ต้นเชอรี่เป็นเพื่อนกับต้นซากุระ?! และเหตุผลที่เชอรี่กลายเป็นของดีประจำจังหวัดยามากาตะ

ที่ญี่ปุ่นในช่วงเดือนสิงหาคม เป็นช่วงเวลาที่คนญี่ปุ่นจะได้กินลูกเชอรี่อร่อย ๆ วันนี้เลยอยากพูดเกี่ยวกับเชอรี่กันสักหน่อย เชอรี่ลูกเล็ก ๆ สีแดง รสชาติหวานที่เป็นที่คุ้นเคยดีของคนญี่ปุ่นนี้ เป็นผลจากต้น sweet cherry (西洋実桜) ค่ะ ซึ่งผลจากต้นนี้ไม่ได้โตแค่ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังโตในแถบเอเชียตะวันตก ยุโรป และแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือด้วย เป็นผลไม้ที่จะไม่เร่งให้สุกเร็ว เพราะฉะนั้นพอถึงช่วงที่กินได้ก็จะเก็บเกี่ยวและส่งออกขายเลย

 

View this post on Instagram

 

A post shared by (@ai_fleur_photo) on

Sweet Cherry (西洋実桜)

จริง ๆ แล้วต้นเชอรี่เป็นเพื่อนกับต้นซากุระ?!

โดยปกติต้นเชอรี่จะถูกแยกว่าเป็นคนละประเภทกับต้นซากุระ แต่จริง ๆ แล้วเชอรี่เป็นเพื่อนกับต้นซากุระหลายสายพันธุ์ Yoshino Cherry (染井吉野) หรือ Yamazakura ซึ่งอยู่ในสกุล Prunus วงศ์ Rosaceae อันที่จริงต้นซากุระมีก็มีผลคล้ายเชอรี่เหมือนกัน แต่เนื่องจากมีรสเปรี้ยวและขม จึงไม่เหมาะแก่การนำมารับประทานค่ะ

Yoshino Cherry (染井吉野)

เชอรี่มีต้นกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันตก โดยประเทศตุรกีเป็นแหล่งผลิตอันดับ 1 ของโลก รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และอิหร่าน ส่วนญี่ปุ่นเป็นแหล่งผลิตอันดับ 19 ในปี 2016

เชอรี่เริ่มเข้ามาในญี่ปุ่นในช่วงต้นสมัยเมจิ โดยชาวเยอรมันที่ชื่อ Gaertner นำไปปลูกที่ฮอกไกโด หลังจากนั้น เหล่าคนที่บุกเบิกฮอกไกโดก็ได้นำต้นกล้า 25 พันธุ์จากอเมริกามาปลูกที่โตเกียว และแจกจ่ายต้นกล้าเชอรี่ไปทั่วประเทศ แต่นอกจากโทโฮคุและฮอกไกโดแล้ว ที่อื่น ๆ ก็ไม่ค่อยจะออกผลเท่าไรค่ะ

สาเหตุไม่ค่อยออกผลก็คือ น้ำค้างแข็ง ฤดูฝน และไต้ฝุ่นค่ะ น้ำค้างแข็งทำให้ต้นอ่อนของเชอรี่ตายและไม่ออกผล สาเหตุต่อมาคือ ฤดูฝน ฤดูเก็บเกี่ยวของเชอรี่ตรงกับฤดูฝนพอดี ทำให้ผลลูกเชอรี่ที่ออกมาแล้วเปียกฝน แตก เน่า และกินไม่ได้ เมื่อไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ จะเพาะปลูกก็ยาก ส่วนความเสียหายจากไต้ฝุ่นนั้นเป็นเพราะว่าต้นเชอรี่ไม่ทนแรงลม หากเจอลมแรง ๆ ในระดับหนึ่งก็ล้มแล้ว

เชอรี่กลายเป็นของดีประจำจังหวัดยามากาตะได้อย่างไร?

 

View this post on Instagram

 

A post shared by 山形のさくらんぼ通販 (@cherry_garden.kishi) on

ปัจจุบัน จังหวัดยามากาตะเป็นแหล่งผลิตเชอรี่หลักของญี่ปุ่น การที่จังหวัดยามากาตะกลายเป็นแหล่งผลิตเชอรี่ได้ขนาดนี้ เพราะพื้นที่ในจังหวัดเป็นแผ่นดินรูปแอ่งที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงนั่นเองค่ะ

เนื่องจากพื้นที่แอ่งมุระยามะในจังหวัดยามากาตะเต็มไปด้วยภูเขา ทำให้เป็นพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องจากภูเขา ปริมาณน้ำฝนในหน้าฝนน้อย บวกกับความเสียหายจากไต้ฝุ่นก็น้อยเป็นพิเศษ หน้าร้อนร้อน หน้าหนาวหิมะตกเยอะ สภาพอากาศที่ไม่เหมือนใครของจังหวัดยามากาตะนี้เองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ปลูกเชอรี่ได้ดี

อีกทั้ง เชอรี่ยังเป็นพืชที่ต้องการหน้าหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำ (การจำศีลของพืช) ต้นเชอรี่จะไม่ออกดอกจนกว่าจะผ่านฤดูหนาวไป เพราะฉะนั้นเชอรี่จึงมีลักษณะพิเศษตรงที่ต้องเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวในระดับหนึ่ง

นอกจากลักษณะพิเศษของจังหวัดยามากาตะนี้แล้ว ยังมีความพยายามของคนสมัยก่อนที่พยายามปลูกเชอรี่ที่ยามากาตะแห่งนี้อีกด้วย เพราะมีพื้นที่ที่ดี และกำลังคนที่ดี จังหวัดยามากาตะจึงกลายเป็นแหล่งผลิตเชอรี่อันน่าภาคภูมิใจอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นนั่นเองค่ะ

ขอแทรกความรู้ภาษาญี่ปุ่นสักเล็กน้อยค่ะ

เชอรี่ ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า さくらんぼ อ่านว่า ซากุรันโบะ ออกเสียงคล้าย ๆ กับซากุระ ซึ่งคำว่า ซากุรันโบะนี้ ว่ากันว่ามาจากคำว่า 桜の坊 (ซากุระ โนะ โบ) ซึ่งหมายถึง ลูกของต้นซากุระ หากดูตามชื่อแล้วก็จะเห็นว่าเชอรี่กับต้นซากุระในภาษาญี่ปุ่นมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ค่ะ

คนไทยเราอาจจะไม่ค่อยได้กินลูกเชอรี่กันเท่าไร แต่หากมีโอกาส คราวหน้าก็ลองชิมเชอรี่อร่อย ๆ ที่ญี่ปุ่นกันดูนะคะ

สรุปเนื้อหาจาก : mag.japaaan
ผู้เขียน :cottoncandy

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save