เมื่อวันก่อนผู้เขียนไปนั่งกินอาหารญี่ปุ่นราคาถูกมา กินกับแกล้มของทอดพวกปลาซาบะทอด ยังไม่อิ่ม พอดีไปเห็นเมนู “ข้าวหน้าไก่กับไข่” (親子丼 โอยะโกะด้ง แปลตรงตัวแปลว่า ข้าวหน้าแม่ลูก โอ้ คนหนอคน ทำไมโหดจัง กินหมดทั้งแม่ทั้งลูก (ฮา)) สั่งมากิน อร่อยดีตามประสาคนไม่ได้กินมานานแล้ว ก็เลยมาค้นหาดูประวัติความเป็นมาของอาหารเมนูนี้แล้วมาเล่าสู่กันฟัง
ความเป็นมาของ “โอยะโกะด้ง”
เมื่อพูดถึง “ดมบุริ” (ข้าวราดหน้าใส่ชาม) คนมักนึกถึง อุนาด้ง 鰻丼 (ข้าวหน้าปลาไหลย่าง) เท็นด้ง 天丼 (ข้าวหน้าเทมปุระ) และคัตสึด้ง カツ丼 ก่อนอย่างอื่น ซึ่งว่ากันว่า อุนาด้งนี่หละเกิดก่อนดมบุริทั้งปวง (คือช่วงศักราชบุนกะ 文化 ตรงกับช่วงปี พ.ศ.2347 ถึง พ.ศ. 2361 ราวช่วงรัชกาลที่ ๑ ของไทย) ต่อจากนั้นจึงเป็นเท็นด้ง ส่วนคัตสึด้งมีเรื่องเล่าหลายทฤษฎีแต่ว่าที่แพร่หลายที่สุดคือ ร้านซันโซอัน 三朝庵 ร้านโซบะเก่าแกแถว ม.วาเซดะ (ปัจจุบันร้านปิดกิจการแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2561) เป็นผู้คิดทำขึ้น โดยเอาเศษเหลือๆ ของหมูชุบเกล็ดขนมปังทอด (cutlets カツレツ) มาทำเป็นคัตสึด้ง (เป็นเมนูกำจัดของเหลือดีมาก)
早稲田の三朝庵閉めるってニュース見ました。飛行機の機内誌でお店の存在を知って、真打になりたての春風亭「三朝」さんを連れて食べにいきました。昼からちょいとビールなんぞ飲って、なんともゆったりとした時間を過ごしました。再開しないかしら。#三朝庵 #春風亭三朝 #古今亭菊之丞 #落語 pic.twitter.com/YBj7ZIyhwA
— 古今亭菊之丞(公式) (@kikunojorakugo) August 1, 2018
ส่วนโอยะโกะด้งนั้น มีข้อเขียนที่กล่าวว่า พบว่ามีการใช้คำว่า “โอยะโกะด้ง” มาโฆษณา โดยร้าน เอโดะโค (江戸幸) ย่านโกเบโมโดริมาจิ (神戸元町) มาตั้งแต่ปีเมจิที่ 17 (พ.ศ. 2427) แล้ว
さて、今までは器としてのどんぶりの話でしたが、これからは食べものとしての「どんぶり物」の話をしてゆきます。
これは、明治17年の新聞広告。神戸の江戸幸という店で、う丼と親子丼が販売されています。
親子丼という言葉が出る資料としては、今まで見つかった中ではこの広告が最古のものです。 pic.twitter.com/CoG7gmuCqy
— 近代食文化研究会@「焼鳥の戦前史」発売中 (@ksk18681912) July 6, 2018
แต่ทฤษฎีที่กล่าวกันโดยทั่วไปนั้น กลับว่ากันว่า “โอยะโกะด้ง” เกิดขึ้นเมื่อปีเมจิที่ 20 (พ.ศ. 2430) โดยต้นคิดคือร้านอาหารเมนูไก่ “ทามาฮิเดะ” (玉ひで) ย่านนิฮอนบาชิ นิงเกียวโช ร้านนี้เป็นร้านเก่าแก่เปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2303 อยู่มา 250 ปีแล้วจนถึงทุกวันนี้ตอนนั้นมีลูกค้าคนหนึ่ง เอาไข่ตอกใส่ “หม้อไฟไก่ชน” (軍鶏鍋) แล้วเรียกว่า “ต้มไก่กับไข่” (親子煮 โอยะโกะนิ=ต้มแม่ลูก) ของเจ้าของรุ่นที่ 5 ก็เลยเกิดไอเดียขึ้นมาว่า เห็นลูกค้าเอาไข่ใส่น้ำซุปที่เหลือในหม้อไฟไก่ แล้วเอามากินเป็นกับข้าวก็ได้ ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้วเอาน้ำราดข้าวมันเสียเลย แต่เพราะทีแรกรู้สึกกระดากว่า อันร้านเราก็เป็นร้านเก่าแก่มีชื่อมานาน จะเสิร์ฟอาหารแบบ ข้าวราดน้ำซุป (ก้นหม้อ) ก็ดูกระไรอยู่ เลยทำเป็นแค่เมนูเดลิเวอรี่ไปเสีย
แต่ต่อมาไปๆ มาๆ กลายเป็นเมนูยอดนิยมในหมู่คนทำงานตลาดปลา ตอนหลังเลยกลายเป็นเมนูรับประทานที่ร้านตามคำเรียกร้อง ซึ่งกว่าจะเอามาเป็นเมนูขายในร้านได้ก็ปาเข้าไปปีโชวะที่ 54 (พ.ศ. 2522)
思い出グルメ
人形町玉ひでの親子丼です。
トロットロの卵とシャキシャキの鶏肉が絶妙でした。
コロナが終息したらまた行きたいです。#玉ひで #玉ひで親子丼 #人形町 pic.twitter.com/NzrtYALmT1— つうふう (@ftsuna40) February 4, 2021
เมนูนี้ (ฉบับออริจินัล) อร่อยตรงที่เนื้อไก่นั้นดูดน้ำซุปก้นหม้อ ใส่ต้นหอมด้วย พอตอกไข่ใส่ ราดข้าว ข้าวดูดน้ำซุป ยิ่งอร่อย อารมณ์ประมาณเดียวกับกิวด้ง 牛丼 (ข้าวหน้าเนื้อวัว) ซึ่งกิวด้งเองนั้นสมัยก่อนคนเรียกว่า กิวนาเบะบุคคาเคะ 牛鍋ぶっかけ (ข้าวราดหน้าหม้อไฟเนื้อ) เป็นของฮิตในหมู่ชาวบ้านคนเอโดะอยู่แล้ว เพราะบางทียังเอาซุปมิโสะมาราดข้าวกิน แต่ต้องมาถึงยุคเมจิถึงจะมีการตอกไข่ใส่ลงไป (ในยุคเอโดะ ไข่เป็นอาหารชั้นสูง ชาวบ้านเอื่อมไม่ถึง ต้องมาถึงยุคเมจิแล้วจึงเป็นของที่ใครๆ ก็กินได้) กิวด้งเองนั้นก็เป็นของกินยอดฮิตมาเป็นสิบปีแล้วก่อนที่โยชิโนยะ 吉野家 จะมาขายกิวด้งแถวตลาดปลาที่นิฮอนบาชิ
ในยุคเอโดะ ไข่เป็นอาหารชั้นสูง แต่พอเข้ายุคเมจิ ใครๆ ก็กินไข่ได้ (ก็เลยมีปรากฏการณ์ตอกไข่ใส่หม้อไฟ) และมาถึงยุคนี้ อาหารจำพวกข้าวใส่ชาม (ดมบุริ) ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนทำงานและนักศึกษาที่ชีวิตยุ่งๆ (เพราะกินหมดไว ชามเดียวอิ่ม) และยิ่งสมัยนี้เทคโนโลยีอาหารก้าวไกล เดี๋ยวนี้ไปถึงขั้นที่มี “โอยะโกะด้ง freeze dry” แล้ว ผลิตโดยบริษัท Amano Foods มาในรูปแบบผลิตภัณฑ์อัดเป็นก้อนแข็งสี่เหลื่ยม เติมน้ำร้อน แล้วจะคืนสภาพกลายเป็นหน้าไก่กับไข่ราดข้าวได้เลย
フリーズドライの親子丼が魔法みたいなレベルですげえ、そして美味い。
お湯をかけて30秒で完成します。https://t.co/8MXf3VvSCi pic.twitter.com/2vcy8g5Whg
— BuzzFeed Japan (@BuzzFeedJapan) March 1, 2019
ว่าแต่ว่าร้านไหนกันแน่ที่เป็นต้นคิด “โอยะโกะด้ง”?
ท่านผู้อ่านอาจตั้งคำถามว่าตกลงใครเป็นต้นคิดชื่ออาหารว่า “โอยะโกะด้ง” กันแน่ เป็นร้านทามาฮิเดะที่เป็นออริจินัลจริงๆ หรือที่จริงชื่อนี้มีมาก่อนหน้าแล้ว? ผู้เขียนก็ไม่ทราบว่าเขาเคลมกันยังไงว่าใครเป็นออริจินัล แต่เคยอ่านเจอว่าอย่างของฝรั่งเคยมีกรณีพิพาทเรื่องเค้กช็อกโกแลตที่เรียกว่า Sachertorte ว่าใครเป็น “ออริจินัล” กันแน่ ซึ่ง Sacher Hotel ชนะคดีในศาลแล้วได้สิทธิ์แปะชื่อว่าเป็น Original Sacher-Torte ไป เรียกว่าที่ขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะอยากได้ชื่อว่าเป็น “ออริจินัล” ล้วนๆ เลย แน่นอนว่าอัพราคาได้ ส่วนโอยะโกะด้งนั้น เท่าที่ผู้เขียนเคยกินก็มีทั้งอร่อยและไม่อร่อย ที่ไม่อร่อยเพราะทำแบบลวกๆ อย่างในโรงอาหารที่มหาลัยแค่เอาเนื้อไก่ที่ต้มทิ้งไว้ก่อนแล้วมาต้มใส่น้ำหวานๆ ใส่ไข่หน่อยแล้วราดข้าว เนื้อไก่มันก็ไม่มีรสไป พอมาถึงตรงนี้แล้วบอกตรงๆ ว่าเดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะสั่งมากินอีก ขอให้เจริญอาหารนะครับ
สรุปเนื้อหาจาก ameblo และ amanoshokudo
ผู้เขียน TU KeiZai-man