เคาะแล้ว! ตำราเรียนม.ปลายญี่ปุ่นฉบับปรับปรุงใหม่!

สิ้นสุดลงไปแล้วสำหรับการพิจารณารับรองหนังสือเรียนระดับมัธยมปลายของญี่ปุ่น โดยจะเริ่มใช้ต้อนรับเทอมใหม่ปีหน้า นอกจากนี้ยังมีประกาศหนังสือเรียนใหม่ๆ ที่น่าสนใจออกมาให้นักเรียนได้เลือกเรียนกันอีกด้วย จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ!

ตำราใหม่ไฉไลกว่าเดิม?!

ตำราเรียน

ตำราเรียนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในครั้งนี้เป็นของนักเรียนชั้นม.5 โดยจะเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ.2023 เป็นต้นไป และจะมีการนำวิชาเลือกใหม่ๆ เข้ามาในหลักสูตร เพื่อให้สอดรับกับหลักสูตรปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ.2018 ที่เน้นเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การถ่ายทอดข้อมูล และการสื่อสาร เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในตัวบทเรียนอย่างลึกซึ้ง จึงจัดรายวิชาที่เน้นไปที่ตัวผู้เรียน สร้างการเรียนรู้แบบสองทาง ไม่ใช่เน้นการท่องจำเหมือนในอดีต นอกจากนี้ยังจัดรายวิชาเลือกใหม่เช่น “ท่องประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น” หรือ “ท่องประวัติศาสตร์โลก” เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตำราเรียน

มีตำราเรียนทั้งหมด 239 เล่มที่การพิจารณาและแก้ไขโดยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (Monbu Kagakushou – 文部科学省) นอกจากนี้ยังมีการลบและแก้ไขคำที่รัฐบาลลงความเห็นว่าไม่เหมาะสมออกจากตำราอีกด้วย ได้แก่คำว่า “従軍慰安婦” (Jyuugun Ianfu) หรือ หญิงบำเรอ (Comfort women) หรือหญิงที่ถูกใช้ปรนนิบัติทหารญี่ปุ่นในช่วงสงคราม และคำว่า “強制連行” (Kyouseirenkou) หมายถึง การเข้าควบคุมตัวนักโทษหรือเชลยด้วยวิธีเด็ดขาด เป็นคำที่ใช้สำหรับการเกณฑ์แรงงานชาวจีนและเกาหลีโดยรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นไปจนถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา นอกจากนี้ยังหมายถึง การลักพาตัวภายใต้อำนาจรัฐอีกด้วย โดยเปลี่ยนจากคำว่า “連行” (Renkou หมายถึง การเข้าควบคุมตัว) เป็น “動員” (Douin หมายถึง การเกณฑ์กำลังคน หรือการระดมพล) หากพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ในช่วงเริ่มขยายจักรวรรดิจนถึงช่วงสงครามโลก (ค.ศ. 1905-1945) ซึ่งเป็นยุคมืดที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องหลีกเลี่ยงทั้งในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการศึกษาภายในประเทศ

ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ในตำราเรียนภาษาอังกฤษจะปรากฏชื่อของ “รุย ฮาจิมุระ” (Rui Hachimura – 八村塁) นักบาสเกตบอลผู้ทำหน้าที่ถือธงชาติญี่ปุ่นในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2020 ส่วนตำราภาษาญี่ปุ่นก็จะมีมังงะเรื่องฮิตที่สุดแห่งยุคอย่าง “ดาบพิฆาตอสูร” (鬼滅の刃 – Kimetsu no Yaiba) ให้นักเรียนได้อ่านกัน ส่วนวิชาดนตรีก็ไม่น้อยหน้า เพราะนักเรียนจะได้เรียนเพลงสุดฮิตอย่าง “Pretender” ของศิลปินยอดนิยม “Official Hige Dandism” (Official髭男dism)

จากการพูดคุยกับชาวญี่ปุ่นหลายคน ทำให้คิดว่าคนญี่ปุ่นหลายคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่สองน้อยจนน่าตกใจ พิพิธภัณฑ์บางที่ก็ข้ามช่วงเวลานี้ไปเลย ไม่ก็เน้นไปที่ความเสียหายที่ญี่ปุ่นได้รับหลังสงครามมากกว่า พอได้อ่านข่าวนี้ก็คลายข้อสงสัยไปได้บ้าง ต่อให้พยายามลบแค่ไหน แต่สิ่งที่เรียกความจริง มันลบกันได้ไม่ง่ายหรอกค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก : Newsyahoo

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save