกาลโอบ้งจะจัดขึ้น 2 ช่วง ได้แก่ ในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคมตามลำดับ แต่เทศกาลโอบ้งที่จัดในเดือนสิงหาคมจะเรียกอีกชื่อว่า คิวบ้ง ซึ่งมีความหมายว่า เทศกาลโอบ้งตอนปลาย ตามปฏิทินที่ใช้กันมาตั้งแต่แต่โบราณ ช่วงเวลาโอบ้งคือวันที่... อ่านต่อ
ชวนดู 3 อันดับ! ทำไมหนุ่มสาวญี่ปุ่นไม่อยากเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงาน
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม Rise Square จัดทำผลสำรวจผู้ชายและผู้หญิง 500 คน เกี่ยวกับเหตุผลที่พวกเขาไม่ต้องการก้าวหน้าทางการงาน แบ่งออกเป็นผู้หญิง 283 คน และผู้ชาย 217 คน ที่ไม่ต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง แม้ว่าจะมีการแบ่งการสำรวจตามเพศ แต่เหตุผล... อ่านต่อ
ทำไมต้องรองซาชิมิด้วยหัวไชเท้าหั่นฝอย?
หัวไชเท้าฝอยอย่างสึมะ (つま) ที่ใช้รองประดับซาชิมิ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อะชิระอิ (あしらい) มีบทบาทที่หลากหลายและเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดึงเอาความอร่อยของซาชิมิออกมา มาดูกันว่าทำไม สึมะในซาชิมิคืออะไร? สึมะ หัวไชเท้าหั่นฝอยที่แต่เดิมเรียกว่า อะชิระอินั่น ถูกเสิร์ฟคู่กับซาชิมิมาอย่างช้านาน โดยเกิดจากวิวัฒนาการการรับประทานของคนญี่ปุ่นตั้งแต่กลางสมัยเอโดะ โดยคนส่วนใหญ่นิยมรับประทานซาชิมิกับโชยุ จึงเกิดการวางของตกแต่งเพิ่มรสชาติขึ้น มีทั้งหมด 3... อ่านต่อ
ทำไมอักษรจีนในภาษาญี่ปุ่นถึงใช้จีนตัวเต็ม (繁体字) ผสมกับจีนตัวย่อ (简体字) ?
ใครที่เรียนภาษาญี่ปุ่นคงทราบกันดีว่าภาษาญี่ปุ่นมีอักษร 3 แบบคือ ฮิระงะนะ (ひらがな), คะตะกะนะ (カタカナ) และ คันจิ (漢字) ซึ่งแม้จะยากเพียงใดก็คงไม่ใช่ปัญหามากนักสำหรับในระดับต้น ๆ แต่พอเรียนไปจนขึ้นถึงระดับสูงและเริ่มเจออักษรคันจิหลากหลายมากขึ้น หรือ ใครที่รู้ภาษาจีนกลางก่อนมาเรียนภาษาญี่ปุ่น หรือ ใครที่เรียนภาษาญี่ปุ่นก่อนแล้วค่อยไปเรียนภาษาจีนกลาง อาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ... อ่านต่อ
เปิดที่มาและความสำคัญของวันทานปลาไหลในฤดูร้อน
ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีจะมีวันที่ชาวญี่ปุ่นนิยมกินปลาไหลกันเป็นพิเศษ นั่นก็คือ 土用の丑の日 (doyou no ushi no hi) โดยคนไทยจะรู้จักกันในชื่อวันกินปลาไหล วันกินปลาไหลเป็นวันแบบไหน มีความน่าสนใจอย่างไร เราลองไปดูกันค่ะ แถมเขาว่ากันว่าปีนี้มีวันกินปลาไหล 2 ครั้งอีกด้วย! 土用の丑の日 คืออะไร ... อ่านต่อ
มารู้จัก “วันแตงโม” ทำไมถึงเป็นวันที่ 27 กรกฎาคม ?
ฤดูร้อนของญี่ปุ่น สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือแตงโมแช่เย็นฉ่ำ ๆ แสนชื่นใจ แต่ทุกคนทราบไหมคะว่าวันที่ 27 กรกฎาคมของทุกปีคือ “วันแตงโม” แต่ทำไมต้องเป็นวันที่ 27 กรกฎาคม เราไปดูที่มาของวันแตงโม รวมทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับผลไม้ชนิดนี้กันค่ะ ทำไมถึงเป็นวันที่ 27 กรกฎาคม ? วันแตงโมถูกกำหนดให้เป็นวันที่... อ่านต่อ