แพทยสภาญี่ปุ่นกังวล ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเองอาจไม่แม่นยำ เสี่ยงก่อผู้ติดเชื้อเป็นวงกว้าง

หลังจาก Rakuten เริ่มวางจำหน่ายชุดตรวจ PCR ด้วยตนเองให้กับผู้ประกอบการต่างๆ ในประเทศ   ทางแพทยสภาญี่ปุ่นก็ได้จัดแถลงถึงความกังวลต่อผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา

ชุดตรวจ PCR ของ Rakuten สามารถใช้งานได้ด้วยตนเองไม่ต้องรอความเห็นจากแพทย์หรือความสะดวกของสถานพยาบาล โดยการเก็บตัวอย่างจากสารคัดหลั่ง ส่งคืน แล้วรอผลตรวจได้เลย กลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าต้องการใช้งานชุดตรวจนี้คือบุคคลในสังกัดองค์กรหรือบริษัทต่างๆ ที่ยื่นความประสงค์จัดซื้อ อายุ 20 ปีขึ้นไปและ “มีความกังวลว่าตนเองติดเชื้อโควิด-19 อยู่หรือไม่

นพ.คะมะยะจิ ซาโตชิ ผู้อำนวยการแพทยสภาให้ความเห็นว่า

“ก่อนจะนำชุดตรวจมาใช้งาน จำเป็นต้องเข้าใจขีดจำกัดความแม่นยำของผลิตภัณฑ์เสียก่อน

การชี้แจงถึงอันตรายที่มากับชุดตรวจเป็นเรื่องสำคัญ หากมีการใช้งานในองค์กรต่างๆ แล้วเอาผลทดสอบมาใช้ตัดสินว่าจะอนุญาตให้ใครมาทำงานได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงมากๆ ต่อความผิดพลาดที่จะตามมา

หากผู้ที่ทดสอบติดเชื้ออยู่แต่ผลตรวจออกมาเป็นลบ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ บุคคลดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ไปยังสถานที่ทำงาน ในที่ประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหวั่นเกรงว่าเหตุลักษณะนี้จะทำให้การติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง ในฐานะตัวแทนของแพทยสภา ผมมีความหวาดกลัวจริงๆ ว่าผลลบลวงจะก่อให้เกิดความวุ่นวาย”

นอกจากนี้ นพ.โยโกคุระ โยชิทะเกะ ประธานที่ประชุมยังได้แสดงความคิดเห็นว่า

“หากพึ่งพาชุดตรวจนี้มากเกินไปจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก แต่เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่สามารถทดสอบการติดเชื้อของประชาชนได้อย่างทั่วถึง สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างระบบที่รองรับคนที่แพทย์ลงความเห็นว่าจำเป็นให้ได้รับการทดสอบทันที แน่นอนว่าหากทำได้ ชุดตรวจด้วยตนเองจะกลายเป็นเพียงสิ่งที่จะก่อปัญหาในสังคมไปเลย”

ส่วนตัวผู้เขียนเอง (เภสัชกร) มองว่า เมื่อมีชุดตรวจที่ถึงแม้จะมีขีดจำกัดของความแม่นยำ แต่มีความสามารถในการทดสอบได้ในระดับที่ดีพอสมควรก็ยังดีกว่าไม่มี แพทยสภาควรจับมือกับตัวแทนจำหน่าย ตรวจสอบขีดความสามารถของผลิตภัณฑ์เชิงลึก ว่าจะเอามาใช้ประโยชน์ในสถานการณ์คับขันนี้ได้อย่างไร?

ในเมื่อตอนนี้ระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่นจะเรียกว่าพังแล้วก็ว่าได้ มีข่าวยืนยันชัดเจนว่าสถานพยาบาลไม่สามารถรองรับผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีจนเสียชีวิตที่บ้านอย่างน้อย 2 ราย ยังไม่รวมการปฏิเสธผู้ป่วยที่มากับรถฉุกเฉิน และสถานพยาบาลที่กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อซะเอง

การสร้างระบบที่ดีพอไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในเร็ววันนี้ ผู้เขียนจึงคิดว่าการพิจารณาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่ก่อนด้วยมาตรการที่รัดกุมต่างหากที่ไม่ควรมองข้าม เช่น โซนนิ่งคนที่ตรวจด้วยชุดตรวจด้วยตนเองแล้วผลเป็นลบสัก 14 วัน ให้ทำงานแบบกำหนดระยะห่างจากคนอื่นหรืออะไรก็ว่าไป คุณผู้อ่าน ANNGLE คิดเห็นอย่างไรบ้างมาแชร์กันค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก: engadget

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save