คุณลักษณะของคนที่คุณหมอญี่ปุ่นบอกว่ามีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูง

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาในวัยรุ่น นักศึกษา และคนจำนวนมากในญี่ปุ่น โดยพบว่าคนญี่ปุ่น 15 คนเป็นโรคซึมเศร้า 1 คน มารู้คุณลักษณะของคนที่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงจากบทความของคุณหมอญี่ปุ่น และวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กันค่ะ

โอกาสการเกิดโรคซึมเศร้า

ในยุคปัจจุบันโรคซึมเศร้ากลายเป็นโรคปกติที่เกิดจากปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาในที่ทำงาน เช่น การปรับโครงสร้างงานและความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน  ปัญหาความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคู่ชีวิต เป็นต้น คนทั่วไปมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยจากสถิติพบว่าคนญี่ปุ่น 15 คนเป็นโรคซึมเศร้า 1 คน อาการของโรคซึมเศร้าเริ่มจากอาการเพียงเล็กน้อย คือเหนื่อยง่ายและไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงาน และพัฒนาเป็นอาการที่รุนแรงขึ้น คือรู้สึกซึมเศร้าและไม่สามารถทำงานหรือทำงานบ้านได้ และอาจจะร้ายแรงไปจนถึงขั้นทำร้ายตัวเอง

คุณลักษณะของคนที่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย

แบบสอบถามเพื่อวัดว่าใครมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่ายมีดังนี้

  1. (ก) ดื้อรั้น (ข) ยืดหยุ่น
  2. (ก) มีความเป็นระเบียบแบบแผนและสมบูรณ์แบบ (ข) ทำงานคร่าวๆ ไม่ละเอียด
  3. (ก) เครียด จริงจัง (ข) สะเพร่า

หากคำตอบเป็น (ก) ทั้งหมด บุคคคลมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย เพราะคนที่มีนิสัยดื้อรั้น มีระเบียบแบบแผน และมีความจริงจังสูงจะทำงานด้วยความตั้งใจเต็มร้อยเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือจากเพื่อนรวมงานและคนทั่วไป และทำให้พวกเขามักหงุดหงิดหรือโกรธเมื่อตัวเองทำงานผิดพลาด จนทำให้พวกเขารู้สึกเหนื่อยง่าย และเมื่อสิ่งที่ทำไม่เป็นดั่งหวังบ่อยเข้าก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย

สภาพแวดล้อมที่ชักนำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย

สภาพแวดล้อมที่ทำงานและในครอบครัวอาจชักนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ และต้องระวังสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดที่เข้ามาทับซ้อนจนชักนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ได้แก่

  • การเสียชีวิตของคู่ชีวิต
  • การหย่าร้าง
  • การปรับโครงสร้างงาน
  • การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตที่ฉับพลัน เช่น การเกษียณ การย้ายบ้านและการเปลี่ยนที่ทำงาน เป็นต้น
  • หนี้สิน
  • ความเจ็บป่วย

หากความเครียดประดังเข้ามาจะทำให้บุคคลรู้สึกเจ็บปวดและมีโอกาสการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ประหนึ่งเหมือนเขื่อนระเบิด ดังนั้นก่อนที่จะปล่อยให้เขื่อนระเบิดก็ควรหาวิธีคลายความเครียดตามวิธีการของตน เช่น ไปท่องเที่ยว ไปคาราโอเกะ ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม และพูดคุยปรึกษาปัญหาเพื่อนที่รู้ใจ เป็นต้น

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

โรคซึมเศร้า เราเป็นหรือเปล่า

ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้สูงกว่าผู้ชายถึง 2 เท่าเนื่องจากผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องแบกรับภาระการตั้งครรภ์ และการให้กำเนิดบุตร ซึ่งมีภาวะความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องแบกภาระการเลี้ยงดูลูก ทำงานบ้าน และทำงานของตนเอง นอกจากนี้ยังต้องทำงานอย่างหนักเพื่อให้มีสถานะที่ทัดเทียมกับผู้ชายในที่ทำงาน

ข้อควรปฏิบัติเมื่อรู้สึกว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เราเป็นหรือเปล่า

แม้ว่าผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าสูงกว่าผู้ชาย แต่พบว่าผู้ชายฆ่าตัวตายจากภาวะซึมเศร้ามากกว่า เนื่องจากการปล่อยทิ้งไว้ไม่ยอมไปหาหมอ จนทำให้อาการรุนแรงรักษาได้ยาก ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติทางจิตใจก็ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวรวมถึงการรับประทานยาเพื่อบำบัดรักษาโรค

สำหรับคนปกตินั้นเป็นเรื่องยากที่จะนึกภาพการเป็นโรคซึมเศร้า แต่สำหรับคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นพวกเขาอยู่ในภาวะที่ยากที่จะเอาชนะใจตนเพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะไม่พึงประสงค์ แม้ว่าเคยเป็นคนที่มองโลกในแง่บวกและมีความกระตือรือร้น แต่เมื่อมีภาวะซึมเศร้าทำให้พวกเขารู้สึกซึมเศร้า ไม่สนุกในสิ่งที่กำลังทำอยู่ และไม่มีความต้องการอยากทำอะไรเลย จนทำให้ไม่รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง

ภาวะซึมเศร้าเป็นภัยเงียบที่มีโอกาสเกิดกับตัวเราเองและคนใกล้ตัว หากรู้สึกหรือสงสัยว่าตนเองมีภาวะซึมเศร้าก็อย่าลังเลใจที่จะไปปรึกษาแพทย์กันค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก allabout

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save