ถึงยุคนี้ ต้องยอมรับว่าสังคมญี่ปุ่นมีพัฒนาการทางทัศนคติเรื่องเพศก้าวไกลมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานสเจนเดอร์ และกลุ่มที่อยู่นอกเหนือทุกนิยามเพศ (รวมเรียกว่ากลุ่ม LGBTQ)
มีแฟชั่นนิสต์และนักแต่งหน้าชื่อดังของญี่ปุ่นที่เป็นชายแบบ “ไร้นิยามเพศ” เขาคือริวเจรุ (Ryuchellu) ซึ่งเปิดตัวในปี 2015 และได้เป็นแขกรับเชิญในรายการ “Sunday Japon” ทางช่อง TBS ของญี่ปุ่น ซึ่งออกอากาศเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2020 ที่ผ่านมา
サンジャポ生放送、ありがとうございました〜🤍💙🖤 pic.twitter.com/NIFc431cfN
— RYUCHELL (@RYUZi33WORLD929) December 20, 2020
ตั้งแต่เปิดตัวในปี 2015 จนถึงวันนี้ ริวเจรุยังคงเต็มเติมความหลงใหลในแฟชั่นและการแต่งหน้าที่เขาชื่นชอบ โดยที่ไม่ได้กังวลกับภาพลักษณ์ของผู้ชายในแบบที่สังคมตั้งไว้ว่าควรจะเป็น ปัจจุบันเขาเป็นคุณพ่อมีลูกชายหนึ่งคนแล้ว ในรายการที่เขาไปเป็นแขกรับเชิญ ริวเจรุได้แบ่งปันความคิดที่น่าสนใจของเขาในฐานะพ่อคือ “เหตุใดของเล่นสำหรับเด็กๆ จึงต้องจำกัดการออกแบบให้เป็นของเล่นเฉพาะกลุ่มเด็กหญิงเด็กชายเท่านั้น”
“ตั้งแต่มีลูก ผมก็ตั้งใจดูเลยนะพวกรายการโฆษณาของเล่นเด็กน่ะ ทำไมเด็กผู้หญิงต้องเล่นตุ๊กตากันตลอด แล้วเด็กผู้ชายก็ต้องเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับการต่อสู้? ผมว่าวิธีนำเสนอแบบนี้คือการกดดันเด็กให้มีจิตใต้สำนึกโดยการคิดในกรอบจำกัด เมื่อเป็นเรื่องเพศ ถ้าเขาแสดงออกในสิ่งที่ต่างไปจากคนอื่นก็จะถูกมองว่า “ประหลาด”…ผมว่าเราไม่ต้องยึดกับแบบแผนที่สื่อและสังคมออกแบบมาให้เราก็ได้นะ โดยเฉพาะของเล่นเด็กเนี่ย มันน่าจะไม่ต้องจำกัดเพศ หรือแม้แต่อายุก็ไม่ควรจำกัด”
ริวเจรุมองว่า ค่านิยมที่ถูกเตรียมไว้ล่วงหน้ากับแบบแผนในสังคมก็มาจากบรรดาเรื่องราวสัพเพเหระรอบตัวเรา อย่างโฆษณาในทีวีหรือโฆษณาขายเครื่องสำอาง ซึ่งก็มักเน้นที่กลุ่มสตรีเป็นหลัก
— RYUCHELL (@RYUZi33WORLD929) December 24, 2020
ประเด็นนี้ ฮิคารุ โออุตะ พิธีกรในรายการที่สัมภาษณ์ริวเจรุก็ร่วมแสดงความเห็นไว้ด้วยว่า เขาก็เคยอิจฉาพวกเด็กผู้หญิงที่มีเทศกาล ฮินะ มัตสึริ หรือเทศกาลตุ๊กตาเหมือนกัน เพราะเขาเองชอบตุ๊กตา ในขณะที่เด็กผู้ชายมีแต่ภาพการตกแต่งด้วยปลาคาร์ปในวันเด็กเท่านั้น แถมในบ้านเขายังไม่มีพี่น้องผู้หญิงสักคน
เสียงตอบรับจากผู้ชมรายการก็น่ารับฟังมาก เพราะมีหลายรายที่สนับสนุนแนวคิดของริวเจรุ ดังเช่น
“ฉันเห็นด้วยกับเขาจริงๆ ฉันเป็นผู้หญิงค่ะ แต่ฉันก็ชอบของเล่นแบบในซีรีส์ซูเปอร์ฮีโร่นะ แถมยังเคยขอของเล่นชนิดต่อสู้กันจากคุณพ่อคุณแม่ด้วย”
“ผมเห็นด้วยกับเขาจริงๆ ลูกชายผมก็ชอบตุ๊กตาและของน่ารักๆ เหมือนกัน แต่ถึงผมจะสนับสนุนให้เขาเล่นในสิ่งที่เขาชอบ แต่คนรอบข้างจำนวนไม่น้อยก็ยังบอกผมว่าไม่ควร เพราะลูกจะถูกล้อจากความวแปลกแยก”
โดยสรุป พ่อแม่หลายคนอาจฝันว่าจะมีสักวันที่ได้ปล่อยให้ลูกเลือกในสิ่งที่เขาชอบและต้องการโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องเพศ แม้ยังคงอีกนานกว่ารูปแบบการโฆณษาขายสินค้าให้เด็กๆ จะริเริ่มอะไรใหม่ๆ แต่ตัวอย่างจากทัศนคติของริวเจรุก็ชี้ให้เห็นว่าวันนั้นอาจจะมาถึงในอีกไม่นานก็ได้
สรุปเนื้อหาจาก grapee
ผู้เขียน มิโดริ