“อิตาดาคิมัส” และ “โกะจิโซซามะ” วลีง่ายๆ ที่ช่วยให้จิตใจอ่อนโยนได้ใน 3 วินาที

การดำเนินชีวิตอย่างอ่อนโยนทำให้บุคคลมีความสุขที่เรียบง่าย มีจิตใจดี และมีความปราารถนาดีต่อผู้อื่น ทำให้คนที่อยู่ใกล้ชิดอยู่ด้วยอย่างสบายใจ มารู้วิธีการสร้างนิสัยเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างอ่อนโยนแบบง่ายๆ จากอาจารย์สอนมารยาทชาวญี่ปุ่น คุณ Keiko Hayashi ด้วยการพูด 2 วลี ที่ใช้เวลาแค่ 3 วินาทีในทุกๆ วันกันค่ะ

วิธีการดำเนินชิวิตอย่างอ่อนโยนด้วยคำพูด “อิตาดาคิมัส” และ “โกะจิโซซามะ”

โดยปกติคนญี่ปุ่นจะพูดคำว่า อิตาดาคิมัส (いただきます)” ก่อนรับประทานซึ่งแปลง่ายๆ ว่าขอทานนะคะ/ครับ และจะพูดคำว่า โกะจิโซซามะ (ごちそうさま)” หลังจากที่รับประทานอาหารอิ่มแล้วซึ่งมีความหมายเพื่อขอบคุณผู้เตรียมอาหารที่ทำอาหารให้รับประทานจนอิ่ม

อิตาดาคิมัส เป็นคำพูดเพื่อแสดงความขอบคุณต่อสิ่งสำคัญสองประการ ประการแรกคือ ขอบคุณสำหรับชีวิตของสัตว์ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น ปู ปลา หอย กุ้ง และผักผลไม้ต่างๆ ที่อุทิศชีวิตให้เรารับประทานและมีชีวิตอยู่ได้ และประการที่สองคือ ขอบคุณสำหรับผู้มีส่วนร่วมในการสร้างอาหารในแต่ละมื้อ ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกผัก  ชาวประมง ผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้ปรุงอาหาร ที่ทำให้เรามีโอกาสได้รับประทานอาหารอร่อย

อีกหนึ่งคำสำคัญคือ โกะจิโซซามะ สะกดด้วยคันจิจะได้ว่า “御馳走様” ซึ่งมีคําว่า“จิโซ (馳走)” ที่มีความหมายถึงสภาพการวิ่งวุ่น เพื่อให้ได้ส่วนผสมมาปรุงอาหารในยุคที่ยังไม่มีรถยนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตู้เย็น และคำว่า “ซามะ ()” ซึ่งคือผู้วิ่งวุ่นจัดหา วลีนี้เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปลายยุคเอโดะเพื่อเป็นการกล่าวขอบคุณต่อผู้คนที่วิ่งวุ่นจัดเตรียมมื้ออาหารให้แก่เรา

ความสำคัญของการกล่าวคำว่า “อิตาดาคิมัส” และ “โกะจิโซซามะ”

ขอบคุณ

คนต่างชาติกล่าวขอบคุณต่อบุคคลหรือพระเจ้า แต่คนญี่ปุ่นจะกล่าวขอบคุณทั้งคน สัตว์ และพืชผัก วันละสามครั้ง รวมเวลาการกล่าว 2 วลี ประมาณ 3 วินาที ซึ่งเป็นการแสดงความกตเวทีที่หล่อเลี้ยงคนในสังคมให้คิดดีและเกื้อกูลกัน การกล่าวคำดังกล่าวไม่เพียงแต่ต่อหน้าผู้อื่น แต่ควรกล่าวเสมอแม้จะอยู่เพียงลำพัง หรือในช่วงเวลาที่รีบเร่ง  หรือเพียงแค่รับประทานเพียงขนมปังชิ้นเดียว

สังคมญี่ปุ่นกับนิสัยกตัญญูกตเวที

คนญี่ปุ่นสอนลูกหลานตั้งแต่เกิดให้รู้จักกล่าววลี อิตาดาคิมัสและโกะจิโซซามะ และกล่าวคำขอบคุณเมื่อผู้อื่นทำสิ่งดีๆ ให้ รวมถึงการมีธรรมเนียมปฏิบัติที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อสิ่งของ ธรรมชาติ และเทพเจ้า เช่น การมีวันหยุดประจำชาติเพื่อระลึกและขอบคุณทะเลและภูเขา การมีเทศกาลแห่เกี้ยวเพื่อขอบคุณพระเจ้าที่ดลบันดาลให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่สมบูรณ์ และพิธีขอบคุณเข็มเย็บผ้าหรือฮาริคุโย ซึ่งเป็นพิธีกรรมการนำเข็มเย็บผ้าที่ผ่านการใช้งานจนหักหรือชำรุดไปปักบนวัตถุอ่อนนุ่ม เช่น เต้าหู้หรือก้อนบุก เพื่อแสดงความขอบคุณต่อเข็มเย็บผ้าที่ทำงานหนักและสมควรจะได้รับการพักผ่อนบนวัตถุที่นุ่มสบาย

การนึกขอบคุณและความกตัญญูกตเวทีเป็นนิสัยพื้นฐานที่ทำให้คนเห็นคุณค่าของสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้คนรอบตัว ทำให้จิตใจอ่อนโยนมีเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น บ้านเราอาจไม่ถนัดการกล่าว 2 คำดังกล่าว ก็แค่นึกขอบคุณก่อนรับประทานและหลังรับประทานอาหาร หรือกล่าวขอบคุณเสียงดังฟังชัดต่อผู้ปรุงอาหารให้เรา เพราะคำขอบคุณเป็นคำง่ายๆ ที่ทำให้คนฟังมีกำลังใจในการจัดหาวัตถุดิบและปรุงอาหารอร่อยให้เรารับประทานด้วยใจที่เป็นสุขค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก asajikan

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save