วิธีเอาตัวรอดของสัตว์ป่าจากช่วงฤดูหนาวที่ยาวนานในญี่ปุ่น

ในช่วงฤดูหนาวอันหนาวเหน็บ ผู้คนต่างอยู่ในบ้านอย่างอบอุ่นโดยเสื้อผ้าหนาๆ ผ้าห่ม และเครื่องทำความอุ่นเป็นตัวช่วย แล้วสัตว์ป่าต่างๆ ในพื้นที่เขตหนาวที่มีหิมะปกคลุมหลายเดือนจะมีวิธีเอาตัวรอดจากความหนาวเหน็บได้อย่างไร มารู้วิธีการปรับตัวเพื่อเอาตัวรอดจากความหนาวเหน็บที่ยาวนานของสัตว์ป่าในญี่ปุ่นกันค่ะ

สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู จิ้งเหลน และกบ เป็นต้น เป็นสัตว์เลือดเย็นที่อุณหภูมิร่างกายเพิ่มและลดตามอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม หากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมสูง ร่างกายพวกมันจะเพิ่มอุณหภูมิในตัวให้สูงขึ้น หากสิ่งแวดล้อมมีอุณหภูมิต่ำอุณหภูมิร่างกายของพวกมันจะต่ำด้วย ในช่วงก่อนฤดูหนาวพวกมันจะกินอาหารสะสมพลังงานไว้ในร่างกายแล้วไปหลบซ่อนอยู่ตามบริเวณที่อุณหภูมิเปลี่ยนตามสภาวะแวดล้อมได้ยาก เช่น ตามรูใต้ดินหรือช่องว่างระหว่างหิน และรอจนกว่าฤดูใบไม้ผลิจะมาเยือน

นกหลากหลายพันธุ์

นกหลากหลายสายพันธุ์ เช่น นกนางแอ่นและนกนางนวล เป็นต้น จะหากินอาหารสะสมไว้ในช่วงที่อากาศอบอุ่น แล้วบินอพยพไปยังดินแดนที่อบอุ่นเพื่อหลีกหนีฤดูหนาวในญี่ปุ่น จากนั้นพวกมันจะบินอพยพกลับมาอีกครั้งเมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิในปีถัดไป

กระรอกชิปมังค์และหนูดอร์เมาส์ญี่ปุ่น

กระรอกชิปมังค์เป็นสัตว์เลือดอุ่นเช่นเดียวกับมนุษย์ พวกมันกินอาหารสะสมเป็นพลังงานไปพร้อมกับเก็บอาหารสะสมไว้ที่รัง เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวร่างกายของพวกมันจะมีกลไกที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ส่วนหนูดอร์เมาส์ญี่ปุ่นจะลดอุณหภูมิในร่างกายของพวกมันจนใกล้เคียงกับ 0 องศาเซลเซียส การที่อุณหภูมิร่างกายลดลงทำให้สัตว์เหล่านี้ใช้พลังงานของร่างกายและมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเหลือเพียงหนึ่งในสิบ ทำให้พวกมันหลับได้ยาว 2-3 วัน แต่เมื่อหลับไป 2-3 วัน อุณหภูมิของร่างกายจะเพิ่มขึ้นและปลุกให้พวกมันตื่นมาขับถ่าย กินอาหารที่เก็บไว้ และปรับลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อหลับไปอีกครั้ง พวกมันนอนหลับและตื่นซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าฤดูใบไม้ผลิจะมาเยือนและออกมาใช้ชีวิตตามปกติ

กระรอกชิปมังค์
หนูดอร์เมาส์ญี่ปุ่น

หมี

หมีหาอาหารกินสะสมเพิ่มน้ำหนักและนอนจำศีลในโพรง รูหิน หรือรูใต้ดินเป็นเวลาประมาณ 5-6 เดือนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน และตื่นมาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิเพื่อหากินและผสมพันธุ์

สัตว์อื่นๆ

สัตว์ที่ไม่จำศีลอีกหลายชนิด เช่น หมาป่า กวาง และกระต่าย เป็นต้น ใช้พลังงานจากไขมันที่พวกมันสะสมไว้จากการกินอาหารก่อนฤดูหนาว แต่พวกมันก็ยังคงหาอาหารเพื่อกินเป็นแหล่งพลังงานในการต่อสู้ความหนาวต่อไป

มนุษย์มีสมองและสองมือคิดประดิษฐ์สิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิต ต่างจากสัตว์ที่ต้องใช้สัญชาตญาณและความอดทนในการอยู่รอด เราโชคดีที่เป็นมนุษย์ดังนั้นเราก็มาช่วยกันอนุรักษ์และไม่ทำร้ายสัตว์ต่างๆ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมกันค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก: city.kiryu.lg

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save