เดี๋ยวนี้อาหารเกาหลีแนวกับแกล้มอย่าง ชีส ทักคาลบี้ ซัมกยอบซัล ต๊อกโปกี้ กำลังฮิตที่ญี่ปุ่น อาหารเกาหลีรสชาติเข้มข้นจัดจ้านแบบนี้ ถ้าเป็นคนญี่ปุ่นนี่เบียร์ต้องมาแล้ว แต่ “เดี๋ยวนะคะ ลอง “โซจูเกาหลี” หน่อยไหมคะ” พนักงานมาเชียร์โซจูเกาหลีซะละ (ฮา) สำหรับเมืองไทย “โซจูเกาหลี” ถือว่าเป็นของมันต้องมีเลยทีเดียว
เรื่องความเมา เกาหลีก็ไม่แพ้ใครในโลกเช่นกัน เหล้าที่คนเกาหลีชื่นชอบมากที่สุดคือ “โซจูเกาหลี” แต่เดี๋ยวก่อน มันต่างจากเหล้าโชจูของญี่ปุ่นอย่างไร?
จุดที่ต่างกันของ โชจูญี่ปุ่น 焼酎 กับ โซจูเกาหลี 소주 (燒酒)
หนึ่ง ต่างกันที่ “วัตถุดิบ” โชจู 焼酎 ของญี่ปุ่นนั้น จะทำจากธัญพืชอย่างใดอย่างหนึ่งโดยแยกชนิดชัดเจนไปเลย เช่นโชจูข้าวเจ้า (โกะเมะโชจู 米焼酎) โชจูข้าวบาร์เลย์ (มุงิโชจู 麦焼酎) และโชจูหัวมัน (อิโมะโชจู 芋焼酎) ซึ่งนักเลงกินก็จะรู้จักเลือกกินตามรสที่แตกต่างในวัตถุดิบ แต่ โซจูเกาหลี 소주 ใช้วัตถุดิบแบบปนเป คืออาจเอาข้าวเจ้าบ้าง ข้าวบาร์เลย์บ้าง มันเทศบ้าง มันสำปะหลังบ้าง ข้าวโพดบ้าง ผสมๆ หมักให้ได้น้ำเหล้ากันไป

ดูเหมือนว่าแต่เดิม “โซจู” ก็ผลิตจากข้าวเจ้า เพราะปัญหาการขาดแคลนข้าวจากผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเกาหลีทำให้กลายเป็นว่า ต้องเอามันฝรั่ง มันเทศ ข้าวบาร์เลย์ ฯลฯ มาปนเพื่อเพิ่มแป้งเข้าไป เลยกลายเป็นสูตรวัตถุดิบ “โซจู” อย่างปัจจุบัน
สอง วิธีการผลิตก็ต่างกัน เหล้าโชจูของญี่ปุ่นแบ่งตามวิธีผลิตออกเป็นสองประเภทง่ายๆ คือ แบบ B (乙類焼酎) กับ แบบ A (甲類焼酎) แบบ B นั้นเป็นการต้มกลั่นอย่างง่าย ซึ่งจะได้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของวัตถุดิบ (รสนี้เหมาะกับนักเลงกิน) ส่วนแบบ A นั้นเป็นการต้มกลั่นต่อเนื่อง คือเอาน้ำเหล้าที่หมักแล้วมาเข้าเครื่องต้มกลั่นแบบต่อเนื่อง ซึ่งจะแยกสิ่งไม่บริสุทธิ์ออกแล้วจะได้แอกอฮอล์ใสบริสุทธิ์ แต่จะต้องใส่น้ำเพื่อเจือจางจะได้ปรับลดดีกรีลงมาพอจะเอาขายได้ ฉะนั้นมันจะใสๆ ดื่มง่ายกว่าแบบ B
ส่วนโซจูเกาหลีอาจแบ่งวิธีผลิตออกเป็นสองประเภทคือ “แบบเจือจาง” กับ “แบบต้มกลั่น” ซึ่งกระแสหลักนั้นเป็น “แบบเจือจาง” ที่ตรงกับแบบ A ของโชจูญี่ปุ่น ดังนั้นจึงผลิตได้จำนวนมากๆ (เพราะเป็นแอกอฮอล์กลั่นใสผสมน้ำ) แล้วก็เลยขายได้ถูกกว่าโชจูของญี่ปุ่น
สาม ดีกรีต่างกัน เห็นนางเอกเกาหลีซัดโซจูเข้าไปเพียวๆ กันเป็นขวดๆ อย่าเพิ่งนึกว่านางเป็นเมรีขี้เมาอะไรปานนั้น เพราะโชจูญี่ปุ่นส่วนใหญ่ปริมาณแอกอฮอล์อยู่ที่ 20-25 ดีกรี (แรงกว่าเซฉุ แต่ยังแรงน้อยกว่าเหล้าขาวบ้านเรา) บางตัวแรงมากๆ ก็เกือบ 50 ดีกรีเลย (แรงพอๆ กับเหล้าวอดก้าหรือยิน) ส่วนโซจูเกาหลีนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่แค่ 15 ถึง 20 ดีกรีเท่านั้น ใสๆ ไร้สี ดื่มง่าย ดีกรีเบาๆ ก็เลยดื่มกันเพียวๆ อั๊กๆๆ (ฮา)
วิธีดื่มโซจูเกาหลี และโซจูยี่ห้อที่แนะให้ลอง
ก็คล้ายๆ เวลาดื่มโชจูญี่ปุ่น คือดื่มเพียวๆ หรือออนเดอะร็อก หรือผสมโซดา แต่ดีกรีแค่นี้ เพียวๆ ไปเลยดีกว่าไหม (ผู้เขียนเวลาดื่มโชจูญี่ปุ่นก็เพียวๆ นะครับ น้ำแข็งอะไรก็ไม่เอา) คนเกาหลีนิยมกินแบบเป็นช็อต (แก้วเล็ก 50cc) และยังมีวิธีอื่น เช่น “โซจู บอมบ์” คือเอาโซจูช็อตหนึ่งเทใส่แก้วเบียร์แล้วกิน (ผู้เขียนเคยกินเบียร์ผสมแม่โขง คนกันให้เป็นวุ้นๆ แล้วดื่ม พุ่งออกนอกระเบียงหอเลยนะครับ อ้วกน่ะ ฉะนั้นวิธีพรรค์นี้คอไม่แข็งไม่แนะนำ) ส่วนอันนี้เอกลักษณ์เฉพาะสไตล์เกาหลีเลย “โออิโซจู” คือหั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ หรือหั่นเป็นฝอยใส่ลงไปแล้วดื่ม! ฟังดูแปลก แต่บางคนบอกว่า “กลมกล่อมสดชื่น อร่อย!” มีใครสนใจลองบ้างไหมครับ?
View this post on Instagram
ส่วนคุณผู้หญิงอาจลองโซจูรสผลไม้ หรืออาจผสมน้ำผลไม้ดื่มก็ได้ พวกโซจูรสยูซุ บลูเบอร์รี่ พีช ส้ม เกรปฟรุ๊ตอะไรพวกนี้มามีในเกาหลีราวปี 2015 นี้เอง รสหวานทานง่าย ดีกรีต่ำกว่าโซจูปกติ คือต่ำกว่า 15 ดีกรี อันนี้สาวๆ ที่ญี่ปุ่นชอบ สาวๆ ที่เมืองไทยก็ชอบด้วยเช่นกัน
โซจูเกาหลียี่ห้อเด่นๆ ก็มี JINRO Chamisul Classic (ตัวนี้รสดี แต่แพงหน่อย หลังๆ ในตู้แช่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตเมืองไทยเริ่มจะมียี่ห้ออื่นที่ถูกกว่ามาตีตลาดละ)
โซจูพร้อมส่งจ้า 🤗
Jinro Chamisul คลาสสิก 360ml 190.-
Original/Jinro Fresh 220.-
โซจูผลไม้(ทุกตัว) 240.- #ผลไม้พร้อมส่ง ตามนี้น๊า
🍊ส้มซิตรอน
🍑พีช
🍏แอปเปิลเขียว
🍇องุ่น
🍒ลูกพลัม
🍓สตรอว์เบอร์รี่ 🍋
🍊เกรปฟรุต
💙บลูเบอร์รี่#โซจู#โซจูเกาหลี#โซจูพีช pic.twitter.com/NQIoVMozau— ✨ขนมเกาหลี สินค้าเกาหลีพร้อมส่ง✨ (@Wwangsnacks_) December 17, 2018
และก็ JINRO ฉลากเหลืองขวดสีเขียว (ว่ากันว่าตัวนี้เวอร์ชั่นขายในญี่ปุ่นรสไม่เหมือนกับเวอร์ชั่นเกาหลี)
🍾โซจูรุ่นใหญ่ ที่ใครๆก็อยากลองง!!! เหมาะกับซื้อไปปาร์ตี้ในงานสำคัญหรือซื้อฝากญาติผู้ใหญ่ที่ชอบดื่มนะคะ 😊
ใครอยากปาร์ตี้แบบจริงจัง คุยๆอยู่แล้วภาพตัด!! 😂ต้องนี่เลย! Alc 24%
Jinro Soju 24💚ราคา 470.-
ขนาด 750ml #ymsเครื่องดื่ม #โซจู #แอลกอฮอล์ #เครื่องดื่ม #เหล้า pic.twitter.com/nOLyOlZxiI— Yummyyshop (@Yummyyshop) October 27, 2019
“เคียวเกตสึ” (鏡月) ของซันโตรี่ (ผู้เขียนเคยดื่มแล้ว จัดว่าดี)
If there’s one good thing the lockdowns have done for me (and this is clutching at straws), it’s introduced me to my new favourite tipple – Soju. If anyone knows where you can get decent soju let me know as I can only go by what I can get from Amazon… pic.twitter.com/vZZH7ZLa96
— Christopher John Stephen (@gingeralecomedy) January 18, 2021
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็เอาแค่ดื่มพอเจริญอาหาร เมาไม่ขับนะครับท่านผู้อ่าน
สรุปเนื้อหาจาก nomooo
ผู้เขียน TU KeiZai-man