ความต่างชาติต่างภาษา ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความแตกต่างด้านวัฒนธรรม แต่ยังรวมไปถึงอาหารการกินด้วย อย่างเช่น ชาวต่างชาติที่มาญี่ปุ่นมักจะไม่ทานนัตโตะ หรือ ชิราโกะ (ท่อเก็บน้ำอสุจิปลา) เป็นต้น เมื่อชาวต่างชาติมีอาหารญี่ปุ่นบางอย่างที่ไม่ชอบฉันใด ก็มีอาหารต่างชาติบางอย่างที่ชาวญี่ปุ่นไม่ชอบฉันนั้น เพราะฉะนั้นบทความนี้จะพาไปดูกันว่ามีอาหารต่างชาติอะไรบ้างที่ชาวญี่ปุ่นแอบยี้… พร้อมทั้งไปฟังเหตุผลกันเลย…
โรลล์ม็อป (Roll mop)
View this post on Instagram
โรลล์ม็อป เป็นอาหารที่นิยมทานในยุโรปและอเมริกาเหนือ วิธีการทำคือ นำปลาเฮอร์ริ่งมาถอดหัว ควักเครื่องใน ทำความสะอาดแล้วเลาะกระดูกออกให้หมด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นยาว พันกับหัวหอม กลัดด้วยไม้ แล้วนำไปจุ่มในน้ำส้มสายชูและเครื่องเทศ (แตกต่างกันแล้วแต่สูตร) หมักทิ้งไว้เป็นเวลา 6-10 วัน ซึ่งอาหารชนิดนี้ดูเป็นสิ่งที่แยกคนญี่ปุ่นที่ชอบและไม่ชอบออกจากกันได้ชัดเจนที่สุด ซึ่งแม้ชาวตะวันตกบางคนก็ยังไม่ชอบทาน เพราะฉะนั้นไม่แปลกที่ชาวญี่ปุ่นจะไม่ชอบ แต่ว่าก็มีชาวญี่ปุ่นบางคนที่ได้ทานแล้วบอกว่าอร่อยด้วยเหมือนกัน ความจริงแล้วชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ชอบปลาเนื้อสดรสธรรมชาติ จึงอาจไม่ถูกปากกับปลาดองเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนจริง ๆ
รูทเบียร์
View this post on Instagram
รูทเบียร์ เป็นเครื่องดื่มอัดลมที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ในสหรัฐอเมริกา รูทเบียร์เป็นเครื่องดื่มที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 3% จึงเป็นเครื่องดื่มที่ประชาชนชาวสหรัฐคุ้นเคย อย่างไรก็ตามมีชาวญี่ปุ่นหลายคนที่ไม่ชอบเจ้ารูทเบียร์นี้ นั่นเพราะว่า วัตดุดิบที่ใช้ในการทำรูทเบียร์นั้นมาจากการผสมผสานของเปลือกไม้วานิลาหรือซากุระ รากชะเอม รากลิลลี่ ลูกจันทน์เทศ โป๊ยกั๊ก และกากน้ำตาล จึงทำให้รสชาติรูทเบียร์เหมือนยาจีนญี่ปุ่น
อาหารอเมริกันทั่วไป
ชาวญี่ปุ่นไม่ถนัดอาหารอเมริกันอย่างนั้นเหรอ ? เป็นข้อสงสัยที่ถูกถามกันเข้ามามาก แต่เหตุผลจริง ๆ แล้วนั้นเป็นเพราะอาหารของชาวอเมริกันทั้งหนักแป้งและมีขนาดใหญ่ตามขนาดตัวของผู้บริโภค จึงไม่ค่อยเหมาะกับขนาดร่างกายของชาวญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ อีกทั้งชาวอเมริกันยังมีประชากรที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานถึง 70% และญี่ปุ่นก็เป็นประเทศพัฒนาที่มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งในกระเพาะอาหารสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยาก ว่าทำไมชาวญี่ปุ่นถึงไม่ค่อยชอบทานอาหารอเมริกันนัก
โค้กรสวานิลา
View this post on Instagram
โค้กรสวานิลาของโคคาโคล่า เป็นรสวานิลาที่ได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกา และได้ถูกนำมาวางขายในญี่ปุ่นเมื่อปี 2003 แต่ก็ถูกยกเลิกไปเพราะไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ทั้งที่เมื่อวางขายที่อเมริกากลับได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายแท้ ๆ
เนยถั่ว
View this post on Instagram
เนยถั่วที่คนอเมริกาชื่นชอบ ซึ่งถูกนำไปดัดแปลงเป็นขนมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคุ้กกี้เนยถั่วหรือคัพเค้กนั้น ที่ญี่ปุ่นมีเนยถั่วขายอยู่เหมือนกัน แต่ดูเหมือนว่าจะแตกต่างกับเนยถั่วที่วางขายที่อเมริกัน โดยคนอเมริกาบอกว่าเนยถั่วที่วางขายที่ญี่ปุ่นนั่น น่าจะเรียกว่า “ครีมถั่ว” มากกว่า เพราะรสชาติจืดกว่ามาก
ชีสที่มีกลิ่นแรง
ถ้าหากพูดถึงนัตโตะญี่ปุ่นในเวอร์ชั่นยุโรปแล้ว ก็น่าจะหมายถึงชีสที่มีกลิ่นแรง อย่างเช่น บลูชีส ชีสแพะ และชีสกามองแบร์ เป็นต้น โดยชีสที่มีกลิ่นแรงพวกนี้ไม่ค่อยถูกปากชาวญี่ปุ่นเท่าไหร่ แต่ทั้งนี้หากทานไปครั้งแรกอาจจะรู้สึกถึงกลิ่นที่รุนแรงจนไม่ประทับใจ แต่หากทานติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะอร่อยขึ้นมาก็ได้
แฮกกิส
View this post on Instagram
แฮกกิส เป็นอาหารประจำชาติสกอตแลนด์ที่ทำมาจากหัวใจ ตับ และปอดของแกะ ผสมข้าวโอ๊ตและเครื่องเทศ ห่อด้วยกระเพาะแกะ ด้วยความที่มีส่วนผสมของเครื่องใน จึงไม่ค่อยเป็นที่ปรารถนาของชาวญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ แต่ไม่ใช่แค่เพียงชาวญี่ปุ่นเท่านั้น ดูเหมือนว่าอาหารชนิดนี้ก็ไม่ค่อยเป็นที่ถูกปากแม้กับชาวยุโรปเองด้วย โดยอดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสท่านหนึ่งเคยพูดว่า “ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอาหารที่เลวร้ายอย่างแฮกกิสอยู่บนโลกนี้” และ อดีตประธานาธิบดีบุชของสหรัฐ ก็เคยกล่าวติดตลกว่า “เขาเป็นกังวลเรื่องที่แฮกกิสถูกนำมาเสิร์ฟในการประชุม G8 เมื่อปีค.ศ. 2005”
ไส้กรอกเลือด
View this post on Instagram
แต่เดิมไส้กรอกทำมาจากเลือดที่เหลือทิ้งหลังจากการชำแหละสัตว์เพื่อไม่ให้วัตถุดิบสูญเปล่า ในยุโรปและเอเชียตะวันออกได้มีการทานไส้กรอกเลือดมาอย่างยาวนาน เมื่อเทียบกับไส้กรอกเนื้อแล้ว ไส้กรอกเลือดจะรับรู้ถึงรสชาติและกลิ่นของเลือดที่แรงกว่า จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นมากนัก โดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบตับอยู่แล้ว ยิ่งได้เจอไส้กรอกเลือดก็คงทานไม่ลงกันเลยทีเดียว
เนื้ออื่น ๆ นอกจากเนื้อหมู วัว ไก่
ที่ญี่ปุ่นจะมีการพูดถึงเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ แค่ 3 อย่างเท่านั้น แต่ว่าในประเทศอื่น ๆ ยังมีคนที่ทานเนื้อจระเข้ เนื้อจิ้งโจ้ เนื้อนกกระจอกเทศ หรือแม้แต่เนื้อสัตว์ที่หาทานยากอยู่อีกมาก จากมุมมองของคนที่อยู่ประเทศที่ทานเนื้อหลากหลาย คงมองว่าชาวญี่ปุ่นทานเป็นแต่เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อไก่เท่านั้น
สเต็กทาร์ทาร์
สเต็กทาร์ทาร์ เป็นสเต็กสไตล์เกาหลีแบบตะวันตก โดยการนำเนื้อวัวดิบสับหยาบค่อนละเอียดมาปรุงรสด้วยน้ำมันมะกอก เกลือ และพริกไทย เสิร์ฟพร้อมเครื่องเทศ เช่น หัวหอม กระเทียม เคเปอร์ ผักดอง และไข่แดง ผสมเข้าด้วยกันทั้งหมดแล้วรับประทาน จึงอาจจะเป็นอาหารที่ชาวญี่ปุ่นที่ไม่ค่อยทานเนื้อดิบอยู่แล้วแอบยี้นิดหน่อย
ขนมหวานต่างประเทศ
View this post on Instagram
ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยเชี่ยวชาญเรื่องขนมหรือของหวานของชาวตะวันตกเท่าไหร่ ชาวต่างชาติอาจจะมองว่าขนมหวานมันต้องเป็นแบบนั้นสิ แต่ขนมหวานต่าง ๆ ที่วางขายที่ญี่ปุ่นนั้นเป็นการปรับรสชาติให้เข้ากับคนญี่ปุ่น จึงไม่ค่อยที่จะทำหวาน ชาวต่างชาติจึงอาจมองว่าขนมหวานของญี่ปุ่นนั้น “ไม่มีรสชาติ” ในทางกลับกัน ชาวญี่ปุ่นกลับมองว่าขนมหวานของต่างชาตินั้นหวานเกินไป
Doctor Pepper
View this post on Instagram
Doctor Pepper เป็นเครื่องดื่มจากโคคาโคล่า โดยมีต้นกำเนิดในปีค.ศ. 1885 ในฐานะเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่เก่าที่สุดในอเมริกา Doctor Pepper ได้ถูกนำมาวางขายตามร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีค.ศ. 1973 ซึ่งมีรสชาติให้เลือกมากถึง 20 รสชาติ แต่ทั้งนี้ก็มีวางขายแค่บางพื้นที่เท่านั้นไม่ใช่ทั่วประเทศ และด้วยความที่มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์มากเกินไป จึงมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบจำนวนมาก
ขนมชะเอม
View this post on Instagram
ขนมชะเอมเป็นขนมปรุงรสด้วยรากชะเอมและน้ำมันโป๊ยกั๊ก เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนานในอเมริกาเหนือและยุโรป ตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ เนื้อสัมผัสใกล้เคียงกับลูกอม แต่เหนียวกว่าและมีสีดำมันวาว คนจำนวนมากไม่ชอบเพราะว่ามันมีสีดำ แถมยังมีรสเค็มและเหม็นกลิ่นแอมโมเนียอีกด้วย นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นมักจะใช้ชะเอมเป็นยาซะมากกว่า จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ขนมชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมจากชาวญี่ปุ่น
ผลิตภัณฑ์นมโดยทั่วไป
View this post on Instagram
ชาวต่างชาติโดยเฉพาะฝั่งยุโรปอเมริกามักมองว่าชาวญี่ปุ่นจะไม่ค่อยเก่งเรื่องนม เพราะชาวญี่ปุ่นไม่ดื่มนมมากเหมือนชาวยุโรป และยังไม่ทานอาหารที่ใส่ชีสสักเท่าไหร่ ทั้งนี้มีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่แพ้แลคโตสในนม (มีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเสีย เป็นต้น) โดยมีการระบุเพิ่มเติมว่า ร่างกายชาวญี่ปุ่นมีปัญหาในการย่อยนมและชีส จึงทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
จากการยกตัวอย่างอาหารต่างชาติที่ชาวญี่ปุ่นไม่ค่อยถูกใจนี้ ทำให้ทราบว่า อาหารที่ชาวญี่ปุ่นไม่ชอบส่วนมากคือ “อาหารที่ปรุงรส หรือแปรรูปมากเกินไป” นั่นเอง เพราะทำให้ชาวญี่ปุ่นรู้สึกว่าสูญเสียรสชาติดี ๆ ของอาหารไป จึงทำให้รู้สึกต่อต้านที่จะทานอาหารเหล่านั้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชาวอเมริกันที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ญี่ปุ่นนาน ๆ น้ำหนักตัวจะลดลง นั่นก็เพราะอาหารญี่ปุ่นรสชาติไม่จัดแถมยังแคลลอรี่ต่ำนั่นเอง
อ้างอิงเนื้อหาจาก: madameriri
ผู้เขียน:KOKATETA