อย่างที่ทราบกันว่าข้าวญี่ปุ่นมีหลากหลายชนิด เช่น โคชิฮิคาริ (コシヒカリ) หรือ อาคิตะโคะมะจิ (あきたこまち) แต่ทุกคนทราบมั้ยคะว่าชื่อชนิดของข้าวญี่ปุ่นนั่นมีความลับซ่อนอยู่! จะเป็นอะไรมาดูกันเลย!
ความลับในตัวอักษร!
อักษรในภาษาญี่ปุ่นมีทั้งหมด 3 ประเภทได้แก่ ฮิรางานะ (ひらがなや) คาตาคานะ (カタカナ) และคันจิ (漢字) อักษรแต่ละประเภทก็จะมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากด้านภาษาแล้ว ตัวอักษรเหล่านี้ยังเป็นตัวบ่งชี้ผู้พัฒนาปรับปรุงข้าวญี่ปุ่นได้อีกด้วย! ข้าวที่วางขายทั่วไปในญี่ปุ่นล้วนแล้วแต่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่เพาะปลูกแล้วทั้งสิ้น โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้ริเริ่มการปรับปรุงพันธุ์ข้าวอย่างจริงจังตั้งแต่สมัยเมจิ พันธุ์ข้าวที่เกิดใหม่ในช่วงเวลานั้นจะถูกตั้งชื่อว่า “โนริน” (農林) ตามด้วยเบอร์เรียงไปตามลำดับ เช่น โนรินเบอร์ 1 (農林1号), โนรินเบอร์ 2 (農林2号) ตามลำดับ ต่อมาข้าวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเยอะมาก จึงกำหนดให้พันธุ์ข้าวตั้งแต่โนรินเบอร์ 52 เป็นต้นไป สามารถตั้งชื่อเป็นตัวอักษรคาตาคานะได้ไม่เกิน 6 ตัว
栃木の血を持つ人間としては見逃せないお米🌾
パッケージも名前も可愛いし、特徴調べたらすごく美味しそうな感じ。
早く食べたいですなぁ🤤 pic.twitter.com/eU2HYZCILR— 紀之介🍭 (@dill89kino) May 10, 2022
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ละจังหวัดก็เริ่มปรับปรุงพันธุ์ข้าวของตนเอง ดังนั้นเพื่อแยกความแตกต่างของผู้พัฒนาพันธุ์ข้าว จึงกำหนดให้ใช้อักษรคาตาคานะสำหรับสายพันธุ์ที่ปรับปรุงโดยรัฐบาล และให้ใช้อักษรฮิรางานะหรืออักษรคันจิสำหรับข้าวที่ปรับปรุงโดยองค์กรส่วนจังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 รัฐก็อนุญาตให้ตั้งชื่อพันธุ์ข้าวได้อย่างเสรี ทำให้พันธุ์ใหม่ๆ หลังปี พ.ศ.2534 มีชื่อที่แสดงถึงลักษณะของพื้นที่และพันธุ์ที่เพาะปลูกได้อย่างชัดเจนขึ้น ช่วยให้ผู้บริโภคจดจำได้ง่ายขึ้น
栃木の血を持つ人間としては見逃せないお米🌾
パッケージも名前も可愛いし、特徴調べたらすごく美味しそうな感じ。
早く食べたいですなぁ🤤 pic.twitter.com/eU2HYZCILR— 紀之介🍭 (@dill89kino) May 10, 2022
ตัวอักษรญี่ปุ่นนอกจากฟังค์ชั่นด้านภาษาแล้ว ยังสามารถนำมาแบ่งแยกผู้พัฒนาพันธุ์ข้าวได้อีกด้วย! ส่วนตัวก็พึ่งรู้เหมือนกันค่ะ เป็นความรู้ใหม่มากๆ ถ้าใครเจอข้าวญี่ปุ่นก็ลองสังเกตที่ตัวอักษรที่ใช้เขียนบนถุงดูนะคะ ว่าเป็นอักษรประเภทไหน เพียงเท่านี้เราก็พอที่จะเดาได้แล้วว่าเป็นข้าวที่พัฒนามาจากองค์กรใด
สรุปเนื้อหาจาก mag.japaaan