“มิไร คอมบินิ” (未来コンビニ) หรือ “ร้านสะดวกซื้อแห่งอนาคต” (มิไร แปลว่า อนาคต และ คอมบินิ แปลว่า ร้านสะดวกซื้อ มาจากคำภาษาอังกฤษ Convenience Store) เป็นร้านในหมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดโทคุชิมะ ที่มีคนอาศัยอยู่แค่ประมาณ 1,000 คน เริ่มเปิดบริการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020
คำว่า “อนาคต” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าร้านสะดวกซื้อนี้ใช้เทคโนโลยีสุดล้ำแต่อย่างใด แต่คอนเซปต์ของร้านคือการสร้างสถานที่สำหรับชุมชนและเด็กๆ ที่จะเป็นตัวแทนอนาคตของเมืองนั่นเอง
ที่มาของ “มิไร คอมบินิ”

เขตคิโตะ (木頭地区) ซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านสะดวกซื้อแห่งนี้ เป็นเมืองเล็กๆ ท่ามกลางหุบเขาที่ห่างไกลจากตัวเมือง มีประชากรอาศัยอยู่แค่ประมาณ 1,000 คน เดิมทีจึงไม่มีร้านค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตมาเปิดให้บริการในหมู่บ้านนี้เนื่องจากกลัวไม่คุ้มทุน
“มิไร คอมบินิ” จึงเกิดขึ้นมาพร้อมไอเดียที่อยากเพิ่มความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อของให้กับคนในชุมชน แต่ไม่ได้จำกัดแค่เป็นร้านขายของเท่านั้น สถานที่แห่งนี้ยังถูกออกแบบให้เป็นศูนย์รวมการทำกิจกรรมต่างๆ ครอบครัวสามารถพาเด็กๆ มาร่วมกิจกรรม พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้ด้วย
〈未来コンビニ〉
人口1000人の村
徳島県那賀町木頭に現れた、
クリエイティブな交流の場。山深い場所にある木頭地区は、生活必需品が揃う最寄りのコンビニまで、なんと車で約1時間もかかる場所でした。#みんなの笑顔#みんなの彼女募集中#引くほどみんなの彼女募集中#アノニマス#คิดถึงกลัฟกล pic.twitter.com/G48y22O9BK
— あべ氏(こっち専用) (@kanojohamahouwo) February 8, 2021
พื้นที่ภายใน “มิไร คอมบินิ” จะมีทั้งร้านค้า พื้นที่นั่งพักผ่อน ห้องสมุดขนาดย่อม ห้องสำหรับจัดกิจกรรมหรือเวิร์คช็อปที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ รวมไปถึงลานสำหรับแคมปิ้งอีกต่างหาก
皆さんお疲れさ〜ん😊
ジジイは今、徳島県那賀町木頭の未来コンビニで休憩しよります😊山里に突如現れるモダンなスペースじゃ、イートインスペースもカフェ以上の設備で休憩にも👌
近くに来たらよってみて〜😊#徳島 #愛媛 #高知 pic.twitter.com/4kR8S6zq26— 猟師のじいちゃん (@K1lTy0LfTZlWO4A) March 23, 2021
สร้างพื้นที่ค้าขายให้คนท้องถิ่น
สิ่งที่ทำให้ “มิไร คอมบินิ” ต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปคือ ร้านแห่งนี้เปิดพื้นที่ให้เกษตรกรและคนในท้องที่สามารถนำผลผลิตของตนมาวางขายที่ร้านได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยมีธีมเปลี่ยนไปในแต่ละวัน เช่น วันอังคารเป็นวันขายปลา วันศุกร์เป็นวันขายเนื้อสัตว์ เป็นต้น
View this post on Instagram
คอนเซปต์และดีไซน์ที่โดนใจนักท่องเที่ยว
ร้านสะดวกซื้อท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติที่มีคอนเซปต์เก๋ๆ แบบนี้ เรียกได้ว่าโดนใจนักท่องเที่ยวจากทั่วญี่ปุ่นและต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ร่วงที่มักมีนักท่องเที่ยวมาชมธรรมชาติของใบไม้เปลี่ยนสีที่ “โคโนะเสะเคียว” (高の瀬峡) หนึ่งในหุบเขาที่เป็นจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีซึ่งเป็นที่นิยมมากที่หนึ่งในจังหวัดโทคุชิมะ
#紅葉 #徳島 #高の瀬峡
徳島での紅葉の名所であり日本の紅葉百選にも選ばれた高の瀬峡が紅葉の見ごろを迎え始めたみたいですね
(画像は以前撮影したものです) pic.twitter.com/qYfmZhmKbO— とくけん@ただの競馬オヤジ (@tokukenawa) November 13, 2019
มีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเลยที่จะแวะมาเยี่ยม แวะซื้อของฝาก หรือหาอะไรรองท้องที่ “มิไร คอมบินิ” หลังจากไปขับรถชมใบไม้แดงแล้ว ว่ากันว่าในช่วงเวลานั้นจะมีนักท่องเที่ยวแวะมาที่นี่ไม่ต่ำกว่า 400 คนต่อวันเลยทีเดียว
แน่นอนว่าของที่ระลึกที่เป็นที่นิยมในหมู่นักเที่ยวเที่ยวคือ “ส้มยุสุของเมืองคิโตะ” ที่เรียกได้ว่าเป็นของขึ้นชื่อของเมือง แถมในร้านยังมี Yuzu Café ที่ขายเครื่องดื่ม ไอศกรีม เครื่องปรุง ขนมต่างๆ หรือแม้กระทั่งอาหารกระป๋องที่มีส่วนผสมของส้มยุสุอีกด้วย

9月22日まで、きとうの未来コンビニで青ゆずまつりやってるよー!!
みなさん、おこしくださいませー! pic.twitter.com/hgW4cMIGTI— 黄金の村@木頭柚子 きとうゆず (@ogon0514) September 20, 2020
จุดขายที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างชาตินี้ เป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้คนในชุมชนเมืองคิโตะได้ดีทีเดียว
View this post on Instagram
เมืองเล็กๆ ที่มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คน
“คิโตะโปรเจ็กต์” (木頭プロジェクト) คือโครงการที่ผู้ประกอบการและบริษัทในท้องถิ่นเมืองคิโตะร่วมกันสร้างบรรยากาศเมืองให้น่าอยู่ ซึ่งร้านสะดวกซื้อแห่งอนาคตนี้ก็เป็นหนึ่งในผลงานของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการบอกเล่าแบบปากต่อปากและการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้ “มิไร คอมบินิ” และ “คิโตะโปรเจ็กต์” เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น
View this post on Instagram
ผู้ที่เห็นด้วยและชื่นชอบคอนเซปต์นี้หลายคนก็ถึงกับย้ายถิ่นฐานจากเมืองใหญ่มาอยู่ที่เมืองคิโตะแห่งนี้เลยทีเดียว อีกทั้งคนที่เป็นชาวเมืองคิโตะแต่ดั้งเดิมแล้วย้ายไปหางานทำที่เมืองอื่น ก็กลับมาทำธุรกิจในบ้านเกิดหลายรายเช่นกัน
แม้แต่ชาวต่างชาติอย่างคุณ “อัลริก ฟาลเลต” (Alrik Fallet) นักแต่งเพลงชาวนอร์เวย์ก็ย้ายมาอยู่ที่เมื่อคิโตะเมื่อหนึ่งปีก่อน เขาได้แรงบันดาลใจจากความสวยงามของธรรมชาติและบรรยากาศน่ารักๆ ของเมืองคิโตะ และนำไปสร้างสรรค์ผลงานเพลงของเขา
คุณอัลริกยังเล่าว่า เขามักจะแวะมาใช้พื้นที่ใน “มิไร คอมบินิ” เพื่อนั่งคิดงานและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้คนที่แวะเวียนมา เพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ ในการสร้างผลงานอีกด้วย
View this post on Instagram
ไม่น่าเชื่อเลยว่าแค่โปรเจ็กต์การสร้างร้านสะดวกซื้อเล็กๆ ในเมืองกลางหุบเขานี้ จะสร้างแรงบันดาลใจและมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนมากมายให้มาสนใจและหรือแม้กระทั่งย้ายมาอยู่ที่เมืองนี้
เรียกได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของชุมชน ครอบครัว รวมทั้งเป็นจุดพบปะของคนในท้องที่และคนที่อาจจะเดินทางมาพบเจอกันเป็นครั้งแรก สมแล้วที่ได้ชื่อว่าเป็น “ร้านสะดวกซื้อแห่งอนาคต” เพราะเป็นที่ที่เปลี่ยนแปลงอนาคตของหลายๆ คน (ไปในทางที่ดีขึ้น) เลยนะคะ