“อาคาเบะโกะ” น้องตุ๊กตาหุ่นวัวแดง เครื่องรางป้องกันโรคสุดฮิตจากจังหวัดฟุกุชิมะ

อย่างที่ทุกคนทราบว่า ปี 2021 หรือ ปีเรวะที่ 3 นี้ เป็นปีนักษัตรฉลู ทำให้ “อาคาเบะโคะ” ตุ๊กตาหุ่นวัวแดงจากจังหวัดฟุกุชิมะกลายมาเป็นไอเท็มสุดฮิตตั้งแต่ต้นปีเลยทีเดียว ส่วนเหตุผลจะเป็นเพราะอะไรนั้น บทความนี้จะมีเฉลยให้ได้อ่านกัน…

“อาคาเบะโกะ” นั้นคือวัวแเดง

ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า อาคะ (赤) แปลว่า สีแดง ส่วนคำว่า เบะโกะ (べこ) เป็นคำในภาษาถิ่นโทโฮคุ แปลว่า วัว เมื่อรวมกันจึงเป็นคำว่า อาคะเบะโกะ (赤べこ) ที่แปลว่า วัวแดง อาคาเบะโกะเป็นตุ๊กตาหุ่นวัวแดงที่คนญี่ปุ่นเองรู้จักอยู่แล้ว แต่การที่เจ้าอาคะเบะโกะกลับมาโด่งดังอีกครั้งก็มาจากความเชื่อที่ว่า เจ้าอาคาเบะโกะสีแดงเข้มตัวนี้เป็นเครื่องรางที่มีพลานุภาพในการปกป้องคุ้มครองภัยจากโรคระบาด

 

View this post on Instagram

 

A post shared by Kaori Matsusaka (@km_snap)

แรกเริ่มเดิมทีอาคะเบะโกะเป็นสัญลักษณ์ของความภักดีต่อพระเจ้า

ตามความเชื่อที่เล่าต่อกันมาของชาวบ้านแถบจังหวัดฟุกุชิมะ ว่ากันว่าบ้านเกิดของเจ้าอาคะเบะโกะอยู่ที่วัดเอ็นโซจิใกล้กับแม่น้ำทาดามิ ในเมืองยานาอิซึ จังหวัดฟุกุชิมะ โดยมีเรื่องเล่าจากนิทานปรัมปราของชาวพื้นบ้านว่า เดิมทีวัวแดงเป็นสัญลักษณ์ของความภักดีต่อพระเจ้าเนื่องจากในยุคเฮอัน ราวๆ ปีค.ศ. 807 มีการสร้างวิหารหลังใหม่ของวัดเอ็นโซจิ ในระหว่างการขนไม้เพื่อทำการก่อสร้างจนกระทั่งสร้างวัดเสร็จนั้น ชาวบ้านได้ใช้วัวจำนวนหนึ่งมาช่วยขนไม้ แต่ทว่าเมื่อภารกิจขนไม้เสร็จสิ้นแล้วนั้น ในค่ำคืนหนึ่งก่อนที่วิหารหลังใหม่จะสร้างเสร็จ วัวทั้งหลายต่างพร้อมใจกันยืนแข็งตาย โดยเรียงลำตัวหันขวา ในพิธีทำบุญส่งวิญญาณให้แก่เจ้าวัวแดง ชาวบ้านได้ร่วมกันทำทำตุ๊กตาหุ่นวัวแดงให้เป็นที่รำลึกถึงวัวเหล่านี้ ซึ่งชาวบ้านได้ขนานนามว่า “อาคะเบะโกะ” ในเวลาต่อมา และทำให้อาคะเบะโกะกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีของเทพเจ้านับแต่นั้น

 

View this post on Instagram

 

A post shared by 飯盛 尚子 (@naoko_iimori)

เมื่ออาคะเบะโกะกลายเป็นเครื่องรางแห่งการป้องกันโรคภัย

ตุ๊กตาหุ่นวัวแดงอาคาเบะโกะนั้นเปรียบเสมือนเครื่องรางชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่าหากเด็กคนไหนมีอาคะเบะโกะจะทำให้ไม่เจ็บป่วยง่าย ครั้งหนึ่งในยุคเอโดะได้เกิดการแพร่ระบาดของไข้ทรพิษครั้งใหญ่ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดท้อง และอาเจียน เมื่อไข้ลด จะมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นตามตัวและยังคงทิ้งรอยแผลเป็นไว้ตามผิวหนังแม้จะรักษาหายแล้ว ในสมัยนั้นเป็นโรคที่พบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ติดต่อได้ง่าย และยังมีอัตราการเสียชีวิตสูง

ด้วยความห่วงใยลูกหลาน บรรพชนสมัยเอโดะจึงได้นำหุ่นปั้นวัวแดงมาเป็นของเล่นให้เด็กๆ โดยหวังว่าจะช่วยให้เด็กเหล่านั้นรอดพ้นจากการติดเชื้อของโรคระบาดได้ ทำให้เป็นที่นิยมให้เด็กๆ พกติดตัว ซึ่งปรากฏว่าพวกเด็กๆ ที่พกตุ๊กตาหุ่นวัวแดงไม่มีใครเสียชีวิตจากการเป็นโรคระบาดเลย เจ้าอาคะเบะโกะก็เลยกลายเป็นเครื่องรางที่ได้รับความนิยมตามความเชื่อที่สืบต่อกันมาตั้งแต่นั้น

อีกเรื่องเล่าหนึ่งเกี่ยวกับตำนานเทพเจ้าโฮโซ ซามะ ที่มีรูปร่างคล้ายปีศาจวัวแดง ซึ่งคอยปัดเป่ารักษาและดูดซับพิษไข้แทนผู้ติดเชื้อจากโรคติดต่อ ด้วยวิธีการรักษาโดยดูดซับพิษบาดแผลไข้มาไว้ที่ตัวเอง ทำให้กลายเป็นจุดด่างดำอยู่ตามผิวหนัง และนั่นจึงเป็นที่มาของจุดสีดำที่ลำตัวของเจ้าอาคะเบะโกะ เพื่อสื่อถึงความเชื่อที่ว่าเทพเจ้านั้นยอมเจ็บป่วยแทนผู้ครอบครองนั่นเอง

เรื่องราวที่เล่ามาทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมของเล่นของฝากที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดฟุกุชิมะอย่างเจ้าหุ่นวัวแดงอาคะเบะโกะถึงกลายมาเป็นไอเท็มสุดฮิต ถ้าหากใครได้มีโอกาสไปเยือนฟุกุชิมะหลังสถานการณ์โรคระบาดเริ่มคลี่คลาย ก็อย่าลืมซื้อหาเจ้าอาคะเบะโกะมาเป็นของขวัญของฝากแทนความห่วงใย เสมือนเป็นเครื่องรางที่ปกป้องคุ้มภัยในยุคโควิด-19 ให้กับคนที่เรารักกันด้วยกันด้วยนะ

สรุปเนื้อหาจาก: tabizine

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save