คนญี่ปุ่นเน้น “แคชเลส” ช่วงโควิด-19 จ่ายด้วยเงินสดลดลงมากกว่า 70%

ศูนย์วิจัย Mobile Marketing Data (MMD) ร่วมกับ COLOPL ของญี่ปุ่น ได้ทำการสำรวจ “วิธีชำระเงินที่เปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยสอบถามข้อมูลจากผู้ใช้สมาร์ทโฟนช่วงกลุ่มอายุ 18 ถึง 69 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 5,530 คน ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ทราบผลสำรวจที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการใช้เงินของคนญี่ปุ่นในช่วงที่โควิด-19กำลังระบาดนี้

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้จ่ายในช่วงปกติ กับปริมาณการใช้จ่ายช่วงที่มีการระบาดหนักใน 3 เดือนล่าสุดที่ผ่านมา


จากการสำรวจพบว่า การใช้จ่ายในทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นเงินสด บัตรเครดิต การจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ด บัตรเติมเงินแบบต่างๆ บัตรเดบิต กระเป๋าเงินบนมือถือ ลดลงทั้งหมด โดยเฉพาะบัตรโดยสารรถไฟ เช่น SUICA PASMO ที่เป็นระบบเติมเงิน เมื่อเอาบัตรแตะเครื่องตรงจุดชำระเงิน ยอดเงินจะตัดแบบเรียลไทม์นั้น สะดวกและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น ก็ยังลดลงมากที่สุดเกือบ 7%

20.2% เปลี่ยนวิธีชำระเงิน


โดยผู้คนเลี่ยงจากวิธีชำระด้วยเงินสดมากที่สุด รองลงมาคือบัตรโดยสารรถไฟแบบเติมเงินไปเป็นการจ่ายด้วยคิวอาร์โค้ดและกระเป๋าเงินบนมือถือแทน

เหตุผลที่กลุ่มสำรวจให้ไว้

ทำไมถึงใช้เงินสดน้อยลง?

  • ไปซื้อของที่ร้านน้อยลง เปลี่ยนเป็นการซื้อออนไลน์แทน (เพศชาย อายุ 29 ปี)
  • เพราะไม่ได้ออกจากบ้าน (เพศชาย อายุ 41 ปี)
  • รายได้ลดลงเลยพยายามไม่ใช้เงิน (เพศชาย อายุ 38 ปี)
  • ไม่อยากจับเงินเพราะเสี่ยงติดเชื้อ (เพศหญิง 54 ปี)
  • เงินสดโดยเฉพาะเหรียญถูกผู้คนสัมผัสเยอะที่สุด สกปรกมาก (เพศหญิง 42 ปี)
  • ซื้อของออนไลน์มากขึ้นเลยชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสดมากขึ้น (เพศหญิง 23 ปี)
  • ทำไมแคชเลสเพิ่มขึ้น?
  • เพราะเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะติดอยู่บนเงินสด (เพศชาย 22 ปี)
  • อยากลดโอกาสที่จะสัมผัสติดต่อกับคนในร้าน (เพศชาย 51 ปี)
  • ถ้าลดการรับเงินสดต่อจากคนอื่นมาแล้วจ่ายด้วยวิธีอื่น คิดว่าน่าจะหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสได้ (เพศชาย อายุ60 ปี)
  • ชำระเงินเสร็จเร็ว เวลาที่ใช้ในร้านสั้นลง (เพศหญิง 53 ปี)
  • ไม่ได้ออกไปข้างนอกซื้อของออนไลน์ด้วยบัตรเครดิตแทน เวลาไปร้านสะดวกซื้อก็จ่ายด้วยคิวอาร์โค้ดเพื่อลดการสัมผัสติดต่อกับคนในร้าน (เพศหญิง 47 ปี)

หากได้รับเงินเยียวยา 1 แสนเยน จะเอาไปทำอะไร?

จากกราฟด้านลนจะเห็นได้ว่า คนญี่ปุ่นกว่า 30.8% เลือกที่จะนำเงินเยียวยาที่ได้ไปซื้ออาหาร และ 27.5% เก็บเป็นเงินออม ช่างสมกับเป็นชาติที่พลเมืองมีเงินเก็บออมมากที่สุดในโลกจริงๆ เลยค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก: news.livedoor

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save