ผู้เขียนเคยนำเสนอบทความเกี่ยวกับการจัดอันดับตัวละครโปรดจากการ์ตูนที่ฮิตติดลมบนที่ญี่ปุ่น อย่างเรื่อง “โตเกียวรีเวนเจอร์ส” หรือ Tokyo Revengers (東京リベンジャーズ) ไปแล้วก่อนหน้านี้
มังงะที่เขียนโดยอาจารย์วาคุอิ เคน (和久井健) เรื่องนี้เริ่มตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ที่ญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2017 และโด่งดังถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะและภาพยนตร์แบบคนแสดง ล่าสุด Tokyo Revengers มียอดขายมังงะเพิ่มขึ้นจาก 7 ล้านเล่มช่วงต้นปี 2021 กลายเป็นประมาณ 32 ล้านเล่มในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2021)
ด้วยกระแสของการ์ตูนเรื่องนี้ ทำให้คนเริ่มหันมาพูดถึงการ์ตูนแนวแยงกี้กันมากขึ้น แม้ว่าวัฒนธรรมแยงกี้จะเริ่มห่างหายจากสังคมญี่ปุ่นไปพอสมควรแล้วก็ตาม
วัฒนธรรมแยงกี้ของญี่ปุ่น
คำว่า “แยงกี้” หรือ Yankee (ヤンキー) เป็นคำที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงสงคราวกลางเมือง (ประมาณปีค.ศ. 1861 – 1865) ซึ่งเป็นศัพท์สแลงที่ประเทศอื่นๆ ใช้เรียกชาวอเมริกันในความหมายเชิงเหยียดเล็กๆ
แต่ในญี่ปุ่นใช้คำนี้ในความหมายที่แตกต่างออกไป ว่ากันว่าวัฒนธรรมแยงกี้ในญี่ปุ่นเกิดขึ้นหลังจากช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ประมาณปี 1960’s ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเมืองในญี่ปุ่นมีความวุ่นวายและบอบช้ำหนักจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม
คำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ยอมรับการกระทำของผู้ใหญ่และกฎของสังคม โดยต้องการสร้างเอกลักษณ์และกฎของตัวเองขึ้นมา
กลุ่มวัยรุ่นเหล่านี้จะมีการแต่งกายและทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้ชายมักไว้ผมทรงรีเจนท์ (Regent) ซึ่งได้อิทธิพลมาจากราชาเพลงร็อคแอนด์โรลอย่างเอลวิส เพรสลีย์ (Elvis Presley) และมักชอบใช้ชีวิตบนความเสี่ยงและมีการตั้งแก๊งต่อยตีกับคู่อริฝ่ายอื่นเสมอเพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่งของฝ่ายตน
Valentine Live
ありがとうございました🍫✨今日はゆたかくんの短ランを借りて
ヤンキースタイル‼️‼️チョコも全部合わしたら800個近くも頂けて、まさかの〝モテ男No.1〟の称号も頂けました😂✨
そして何よりメロフロートとの
同時リリース&ツアーが決定!
明日17時チケット是非getヨロシクです👏 pic.twitter.com/uWxt7crUv7— RYOHEY(SUNLITE) (Mokken Z a.k.a木造建築) (@ryoheysl) February 14, 2020
View this post on Instagram
แม้ว่าจะมีช่วงที่กระแสแยงกี้จะแผ่วลงไปบ้าง แต่ในช่วงประมาณปี 1980’s ที่เกิดฟองสบู่แตกและเศรษฐกิจกำลังย่ำแย่ เหล่าแยงกี้ก็กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง โดยสามารถพบเห็นแก๊งแยงกี้แต่งตัวด้วยชุดประจำแก๊ง ที่มักเป็นเสื้อกับกางเกงหรือกระโปรงตัวทรงหลวมๆ พร้อมเสื้อคลุมยาวที่ปักชื่อและคติของแก๊งไว้ ซิ่งมอเตอร์ไซค์พร้อมโบกธงไปตามท้องถนน
โดยยุครุ่งเรืองของแยงกี้คือประมาณช่วงปลายยุค 1980’s ถึงต้นยุค 2000’s แม้ในช่วงหลังๆ วัฒนธรรมนี้ค่อยๆ เบาบางไป แต่รูปแบบการแต่งกายของเหล่าแยงกี้ยังคงส่งผลต่อแฟชั่นในยุคปัจจุบันอยู่บ้าง
View this post on Instagram
การกล่าวถึงแยงกี้ในการ์ตูนหรือซีรีส์
ในช่วงยุค ’90 มีการนำวัฒนธรรมแยงกี้มากล่าวถึงในการ์ตูนหรือซีรีส์อยู่บ้าง ซึ่งเอกลักษณ์ของการ์ตูนแยงกี้ในสมัยนั้นคือการพูดถึงชีวิตวัยรุ่นที่สุดเหวี่ยง ไม่มีเป้าหมายใหญ่ในชีวิต แต่จะเป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของตัวละคร ชีวิตความสัมพันธ์ของเพื่อนในแก๊ง เหตุการณ์ในเรื่องมักเป็นเหตุการณ์ย่อยๆ ที่ตัวเอกต้องจัดการแก้ปัญหาหรือเอาชนะแก๊งคู่อริ อย่างการ์ตูนเรื่อง Crows (クローズ) ที่มีชื่อไทยว่า “เรียกเขาว่าอีกา” ก็เคยโด่งดังในสมัยนั้นจนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย
コンビニで新装版クローズ9巻売ってたから買っちゃった(*´ω`)
このあたりの春道とポンの喋り方がすごく可愛い❤あと修ちゃんの『素肌に短ランみたいなブレザー』って格好は改めて見ても衝撃的。でもそんな修ちゃんが好き(*´-`) pic.twitter.com/yewmEcnAsn
— 🔞やのうらのうら🔞 (@ya_san19) October 18, 2015
༄全部壊して、ゼロになれ༄
県内随一の不良が集まる鈴蘭男子高校。
鈴蘭制覇を本気で狙う不良たちの、熱いバトルが始まる🔥#三池崇史 監督#小栗旬 #やべきょうすけ #黒木メイサ 出演
『#クローズZERO』『クローズZERO II』配信スタート!#ネトフリ pic.twitter.com/xBa4xBhsZx— Netflix Japan | ネットフリックス (@NetflixJP) October 30, 2020
สิ่งที่เหมือนและแตกต่างใน Tokyo Revengers
ฮานางากิ ทาเคมิจิ (花垣 武道) ตัวเอกในเรื่อง Tokyo Revengers มีเหตุให้ต้องย้อนเวลากลับไปเมื่อ 12 ปีก่อน ซึ่งมีการหยิบยกวัฒนธรรมแยงกี้ที่เคยรุ่งเรืองมากล่าวถึงใหม่
ในการ์ตูนเรื่องนี้ยังคงเอกลักษณ์ของความเชื่อ วิถีชีวิต และการแต่งกายของแยงกี้ไว้ แต่มีการเพิ่มสีสันของเรื่องราวโดยการใส่เรื่อง “การย้อนเวลา” เข้าไป อีกทั้งมีการตั้งวัตถุประสงค์หลักของตัวละครไว้คือการช่วยเหลือแฟนสาวที่ถูก “แก๊งโตเกียวมันจิไค” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “โตมัน” ทำให้เสียชีวิต
やっと21話、見た。
場地が死に、怒りを露にして一虎を殴り続けるマイキー。最悪の未来を避けるため、タケミチは彼らの間に割って入るが・・・・・・
明かされる東京卍會創設の過去、場地はマイキー達をどう思っていたのか。血のハロウィン編もいよいよ終わりです#toman_anime pic.twitter.com/SdArIiq63u— 山心(ヤマシン) (@YamaShin_Chat) September 5, 2021
รูปแบบการเล่าเรื่อง Tokyo Revengers นั้นแตกต่างจากการ์ตูนแยงกี้ที่เราคุ้นเคย เพราะเส้นเรื่องหลักได้ไม่เป็นการท้าตีท้าต่อยระหว่างแก๊งเพื่อแสดงแสนยานุภาพของกลุ่มเท่านั้น แต่เป็นการตัดสลับฉากในปัจจุบันที่พระเอกเป็นหนุ่มวัยทำงาน กับช่วงชีวิตสมัยมัธยมต้นที่เขาต้องเข้าไปพัวพันกับแก๊งโตมัน
สิ่งที่ทำให้ผู้อ่านชื่นชอบและอยากติดตามการ์ตูนเรื่องนี้คือเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการย้อนเวลากลับไปในอดีต ซึ่งจะส่งผลทำให้อนาคตเปลี่ยนแปลงไป ฟังดูแล้วราวกับเป็นการ์ตูนแนวไซไฟ (sci-fi) เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ตัวเอก “ฮานามิจิ” ยังมีลักษณะเป็นวัยรุ่นธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่ได้มีพละกำลังหรือความสามารถในการชกต่อย ซึ่งแตกต่างจากตัวเอกในการ์ตูนแยงกี้สมัยก่อน
แต่ความสามาถพิเศษที่ฮานามิจิมีคือเขาสามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขหรือหาความจริงในอดีตได้ สิ่งนี้ทำให้เนื้อเรื่องชวนติดตามและชวนให้เราอยากค้นหาสิ่งที่เกิดขึ้นไปพร้อมกับตัวเอก
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาเหล่านี้เองที่ทำให้สามารถดึงดูดผู้อ่านหรือผู้ชมที่ไม่ได้สนใจการ์ตูนแยงกี้ให้มาสนใจเรื่องนี้ได้
สำหรับคอการ์ตูนทั้งมังงะและอนิเมะที่ยังไม่ได้อ่านมังงะหรือดูอนิเมะเรื่อง Tokyo Revengers ผู้เขียนแนะนำว่าให้ลองเปิดใจให้การ์ตูนเรื่องนี้ดูค่ะ แล้วคุณอาจจะกลายเป็นแฟนตัวยงของเรื่องนี้เหมือนผู้เขียนก็ได้ (ฮา)
สรุปเนื้อหาจาก: nlab, timeline
รูปภาพจาก: prtimes1, prtimes2, prtimes3