สิ่งที่ลูกน้องคนไทยคาดหวังต่อนายญี่ปุ่นที่มาประจำในไทย

ในการทำงานกับต่างชาติย่อมต้องมีปัญหาเรื่องสื่อสารที่ทำให้ไม่เข้าใจกันและทำงานได้ไม่ราบรื่นกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ โดยเฉพาะการทำงานกับญี่ปุ่นที่นอกจากปัญหาเรื่องภาษาที่ใช้สื่อสารแล้วยังต้องมีปัญหาเรื่องวัฒนธรรม ความคิด ทัศนคติที่แตกต่างกันอีก ซึ่งคราวนี้จะขอนำเรื่องราวจากมุมมองของสาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย มีประสบการณ์คลุกคลีกับพนักงานคนไทยและนายญี่ปุ่น เธอต้องการสื่อให้คนญี่ปุ่นด้วยกันทราบถึงความคิดของพนักงานชาวไทยที่มีต่อนายญี่ปุ่น ลองไปดูกันว่าจะตรงใจเราๆคนไทยที่มีประสบการณ์ทำงานกับนายญี่ปุ่นมากน้อยแค่ไหน พร้อมแล้วเชิญอ่านบรรทัดต่อไปเลยจ้า

พวกเราไม่ใช่แผนกช่วยเหลือจิปาถะนะ

วันก่อนผู้ร่วมงาน(พนักงานหญิงชาวไทย) พูดกับฉันว่า.. “คุณ A (ผู้จัดการญี่ปุ่นประจำในไทย) น่ะไม่ยอมเข้าใจหน้าที่ของพนักงานไทยสักที ไม่รู้ว่าไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ หรือไม่อยากจะพยายามเข้าใจกันแน่! อยากให้เลิกทำแบบนี้ได้แล้ว”

เธอคนนี้เป็นพนักงานที่มีความสามารถมาก มีอายุงานยาวนานอยู่กับบริษัทมาหลายปีทำให้เข้าใจสภาพต่างๆของบริษัทเป็นอย่างดี ตำแหน่งงานของเธอเป็นเครื่องพิสูจน์ความไว้วางใจของผู้บริหารรุ่นก่อนๆ แต่แล้วทำไมถึงมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ล่ะ?

bu-1

ที่นี่คือไทยไม่ใช่ญี่ปุ่น

ที่นี่คือประเทศไทย การนำวิธีปฏิบัติสไตล์ญี่ปุ่นจ๋าเข้ามาใช้ใช่ว่าจะเวิร์คเสมอไป องค์กรในไทยหรือประเทศอื่นๆจะต่างจากญี่ปุ่นตรงที่ส่วนใหญ่จะแบ่งพนักงานตามความสามารถในการทำงาน ดังนั้นพนักงานแต่ละคนจะมีความภูมิใจในบทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นมืออาชีพในสายงานนั้นๆ หน้าที่ของพนักงานคนไทยคือเข้าใจกฎหมายไทยและรู้ว่าควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานราชการต่างๆ ทำอย่างไรให้สื่อสารได้อย่างราบรื่นและใกล้ชิดกับลูกค้าคนไทยเพื่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท

เพราะเป็นผู้นำจึงควรจำชื่อให้ได้ด้วย

บทบาทหน้าที่ที่พนักงานญี่ปุ่นถูกคาดหวังจากบริษัทแม่คืออะไรกัน? อย่างน้อยที่สุดเท่าที่ฉันเคยมีประสบการณ์มาก็คือ บริษัทแม่มักคาดหวังให้ตัวแทนญี่ปุ่นในไทยเป็นผู้ชักนำองค์กร รับผิดชอบและเป็นสื่อกลางระหว่างญี่ปุ่นและไทย

ฉันคิดว่า หน้าที่ของผู้นำญี่ปุ่นคือจะต้องคอยสนับสนุนให้กำลังใจพนักงานคนไทยที่อาจจะโฟกัสเฉพาะงานตรงหน้าและเผลอลืมมุมมองในระยะยาว พยายามให้การอบรบโดยเน้นการมองการณ์ไกล วางรากฐานรูปแบบธุรกิจในแบบที่ผู้บริหารระดับสูงและบริษัทแม่คาดหวัง

แม้ว่าจะเป็นบุคคลที่บริษัทแม่ส่งให้มาอยู่ในไทยใน “ระยะทดลองงาน” ก็ตาม แต่ตำแหน่งงานเมื่อเทียบกับพนักงานประจำในไทยแล้วก็ยังสูงกว่าอยู่ดี ดังนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะถูกคาดหวังในเรื่องของการทำงานและความรับผิดชอบ นอกจากนี้ จะต้องพยายามเป็นผู้ให้กำลังใจที่ดีกับทีม สร้างแรงผลักดันที่ดีในฐานะที่เป็นผู้นำทีมอีกด้วย

bu-3

ในบางครั้งก็เคยได้ยินมาว่า “ที่ญี่ปุ่นเป็นผู้นำทีมที่มีด้วยกันแค่ 6 คน แต่พอมาไทยมีลูกน้องเพิ่มมาเป็น 40 คน ไม่รู้จะทำอย่างไรดี” น่าจะมีนายญี่ปุ่นหลายคนเลยทีเดียวที่กลุ้มใจเพราะอยู่ๆก็มีลูกน้องเพิ่มมาเยอะแยะและไม่รู้ว่าจะนำทีมแบบไหนดี

มีคนรู้จักฉันคนนึง เขาบอกว่า “เป็นไปไม่ได้ที่จะไปคอนโทรลพนักงานทุกคน” เขาจึง “แบ่งทีมออกโดยให้มี key person เป็นผู้นำ” “จำชื่อพนักงานทุกคน” “เมื่อพนักงานนำเอกสารมาให้เซ็นก็ไม่เซ็นแบบเงียบๆ แต่พยายามพูดคุยบ้างคำสองคำ” แต่ฉันก็เข้าใจนะว่าแค่การจำชื่อจริงคนไทยที่ยาวๆกับชื่อเล่นนั้นเป็นเรื่องที่หนักหน่วงอยู่ทีเดียว

ถ้าไม่คุยก็ไม่รู้

จะทำอย่างไรให้สามารถสื่อสารกับพนักงานให้ได้อย่างราบรื่นและเป็นไปด้วยดี? การเรียนภาษานั่นละคือเครื่องมือ

การรวมกลุ่มอยู่กันแต่กับคนญี่ปุ่นด้วยกัน พูดแต่ภาษาญี่ปุ่น ทำให้โอกาสในการสื่อสารโดยตรงกับคนไทยลดลง ผลที่ตามมาก็คือ พอรู้ตัวอีกทีทีมเริ่มแตกแยกไม่มีใครอยากทำงาน พอถึงขั้นนั้นแล้วก็คงเป็นเรื่องที่ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว แต่การที่จะต้องรับผิดชอบทำงานกับทีมแบบที่กล่าวมาข้างต้นก็คงไม่สนุก ว่าไหมละ? อุตส่าห์มีโอกาสได้มาใช้ชีวิตในไทยแล้ว อยากให้คิดว่าที่นี่เป็นที่สำหรับการนำทฤษฎีบริหารมาปฏิบัติใช้ พยายามเรียนรู้ภาษาไทย อ่านข่าวสารเกี่ยวกับเมืองไทยเพื่อช่วยให้เข้าใจความคิดของพนักงาน

ไหนๆก็ไหนๆแล้วทำงานให้สนุกน่าจะดีกว่า เพราะถ้าหากพูดได้เต็มปากอย่างมั่นใจว่า “ผมทำงานเพื่อพวกคุณนะ!” ก็น่าจะดูเท่ห์ไม่น้อย ลูกน้องคนไทยเค้ามองคุณเป็นตัวอย่างมากกว่าที่คุณคิดด้วยซ้ำ

การปรับเข้าหากันเท่านั้นคือกุญแจ

บทความข้างต้นเป็นบทความแปลมาจากบทความ anngle ฉบับภาษาญี่ปุ่น ที่เขียนโดยคนญี่ปุ่นที่ปัจจุบันก็ยังทำงานในไทย มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับพนักงานคนไทยและนายญี่ปุ่นค่ะ เรียกได้ว่ามุมมองของเธอน่าสนใจมาก ว่าไหมคะ การทำงานร่วมกันกับคนญี่ปุ่นหรือคนชาติใดๆก็แล้วแต่ ที่มีภาษาต่างกัน พื้นฐานทางความคิดและวัฒธรรมต่างกัน ให้ราบรื่นนั้น ผู้เขียนคิดว่า ต่างฝ่ายต่างต้องพยายามปรับเข้าหากัน ไม่ปฏิเสธความคิดของกันและกัน และเป็นคนที่มีความคิดยืดหยุ่น ไม่ยึดติด แล้วผู้อ่านคิดว่าอย่างไรบ้างคะ^^

ที่มา : anngle

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save