ความต่างและการใช้งานของ 出来る กับ できる

คำว่า できる (dekiru) แปลว่า สามารถ, ทำ…ได้ หากเป็นตัวคันจิจะเขียนว่า 出来る ใครที่ต้องอยู่กับภาษาญี่ปุ่นบ่อย ๆ จะเห็นว่าคำนี้มีทั้งการใช้เป็นตัวคันจิ และตัวฮิรากานะ การใช้ตัวอักษรที่ต่างกันจะทำให้ความหมายต่างกันด้วยหรือเปล่า ? แล้วในบริบทแบบไหนควรใช้ตัวอักษรแบบใด ? เรามาดูความแตกต่างของ 出来る กับ できる และวิธีการใช้อย่างถูกต้องกันดีกว่า

出来る กับ できる มีความหมายโดยรวมเหมือนกัน คือหมายถึงสามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ แต่จะมีความรู้สึกที่แตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน

ความหมายและที่มาของ 出来る

出来る できる ต่างกันยังไง

出来る นอกจากจะแปลว่าทำได้ ยังใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ส่วนใหญ่มักใช้ในความหมายของ “การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ” หรือ “การเกิดหรือปรากฎสิ่งใหม่” เช่น おでこににきびができる。(odeko ni nikibi ga dekiru) มีสิวขึ้นที่หน้าผาก

อีกทั้งยังใช้หมายถึง “การผลิต” ซึ่งใช้ได้ทั้งการผลิตพืชผลและผลิตภัณฑ์ เช่น これはうちの畑でできたトマトだ。(kore ha uchi no hata de dekita tomatoda) นี่คือมะเขือเทศที่ปลูกในไร่ของเรา

หรือใช้หมายถึง “ความเสร็จสมบูรณ์” ของสิ่งก่อสร้างและองค์กร เช่น 来月中にスーパーが駅前にできる。(raigetsuchuu ni suupaa ga ekimae ni dekiru) ซูเปอร์มาร์เก็ตจะเปิดหน้าสถานีภายในเดือนหน้า

出来る できる ต่างกันยังไง

นอกจากนี้ยังใช้แสดง “ความเป็นไปได้” และ “คุณสมบัติ” จึงจำเป็นต้องพิจารณาความหมายตามบริบทว่ากำลังกล่าวถึงอะไร เช่น あの人はできた人物だ。(ano hito wa dekita jinbutsuda) คนนั้นเป็นบุคคลที่ยอดเยี่ยม
เราจะเห็นได้ว่าความหมายของ 出来る แปลเป็นภาษาไทยได้อย่างหลากหลายมาก

คำว่า 出来る มาจาก 出来 (deku) ซึ่งเป็นกริยาผันแบบพิเศษของวรรค か (ka) เมื่อนำมาใช้ขยายคำนาม จะกลายเป็น 出来る (dekuru) และถูกเปลี่ยนเสียงไปเป็น dekiru ตามกาลเวลา จนในที่สุดก็เปลี่ยนมาใช้ตัวฮิรากานะว่า できる แบบในปัจจุบัน

คำนามใช้ 出来

出来る できる ต่างกันยังไง

คันจิ 出来 จะใช้กับคำนาม เช่น 上出来 (joudeki), 出来合 (dekiai) สังเกตได้ว่าหากนำไปประสมกับคำอื่นก็ย่อมต้องใช้เป็นตัวคันจิ เพราะเราจะไม่เคยเห็นการเขียนเป็น 上でき หรือ でき合 อย่างแน่นอน นอกจากนี้ เมื่อเป็นคำคำเดียวที่มีความหมายเดียวก็ต้องใช้ตัวคันจิเช่นกัน เช่น 出来事 (dekigoto)

คำกริยา, คำวิเศษณ์ใช้ できる

出来る できる ต่างกันยังไง

ตัวฮิรากานะจะใช้เป็นคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เช่น スポーツができる。(supootsu ga dekiru), 料理ができる (ryouri ga dekiru)

ดังที่กล่าวไปในข้างต้นว่าความหมายของ できる มีทั้งหมายถึง “การเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ” “การเกิดสิ่งใหม่” “การผลิต” “ความเสร็จสมบูรณ์” “ความเป็นไปได้” ซึ่งจะใช้ในรูปของคำกริยาและคำวิเศษณ์ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องเขียนด้วยตัวฮิรากานะ เราจึงไม่ค่อยพบเห็นการเขียนคำกริยาในรูปคันจิอย่าง 出来る สักเท่าไหร่

できる ก็ใช้ในเอกสารราชการ

出来る できる ต่างกันยังไง

หลายคนมองว่าเอกสารราชการก็ต้องใช้ตัวคันจิเพื่อให้ดูเป็นทางการ แต่ความจริงแล้วแม้ในเอกสารราชการก็มีการใช้ตัวฮิรากานะเช่นกัน ใน “ตารางคันจิทั่วไป” ที่เผยแพร่ในปี 2010 เกี่ยวกับการใช้คันจิในเอกสารทางการ คำว่า できる ก็ถูกระบุไว้ว่าต้องใช้ตัวฮิรากานะ อีกทั้งในตารางฉบับเก่าที่เผยแพร่ในปี 1981 ก็มีคำว่า できる อีกด้วย ดูเหมือนว่าการใช้คำว่า できる เป็นตัวฮิรากานะจะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ 10 ปีที่ผ่านมานี่เอง

สรุปเนื้อหาจาก fundo

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save