ผู้ลี้ภัยชาวยูเครนกับการหางานทำดำรงชีพในญี่ปุ่น

ตอนนี้สงครามรัสเซียบุกยูเครนนั้นมาไกลถึงขนาดที่มีคนอพยพออกมาเป็นล้านๆ คนและไม่น่าเชื่อว่าแม้แต่ประเทศที่ห่างไกลไม่ได้ติดพรมแดนอย่างญี่ปุ่นก็ยังมีคนยูเครนไปถึง ตัวเลขล่าสุดเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมามีผู้ลี้ภัยมายังญี่ปุ่นแล้วจำนวนทั้งสิ้น 661 คน

นโยบายรับผู้ลี้ภัยจากยูเครนของญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายรับผู้ลี้ภัยจากยูเครนอย่างแข็งขัน เป็นนโยบายเพื่อมนุษยธรรมในฐานะสมาชิกประชาคมโลก ซึ่งก็ได้รับคำชมเชยออกสื่อจากโฆษกทำเนียบขาวว่า “ญี่ปุ่นคือหุ้นส่วนสำคัญ”

ญี่ปุ่นให้สถานะพำนักระยะสั้น 90 วัน แก่ผู้ลี้ภัยยูเครน และหากบุคคลนั้นต้องการ ก็อาจขอเปลี่ยนสถานะพำนักเป็นการเข้าเมืองเพื่อ “กิจกรรมเฉพาะ” ซึ่งจะอยู่ได้ถึงหนึ่งปีและหางานทำได้ เข้าระบบประกันสุขภาพแห่งชาติได้ด้วย ซึ่งล่าสุดมีผู้ได้รับการอนุมัติให้เปลี่ยนสถานะพำนักแล้ว 145 ราย ซึ่งสิ่งที่จะต้องคิดต่อไปก็คือ หากพวกเขาต้องอยู่นานกว่านี้ จะทำอย่างไรจะช่วยคนเหล่านี้อย่างไรในเรื่องอุปสรรคทางภาษาและความมั่นคงของการจ้างงาน

ตัวอย่างชีวิตคนยูเครนที่อพยพมายังญี่ปุ่น

นางคริส วัย 33 ปี ทิ้งสามีของเธอไว้ที่ยูเครนแล้วอพยพมาอยู่กับญาติในเมืองมัตสึโดะ จังหวัดจิบะ พร้อมกับลูกสาววัย 5 ขวบ ตอนนี้กำลังจะทำงานใน discount store แห่งหนึ่งในโตเกียวตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยทำงานจัดเรียงสินค้าและติดป้ายราคา โชคดีที่ใน discount store แห่งนี้มีสถานรับเลี้ยงเด็กในที่ทำงานด้วย เลยฝากลูกสาวเอาไว้ได้

“ฉันเป็นห่วงสามีของฉัน แต่ฉันโล่งใจเพราะได้รับความช่วยเหลือจากทุกคน ฉันดีใจที่ฝากลูกสาวไว้ได้และจะได้ทำงานต่อจากนี้ไป”

นายมาซายูกิ โอดะ ผู้บริหาร discount store ที่รับนางคริสเข้าทำงาน “ถึงมีอุปสรรคด้านภาษา แต่มีหลายวิธีในการสื่อสาร ดังนั้นจึงคิดหาวิธีจัดการกับมัน ผมอยากให้เขาชินกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นให้เร็วที่สุดในขณะที่ทำงานแม้ว่าภาษาและวัฒนธรรมจะต่างกันก็ตาม”

ชีวิตไม่สิ้นก็ต้องดิ้นกันไปครับ ว่าแต่ไม่มีคนยูเครนอพยพมาไทยบ้างหรือ?

สรุปเนื้อหาจาก NHK 1, NHK 2

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save