ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 หรือโคโรนาไวรัสค่อนข้างมาก แม้จะเป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์ของการใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเป็นเรื่องปกติ แต่ยอดผู้ติดเชื้อก็ยังมีรายงานออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง
แต่ว่ากันว่าเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ญี่ปุ่นก็เคยเผชิญสถานการณ์โรคระบาดที่คล้ายคลึงกับปัจจุบันมาแล้ว โรคระบาดในตอนนั้นมีชื่อเรียกว่า “ไข้หวัดสเปน” (スペインかぜ) หรือ ไข้หวัดที่เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซ่าชนิดเอ (インフルエンザA型)
ไข้หวัดชนิดนี้พบในผู้ป่วยครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1918 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการแพร่กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งพบผู้ป่วยคนแรกที่ญี่ปุ่นเพียง 5 เดือนหลังจากการระบาดครั้งแรก โดยว่ากันว่าติดต่อผ่านทหารในกองทัพที่เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นนั่นเอง
コロナ禍を後世に伝えるにあたって「象徴的な写真」が1枚必要になるだろうけど、どれになるんだろう。スペイン風邪と言えばこれだが pic.twitter.com/0bf3vdXp0w
— 柞刈湯葉(いすかり・ゆば) (@yubais) October 28, 2020
เมื่อ 100 ปีก่อนก็มีการรณรงค์ให้ใส่แมสก์
ในช่วงปี 1918 ซึ่งอยู่ในยุคไทโช (ยุคสมัยปี 1912 – 1926) ยังไม่สามารถประชาสัมพันธ์ในวงกว้างผ่านโทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ตได้เหมือนอย่างในปัจจุบัน ทางการญี่ปุ่นจึงใช้วิธีการรณรงค์และสื่อสารผ่านภาพโปสเตอร์แทน โดยคำโฆษณาที่ใช้ก็มีหลากหลาย เช่น “ไม่กลัวตายก็อย่าใส่แมสก์!” (マスクをかけぬ命知らず!) “มาบ้วนปากทั้งเช้าเย็นกัน!” (うがいせよ!朝な夕なに) “อย่าไปในที่มีคนพลุกพล่านแออัด” (人の多いところには行かない) เป็นต้น
世界人口の約1/4が感染したスペインかぜ。日本は100年前のスペインかぜからマスクが定着してたってスゲェな😷
当時の日本政府の通達・他人とは1m距離を置く
・大規模な集会は避ける
・電車やバスに乗る際はマスクを着用する
・マスクがなければハンカチで口と鼻を覆うhttps://t.co/mulHPsKSLD pic.twitter.com/84PovvdzQv— 裏砂糖@Ura Sato (@Sugar_uraKing) March 31, 2020
当時からマスクしていたのだなぁ!?
”マスクを着用する日本の女性たち(1919年、東京)“ pic.twitter.com/gLhqCq4Z53
— みちばな (@mswar777) January 6, 2021
แม้ว่าจะมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ยอดผู้ติดเชื้อจากการระบาดครั้งนั้นก็ค่อนข้างสูง ในช่วงที่ไข้หวัดสเปนระบาดหนักในปีค.ศ. 1918-1920 คาดว่าที่ญี่ปุ่นมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 23 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตเกือบ 4 แสนคนเลยทีเดียว ซึ่งการระบาดส่วนมากจะกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรหนาแน่น (คล้ายกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน) หนังสือพิมพ์สมัยนั้นรายงานว่ามีการลำเลียงศพผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดจากตัวเมืองออกสู่พื้นที่ชนบท ทำให้การจัดการร่างของผู้เสียชีวิตเหล่านั้นกลายเป็นปัญหาใหญ่ของญี่ปุ่นในตอนนั้นเลยทีเดียว
ประวัติศาสตร์ที่แทบจะซ้ำรอย
ในเดือนพฤศจิกายนปีค.ศ. 1918 คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์โยโกฮาม่าโบเอคิชินโป (横浜貿易新報) ได้วิพากย์วิจารณ์มาตรการของรัฐ ที่ไม่ได้ประกาศให้ปิดสถานที่ชุมชนที่มีคนพลุกพล่านอย่างร้านค้า โรงเรียน และสถานบันเทิงต่างๆ ผู้คนยังคงใช้ชีวิตกันเกือบจะปกติ เรียกได้ว่าแทบจะเป็นสถานการณ์ที่คล้ายกับญี่ปุ่นในช่วงที่เผชิญกับโควิด-19 ในตอนนี้อย่างมาก
100年前も無駄なことを。
伝染病だとされて世界中がマスクをつけた。
[1919年のスペイン風邪予防心得] o人ごみに出ない
oうがいの励行
oマスク着用
o身体弱者は特に注意
o休校
o集会、興行、巡業など中止これらが全て無駄でした。主な原因はアスピリンの過剰投与(現在の許容量の2~8倍)による薬害。 pic.twitter.com/Hb2gWh2zUR
— びんぼ♬ (@binbou415) September 17, 2020
ด้วยสถานกาณ์ตอนนี้ ชาวญี่ปุ่นและคนไทยอย่างพวกเราคงเองต้องใช้ชีวิตอยู่กับการระบาดของโรคใหม่นี้ไปอีกซักระยะ แม้ว่าจะมีข่าวดีเรื่องวัคซีนมาบ้างแล้ว แต่กว่าจะสามารถกระจายวัคซีนให้คนส่วนมากได้ก็คงต้องใช้เวลาอีกเป็นปี อีกทั้งไม่มีใครเดาได้ว่าเจ้าเชื้อตัวนี้จะเกิดการกลายพันธุ์อีกแค่ไหนและเมื่อไหร่
อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าทุกอย่างมีความไม่แน่นอนโดยเฉพาะเรื่องโรคภัย เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้คนทั้งโลกเมื่อ 100 ปีก่อนกลับมาเกิดซ้ำอีกครั้ง (กับไวรัสตัวใหม่) ใครจะรู้ล่ะว่าเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้จะกลับมาซ้ำรอยอีกครั้งในอีกกี่ปีข้างหน้า สิ่งที่พวกเราทำได้ก็มีแต่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างให้ดีที่สุดเท่านั้น
สรุปเนื้อหาจาก: Japaaan magazine
ผู้เขียน: MIZUNOHANA