พิกโตแกรมในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2020 มีที่มาจากไหน?แล้วคนที่อยู่ในพิกโตแกรมเป็นใคร?

กลายเป็นที่พูดถึงในชั่วข้ามคืนสำหรับโชว์พิกโตแกรมในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2020 ที่หลายคนเฝ้ารอคอย พิกโตแกรมคืออะไร มีที่มาจากไหน และใครเป็นผู้แสดงโชว์ที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะให้คนทั่วโลก หาคำตอบได้ในบทความนี้ค่ะ!

พิกโตแกรมคืออะไร


พิกโตแกรมคือภาพสัญลักษณ์แทนตัวหนังสือ เป็นการแสดงข้อมูลในรูปแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องอาศัยภาษา ตัวอย่างเช่น สัญลักษณ์บนป้ายห้องนำ้ หรือสัญลักษณ์บนป้ายทางหนีไฟ เป็นต้น มนุษย์เราสื่อสารกันโดยใช้ภาพมาแต่ช้านาน เห็นได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังหรืออักษรอียิปต์โบราณ ต่อมาในช่วงปีค.ศ. 1920 ได้มีการใช้ไอโซไทป์ในสถิติเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจแนวโน้มทางเศรษฐศาสตร์ได้ง่ายขึ้น

เกิดจากโตเกียวโอลิมปิก 1964!


พิกโตแกรมในวงการกีฬาเกิดขึ้นครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 18 ซึ่งญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งแรก ทำให้มีการดีไซน์พิกโตแกรมทุกครั้งของการแข่งขันตั้งแต่นั้นมา ย้อนไปในปีค.ศ. 1964 ญี่ปุ่นต้องเปิดบ้านรับเพื่อนนักกีฬาหลายชาติหลากภาษา ทางทีมดีไซน์จึงออกแบบสัญลักษณ์ที่ “ใครเห็นก็เข้าใจ” เพื่อแก้ปัญหาในการสื่อสาร ทีมดีไซน์ต้องการตอบแทนสังคมจึงไม่ได้จดลิขสิทธิ์ ทำให้พิกโตแกรมถูกนำไปใช้ทั่วโลก

เผยโฉมพิกโตแกรมซัง!

โชว์พิกโตแกรมในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2020 เป็นที่พูดถึงในชั่วพริบตาและคงเป็นที่พูดถึงไปอีกนานแน่นอน สำหรับโชว์นี้ทีมดีไซน์ได้แรงบันดาลใจจากชุดพิกโตแกรมโอลิมปิกปีค.ศ. 1964 เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่รุ่นพี่ โดยใช้ลายเส้นนเรียบง่ายแต่เน้นการเคลื่อนไหวเพื่อบ่งชี้เอกลักษณ์ของกีฬาประเภทต่าง ๆ หลายคนคงอยากทราบว่าคนที่อยู่ข้างในเป็นใคร เราไปหาคำตอบมาให้แล้วค่ะ! ในทีมแสดงมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน ด้านซ้ายสุดคือ คุณเรียวมะ มัตสึโมโตะ คุณ hitoshi และคุณ MASA จากคณะตลก GABEZ ตามด้วยคุณ HIRO-PON จากคณะตลกใบ้เสียงชื่อดัง “กามาร์โจบะ” (GAMARJOBAT) ปิดท้ายด้วยคุณไดสุเกะ มินามิ

 

View this post on Instagram

 

A post shared by 松本亮 (@ryomat18)

ส่วนตัวได้มีโอกาสชมถ่ายทอดสดพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2020 และรู้สึกประทับใจกับคอนเซ็ปต์การนำเสนอมากค่ะ กว่าจัดงานได้ญี่ปุ่นต้องเจอศึกหนัก แต่ญี่ปุ่นทำให้ทุกคนเห็นแล้วว่าการไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคคือหัวใจนักกีฬาที่แท้จริง! สำหรับใครที่พลาดไปหรืออยากดูซำ้สามารถรับชมได้ที่ AISplay นะคะ

สรุปเนื้อหาจาก : Hirameki , GEX , EDUData
Image Source : Tokyo2020

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save