5 อันดับพันธุ์ข้าวญี่ปุ่นที่อร่อยมากที่สุดในปี 2019

ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมของทุกปี ถืิอเป็นช่วง “ฤดูข้าวใหม่” ซึ่งข้าวที่นำออกมาขายในช่วงนี้ จะเป็นข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ จึงมีกลิ่นหอมและรสชาติที่ดีกว่าข้าวเก่าที่ขายในช่วงเดือนอื่น ๆ เพราะมีปริมาณน้ำมาก ความชื้นสูง ทำให้ข้าวมีความชุ่มฉ่ำ อีกทั้งปริมาณไขมันในข้าวยังไม่ได้ทำการออกซิไดซ์กับอากาศ จึงยังคงมีสารต้านอนุมูลอิสระหลงเหลืออยู่

ดังนั้นช่วงเวลาที่เหมาะกับการซื้อข้าวมากที่สุดก็คือเดือนพฤศจิกายนนี่แหละ เพราะข้าวใหม่จากทั่วประเทศจะถูกส่งมาขายจนครบแทบทุกยี่ห้อแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว (Rice Master) ได้ทำการสำรวจข้าวจากซุปเปอร์มาร์เก็ตกว่า 50 แห่งในโตเกียว เพื่อศึกษาคุณสมบัติและลักษณะของข้าวแต่ละยี่ห้อ รวมไปถึงพื้นที่ที่ผลิตข้าวชนิดนั้น ๆ อีกด้วย โดยพันธุ์ข้าวที่ได้รับคะแนนสูงสุด 5 อันดับได้แก่

1. โคชิฮิคาริ (コシヒカリ) : ปลูกในหลาย ๆ พื้นที่ของญี่ปุ่น เช่น จังหวัดนีกาตะ จังหวัดชิบะ และจังหวัดอิบารากิ

2. อะคิตะโคมะจิ (あきたこまち) : ปลูกในจังหวัดอะคิตะและจังหวัดอิบารากิ

3. ฮิโตะเมะโบเระ (ひとめぼれ) : ปลูกในหลาย ๆ พื้นที่ของญี่ปุ่น เช่น จังหวัดมิยากิ จังหวัดอิวาเตะ และจังหวัดอะคิตะ

4. ทสึยะฮิเมะ (つや姫) : ปลูกในจังหวัดยามากาตะและจังหวัดมิยากิ

5. นานะทสึโบชิ (ななつぼし) : ปลูกในจังหวัดฮอกไกโด

จัดอันดับข้าวญี่ปุ่น
คุณอิชิโนะซาวะ โทชิอะกิ ผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว ได้ลำดับความอร่อยของข้าวญี่ปุ่นโดยพิจารณาจากรสสัมผัสทั้ง 5 อย่าง ได้แก่ ความหวาน ความหอม ความเหนียวนุ่ม ความอร่อย(อูมามิ) และความเด้งดึ๋งของข้าว ซึ่งข้าวที่สามารถคว้าลำดับที่ 1 ตามเกณฑ์นี้ไปก็คือ ข้าวโคชิฮิคาริ นั่นเอง

ลักษณะพิเศษและรสชาติของข้าวแต่ละชนิด

อันดับที่ 1 โคชิฮิคาริ (コシヒカリ)

ข้าวโคชิฮิคาริ
รสสัมผัสของข้าวโคชิฮิคาริ ตามความเห็นของคุณอิชิโนะซาวะ

ข้าวที่ได้คะแนนสูงสุดของคุณอิชิโนะซาวะไปก็คือ ข้าวโคชิฮิคารินั่นเอง เป็นข้าวที่กลิ่นหอมมากที่สุด ข้าวที่หุงสุกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่ว เหมาะกับการทานคู่กับอาหารตะวันตกที่มีรสชาติเข้มข้น เช่น แกงกะหรี่ สตูว์เนื้อ เป็นต้น

อันดับที่ 2 อะคิตะโคมะจิ (あきたこまち) 

ข้าวอะคิตะโคมะจิ

ข้าวอะคิตะโคมะจิ มีความหอมและความเหนียวนุ่มรองลงมาจากข้าวโคชิฮิคาริ โดยทั่วไปพื้นผิวของข้าวนั้นจะค่อนข้างขรุขระ แต่ข้าวอะคิตะโคมะจินี้มีพื้นผิวที่ค่อนข้างเรียบลื่น จึงสามารถดูดซึมซอสและน้ำซุปต่าง ๆ ได้ดี เหมาะกับการทำเป็นข้าวหน้าต่าง ๆ ที่ต้องมีการราดซอส เช่น เทนด้ง (ข้าวหน้าเทมปุระ) หรือ กิวด้ง (ข้าวหน้าเนื้อ) เป็นต้น

อันดับที่ 3  ฮ​ิโตะเมะโบเระ (ひとめぼれ) และ อันดับที่ 4 ทสึยะฮิเมะ (つや姫) ได้ชื่อว่าเป็นข้าวพี่น้องที่มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่หลังจากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแล้ว ข้าวฮิโตะเมะโบเระนั้นจะมีความเด้งดึ๋งกว่าพันธุ์ข้าวทสึยะฮิเมะอยู่เล็กน้อย จึงสามารถคว้าอันดับที่ 3 ไปครอบครองได้

ข้าวฮ​ิโตะเมะโบเระ ข้าวทสึยะฮิเมะ

อันดับที่ 5 นานะทสึโบชิ (ななつぼし) เป็นข้าวที่มีความอร่อย หรือมีรสอูมามิดีที่สุด แต่รสสัมผัสด้านอื่นยังน้อยกว่าทั้ง 4 อันดับก่อนหน้ามาก จึงได้อันดับที่ 5 ไปครอง

คุณอิชิโนะซาวะได้อธิบายว่า ข้าวพันธุ์ฮิโตะโบเระนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่แล้วที่จังหวัดมิยากิ และได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาเรื่อย ๆ จนเมล็ดข้าวมีความหวานและความเด้งมากขึ้น ทำให้ได้รับคะแนนเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2019 นี้

เมล็ดข้าวของเมื่อปีที่แล้วกับปีนี้มีความต่างกันอย่างไร เราจะใช้กล้องที่มีความละเอียดสูงซูมให้ดูกันค่ะ

ข้าวญี่ปุ่น
ข้าวที่เก็บเกี่ยวเมื่อปีที่แล้ว (ด้านซ้าย) และ ข้าวที่ทำการเก็บเกี่ยวในปีนี้ (ด้านขวา)

ข้าวที่เก็บเกี่ยวในปีที่ 2018 (ด้านซ้าย) นั้นมีลักษณะโปร่งใส ในขณะที่ข้าวที่เก็บเกี่ยวในปี 2019 (ด้านขวา) มีสีที่ขุ่นขึ้นมาเล็กน้อย

ข้าวที่มีสีใสกับข้าวที่มีสีขุ่น แบบไหนอร่อยกว่ากันนะ?

หากมองด้วยตาเปล่าก็จะเกิดความสงสัยว่า สีของข้าวที่ขาวขุ่นแบบของปี 2019 นั้นจะอร่อยมั้ยน้า? รองประธานสหกรณ์การเกษตรของจังหวัดมิยากิจะเป็นผู้มาให้คำตอบค่ะ

ในต้นเดือนสิิงหาคม ปี 2019 ช่วงเวลาที่มีแสงแดดเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 90.4 ชั่วโมง ในขณะที่ปี 2018 นั้นมีแสงแดดเพียง 54.1 ชั่วโมง

หากเทียบกับข้าวที่เก็บเกี่ยวในปีที่ผ่าน ๆ มา ข้าวที่เก็บเกี่ยวในปี 2019 นั้นถือเป็นข้าวที่อร่อยมาก มีความหอมและมีความเด้งเพิ่มมากขึ้น เพราะว่าสภาพอากาศในเดือนต้นเดือนสิงหาคม ปี 2019 นั้นมีแสงแดดยาวนานขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 36 ชั่วโมง จึงส่งผลให้ข้าวในจังหวัดมิยากิมีความอร่อยมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว

หัวใจสำคัญของความอร่อย จึงขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของฤดูร้อน (ก่อนการเก็บเกี่ยว) ในปีนั้น ๆ แต่หากแดดแรงติดกันหลายวันมากเกินไปก็จะทำให้ความอร่อยของข้าวลดลงได้…

โอ้โห กว่าจะได้ข้าวที่หอมอร่อยมาทาน กระบวนการไม่ใช่ง่าย ๆ เลย นอกจากจะอาศัยเทคโนโลยีในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแล้ว สภาพอากาศซึ่งเป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้ก็มีผลต่อรสชาติเช่นกัน หากใครมีโอกาสมาเที่ยวญี่ปุ่นช่วงนี้ อย่าลืมลองสั่งเมนูข้าวหน้าต่าง ๆ มาลองชิมกันดูนะคะว่าอร่อยขึ้นกว่าปีที่แล้วจริงหรือเปล่า

ที่มา: Yahoo
ผู้เขียน: A Housewife Wannabe

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save